หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

สาขาวิชาชีพการเงินและประกันภัย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ASR-ZZZ-5-003ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านบัญชีเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี (3313 ผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี)


1 3313 ผู้ประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องทางด้านบัญชี

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
การปฏิบัติงานด้านบัญชีเกี่ยวกับรับรู้รายการเริ่มแรก การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการ สำหรับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า เงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป การบันทึกรายการปรับปรุงที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการรับรู้ผลตอบแทนจากการลงทุน การควบคุมภายในเกี่ยวกับรายการเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชี

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 มาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
010511 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า 1.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของหลักทรัพย์เพื่อค้าให้ถูกต้อง 164219
010511 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า 1.2 บันทึกบัญชีเมื่อขายหลักทรัพย์เพื่อค้าให้ถูกต้อง 164220
010511 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า 1.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เพื่อค้าณ วันสิ้นงวด ให้ถูกต้อง 164221
010511 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า 1.4 บันทึกบัญชีกรณีโอนเปลี่ยนประเภทหลักทรัพย์เพื่อค้าเป็นเงินลงทุนประเภทอื่นให้ถูกต้อง 164222
010511 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า 1.5 ระบุแนวทางควบคุมภายในเกี่ยวกับเงินลงทุนให้ถูกต้อง 164223
010512 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
2.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของหลักทรัพย์เผื่อขายให้ถูกต้อง 164224
010512 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
2.2 บันทึกบัญชีเมื่อขายหลักทรัพย์เผื่อขายให้ถูกต้อง 164225
010512 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
2.3 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการวัดมูลค่าหลักทรัพย์เผื่อขายณ วันสิ้นงวด ให้ถูกต้อง 164226
010512 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในหลักทรัพย์เผื่อขาย
2.4 บันทึกบัญชีกรณีโอนเปลี่ยนประเภทหลักทรัพย์เผื่อขายเป็นเงินลงทุนประเภทอื่นให้ถูกต้อง 164227
010513 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 3.1 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการได้มาของตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดให้ถูกต้อง 164228
010513 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 3.2 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับผลตอบแทนจากจากเงินลงทุนในตราสารหนี้ให้ถูกต้อง 164229
010513 บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 3.3 บันทึกบัญชีกรณีเปลี่ยนประเภทจากตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนดเป็นเงินลงทุนประเภทอื่นให้ถูกต้อง 164230
010514

บันทึกบัญชีเกี่ยวกับเงินลงทุนทั่วไป


12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ผ่านการทดสอบวัดระดับความสามารถตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ อาชีพผู้ปฏิบัติงานด้านบัญชีสำหรับผู้มีคุณวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี ระดับที่ 3 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1)    บันทึกรับรู้รายการเริ่มแรก (ได้มา) ของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป

2)    บันทึกรับรู้การวัดมูลค่าภายหลังการรับรู้รายการของเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด 

3)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการรับผลประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

4)    บันทึกรับรู้รายการเกี่ยวกับการขายเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป

5)    บันทึกบัญชีเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

6)    ทำทะเบียนคุมเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1)    ความรู้เกี่ยวกับคำนิยามและการจำแนกของหลักทรัพย์เพื่อค้า หลักทรัพย์เผื่อขาย เงินลงทุนในตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด และเงินลงทุนทั่วไป

2)    ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของราคาทุน และการคำนวณราคาทุนเมื่อเริ่มรับรู้รายการเริ่มแรกของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

3)    ความรู้เกี่ยวกับการวัดมูลค่าของราคาทุนของรายการเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุนที่ได้มาจากการแลกเปลี่ยน

4)    ความรู้เกี่ยวกับรายการบัญชีกรณีมีการโอนเปลี่ยนประเภทของเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

5)    ความรู้เกี่ยวกับผลประโยชน์จากการลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

6)    ความรู้เกี่ยวกับการขายเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน

7)    ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมภายในสำหรับรายการเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- ไม่มี -

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1)    ใบรายงานผลการศึกษาที่แสดงคุณวุฒิตามคุณสมบัติและข้อกำหนดของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

2)    หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานด้านบัญชีและข้อกำหนดด้านอายุงานของแต่ละชั้นที่เข้ารับการทดสอบ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

- ไม่มี -

(ง)    วิธีการประเมิน

1)    การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบแบบปรนัย แบบถูกผิด และแบบเติมคำ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)    คำแนะนำ         

- ไม่มี-

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด    

หลักทรัพย์เพื่อค้า หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาดที่กิจการถือไว้เพื่อหลักเพื่อที่จะขายในอนาคตอันใกล้ ทำให้กิจการถือหลักทรัพย์นั้นไว้ในระยะสั้นๆ เพื่อหากำไรจากการเปลี่ยนแปลงราคาของหลักทรัพย์ ดังนั้น หลักทรัพย์เพื่อค้าจึงมีอัตราการหมุนเวียนสูง

หลักทรัพย์เผื่อขาย หมายถึง เงินลงทุนในตราสารหนี้ทุกชนิดหรือตราสารทุนในความต้องการของตลาด ซึ่งไม่ถือเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า และขณะเดียวกันไม่ถือเป็นตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หรือเงินลงทุนในบริษัทร่วม เงินลงทุนในบริษัทย่อย หรือเงินลงทุนในการร่วมค้า หลักทรัพย์เผื่อขายสามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว

ตราสารหนี้ที่จะถือจนครบกำหนด หมายถึง เงินลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทตราสารหนี้ที่กิจการมีความตั้งใจแน่วแน่และมีความสามารถที่จะถือไว้จนครบกำหนดไถ่ถอน

เงินลงทุนทั่วไป หมายถึง เงินลงทุนในตราสารทุนที่ไม่อยู่ในความต้องการของตลาด ทำให้กิจการไม่สามารถจัดประเภทเป็นหลักทรัพย์เพื่อค้า เผื่อขาย หรือเงินลงทุนทั่วไป สามารถแยกประเภทเป็นเงินลงทุนชั่วคราวหรือเงินลงทุนระยะยาว

การควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่  1. สภาพแวดล้อมการควบคุม (Control Environment)  2. การประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment)  3. กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) 4. สารสนเทศ และการสื่อสาร (Information and Communication) และ 5. การติดตามและประเมินผล (Monitoring)  

ตามที่กล่าวไว้ในวรรคก่อนเป็นแนวคิดในการควบคุมภายในขั้นพื้นฐานที่นักบัญชีต้องประยุกต์ให้เข้ากับงานด้านเงินลงทุน  ซึ่งผู้เข้ารับการทดสอบต้องมีความรู้อย่างน้อยในส่วนที่เกี่ยวกับกิจกรรมการควบคุม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี 

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ทดสอบโดยการใช้ข้อสอบ 



ยินดีต้อนรับ