หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขเพิ่มเติม ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) ภายในตามที่สั่ง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---5-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขเพิ่มเติม ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) ภายในตามที่สั่ง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักพัฒนาโปรแกรมเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้จะต้องสามารถเขียน Program Logic Function เพิ่มเติมหรือแก้ไขตามที่ได้รับคำสั่งให้ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการพัฒนาโปรแกรมเกม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30141 จัดทำ Program Logic Function เพิ่มเติมตามที่ได้รับคำสั่งให้ ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) 1. วิเคราะห์เอกสารคำสั่ง (Requirement Document) 30141.01 122269
30141 จัดทำ Program Logic Function เพิ่มเติมตามที่ได้รับคำสั่งให้ ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) 2. เขียน Function เพิ่มไปใน Libraries/Tools เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเรียกใช้ 30141.02 122270
30141 จัดทำ Program Logic Function เพิ่มเติมตามที่ได้รับคำสั่งให้ ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) 3. จัดทำเอกสารทางเทคนิค (Technical Document) เพื่อใช้สื่อสาร/อธิบาย Function ที่เขียนขึ้นมาใหม่ 30141.03 122271
30142 พัฒนาเพิ่มเติมแก้ไข Function ตามที่ได้รับคำสั่ง 1. วิเคราะห์เอกสารคำสั่ง (Requirement Document) 30142.01 122272
30142 พัฒนาเพิ่มเติมแก้ไข Function ตามที่ได้รับคำสั่ง 2. อ่านและวิเคราะห์ Code ใน Libraries/Tools เดิม 30142.02 122273
30142 พัฒนาเพิ่มเติมแก้ไข Function ตามที่ได้รับคำสั่ง 3. แก้ไข/ปรับปรุง Code ใน Library ตามเอกสารคำสั่ง (Requirement Document) 30142.03 122274

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          มีความรู้และทักษะในการอ่าน Code จาก ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) เข้าใจการทำงานของ ไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools)  ที่จะแก้ไขเพิ่มเติม สามารถอ่านเอกสารคำสั่ง (Requirement Document) และจัดทำเอกสารทางเทคนิค (Technical Document)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  2. ทักษะการเขียน Function เพิ่มไปใน Libraries/Tools เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเรียกใช้ได้

  3. ทักษะการแก้ไข Function ใน Libraries/Tools เพื่อให้ผู้อื่นสามารถเรียกใช้ได้

  4. ทักษะการจัดทำเอกสารทางเทคนิค (Technical Document) เพื่อใช้สื่อสาร/อธิบาย Function ที่เขียนขึ้นมาใหม่

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เอกสารคำสั่ง (Requirement Document)

  2. มีความรู้เกี่ยวกับการอ่าน Code ใน Library


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่จะต้องกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงานรวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะแก้ไข เพิ่มเติมไลบรารีหรือเครื่องมือ (Libraries/Tools) ตามแนวทางหรือโจทย์ของเกมที่ได้รับ ผู้ที่จะผ่านสมรรถนะนี้ต้องมีความรู้เฉพาะทางหนึ่งด้านคือ Graphic Artificial Intelligent (AI) หรือ Physic



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เกมเอนจิน (Game Engine) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สร้างวีดีโอเกม ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ อาทิ C, C++, JAVA เป็นต้น เกมเอนจินเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือใช้สร้างชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเกม ชิ้นส่วนเหล่านี้ จะถูกนำไปประกอบเข้าด้วยกัน และถูกทดสอบว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนดไว้ เป็นกระบวนการในการสร้างเกมให้ออกมาสมบูรณ์ นักพัฒนาเกมจำนวนมากใช้เกมเอนจินในการสร้างเกมสำหรับเครื่องเล่น มือถือ ตลอดจนคอมพิวเตอร์พกพาการทำงานของเกมเอนจิน ประกอบด้วย การเรนเดอร์กราฟิก 2 มิติ 3 มิติ การตรวจสอบการชนระบบเสียง ภาษาสคริปต์ แอนิเมชัน ปัญญาประดิษฐ์ ระบบเน็ตเวิร์ค การสตรีม การจัดการหน่วยความจำ การรองรับภาษาที่แปล ตลอดจนระบบอื่นๆ อีกมากมาย

  2. ไลบรารี (Library/Tool) หมายถึง คลังโปรแกรม หรือ ในทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ คือส่วนที่รวบรวมกระบวนการ (process) และฟังก์ชันย่อย (subroutine) ต่างๆ ซึ่งอาจจะรวมรหัสต้นฉบับ (source code) ที่จำเป็นต้องใช้ในการเขียนซอฟต์แวร์ หรือ ใช้ในการทำงานของโปรแกรมหนึ่ง Library/Tool ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเกมมีมากมายหลายชนิดเช่น Graphic Artificial Intelligent (AI) และ Physic เป็นต้น

  3. เอกสารทางเทคนิค (Technical Document) หมายถึง เอกสารทางเทคนิคในทางวิศวกรรมซอฟต์แวร์เป็นคำศัพท์ที่ครอบคลุมเอกสารทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และเอกสารประเภทต่างๆ นั้นถูกสร้างขึ้นผ่านวงจรการพัฒนาซอฟต์แวร์ทั้งหมด Software Development Lifecycle (SDLC) เอกสารนี้มีไว้เพื่ออธิบายการทำงานของฟังชั่นต่างๆ ในซอฟต์แวร์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโปรเจคโดยรวม และการอภิปรายคำถามที่สำคัญทั้งหมดที่เกิดขึ้นระหว่างผู้มีส่วนได้เสียและผู้พัฒนาโปรแกรม

  4. เอกสารออกแบบ (Design Document หรือ Software Design Document) หมายถึง เอกสารการออกแบบซอฟต์แวร์เป็นคำอธิบายที่เป็นลายลักษณ์อักษรของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ที่นักออกแบบซอฟต์แวร์เขียนเพื่อให้คำแนะนำโดยรวมแก่ทีมพัฒนาซอฟต์แวร์เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของโครงสร้างซอฟต์แวร์ มักจะมาพร้อมกับไดอะแกรมสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์เพื่อระบุรายละเอียดคุณลักษณะของชิ้นส่วนของซอฟต์แวร์ฟังชั่นเล็กๆของโครงสร้างซอฟต์แวร์เพื่อให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สามารถแบ่งงานกันเป็นทีมได้


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ