หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำโครงเรื่องของเกม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---6-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำโครงเรื่องของเกม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากเจ้าของโครงการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมาวางโครงเรื่องเกมได้โดยมีการหาข้อมูลอ้างอิงจากเกมหรือสื่อต่างๆ ที่มีในท้องตลาดมาร่วมวิเคราะห์ มีการนำเสนอต่อเจ้าของโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีการนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงเป็นโครงเรื่องตามความต้องการเจ้าของโครงการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบเกม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20211 รวบรวมและวิเคราะห์แนวคิดโครงเรื่องของเจ้าของโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 1. เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการจากเจ้าของโครงการ 20211.01 122141
20211 รวบรวมและวิเคราะห์แนวคิดโครงเรื่องของเจ้าของโครงการหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. วิเคราะห์ความต้องการ เพื่อใช้ออกแบบโครงเรื่อง 20211.02 122142
20212 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิงในการทำโครงเรื่อง 1. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลอ้างอิงเนื้อเรื่องจากสื่อที่มีในท้องตลาด 20212.01 122143
20212 รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอ้างอิงในการทำโครงเรื่อง 2. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมมาได้ เพื่อเลือกใช้เป็นแนวทางออกแบบโครงเรื่อง 20212.02 122144
20213 ออกแบบและนำเสนอโครงเรื่องของเกมต่อเจ้าของโครงการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 1. เขียนโครงเรื่องของเกม โดยสอดคล้องตามความต้องการของเจ้าของโครงการ ข้อมูลอ้างอิง และระบบการเล่น 20213.01 122145
20213 ออกแบบและนำเสนอโครงเรื่องของเกมต่อเจ้าของโครงการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. จัดทำสื่อการนำเสนอ และเตรียมความพร้อม 20213.02 122146
20213 ออกแบบและนำเสนอโครงเรื่องของเกมต่อเจ้าของโครงการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง 3. นำเสนอข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้องและรับข้อเสนอแนะ 20213.03 122147
20214 ปรับปรุง และสรุปโครงเรื่อง ของเกม 1. วิเคราะห์ข้อเสนอแนะ และกำหนดแนวทางแก้ไข 20214.01 122148
20214 ปรับปรุง และสรุปโครงเรื่อง ของเกม 2. ปรับปรุงเนื้อหาในเอกสารโครงเรื่องของเกมตามแนวทางแก้ไข 20214.02 122149

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับเกม โครงเรื่อง และบทเนื้อเรื่องประเภทต่างๆ สามารถทำโครงเรื่องและบทเนื้อเรื่องของเกมได้ เข้าใจวิธีการทำงานของทีมเขียนบทและทีมผลิตเกม สามารถจับใจความ สรุปความ และสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ   


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  2. ทักษะการแต่งโครงเรื่องให้เข้ากับระบบการเล่นของเกม

  3. ทักษะการสื่อสาร

  4. ทักษะทางด้านการเขียนบรรยายเชิงสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับโครงเรื่องและเนื้อเรื่อง

  2. ความรู้เกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดเกม

  3. ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มผู้เล่นเป้าหมาย

  4. ความรู้เกี่ยวกับระบบการเล่นเกม

  5. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการวิเคราะห์ความต้องการจากเจ้าของโครงการ มีการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของโครงเรื่องแต่ละประเภทที่มีต่อการออกแบบและระบบการเล่น มีการเขียนโครงเรื่องซึ่งต้องให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของเจ้าของโครงการ มีการนำเสนอโครงเรื่องต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับข้อเสนอแนะมาวิเคราะห์และปรับปรุงตามแนวทางแก้ไข



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. โครงเรื่องของเกม (Game storyline)  หมายถึง  เนื้อเรื่องเบื้องต้นของเกม พื้นเพของโลกและตัวละครในเกม รวมทั้งเนื้อเรื่องเฉพาะที่เป็นเนื้อเรื่องหลัก ครอบคลุมตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง

  2. บทเนื้อเรื่องของเกม (Game story)  หมายถึง  เนื้อเรื่องที่ลงรายละเอียดแล้วสมบูรณ์ตามโครงเรื่องของเกม รวมทั้งบทพูดต่างๆ ของตัวละครในเกม

  3. ผู้อำนวยการสร้าง (Producer)  หมายถึง  ตำแหน่งหน้าที่หนึ่งในกระบวนการพัฒนาเกม ทำหน้าหลักได้แก่ การประสานงานระหว่างทีมต่างๆ ให้การทำงานเป็นไปได้อย่างราบรื่น ไม่ติดขัด รวมทั้งกำหนดแผนงานการทำงาน และคอยควบคุมไม่ให้กำหนดกรต่างๆ คลาดเคลื่อนไปจากแผนที่วางไว้

  4. เจ้าของโครงการ (Project owner) หมายถึงผู้ที่เป็นเจ้าของเกม เป็นผู้ตัดสินใจสุดท้าย ที่กำหนดรูปแบบของเกมที่เสร็จออกมา อาจจะเป็นผู้ว่าจ้างที่ออกทุนจ้างวานทีมพัฒนาเกมให้สร้างเกมตามความต้องการของตน หรืออาจจะเป็นหัวหน้าทีมพัฒนาเกมเองก็ได้ ในกรณีทีทีมพัฒนาเกมเป็นผู้ผลิตเกมของตนเองโดยไม่ได้รับการจ้างวานจากที่อื่น

  5. ระบบการเล่นเกม (Gameplay)  หมายถึง  รายละเอียดต่างๆ ที่จะเป็นตัวกำหนดวิธีการเล่นเกมในแต่ละเกม ได้แก่ กติกา กลไกการเล่น องค์ประกอบต่างๆ ระดับความยากของเกม  แนวคิดการสื่อสารและขั้นตอนของเกม  และการควบคุมเกม


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ