หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---6-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถกำหนดแนวคิดเบื้องต้นและแนวเกมให้กับเกมที่จะทำ โดยอ้างอิงจากความต้องการของเจ้าของโครงการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบเกม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111 รวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของเจ้าของโครงการ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลความต้องการจากเจ้าของโครงการ 20111.01 122125
20111 รวบรวมและวิเคราะห์ความต้องการของเจ้าของโครงการ 2. เรียบเรียง วิเคราะห์ และสรุปข้อมูลความต้องการเจ้าของโครงการที่ได้รับ 20111.02 122126
20112 ออกแบบแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม 1. ออกแบบและเขียนแนวคิดเบื้องต้น และแนวทางของเกม โดยอ้างอิงจากข้อมูลที่สรุป 20112.01 122127
20112 ออกแบบแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม 2. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้อ้างอิงแนวคิดเบื้องต้นและแนวทางของเกมที่ได้ออกแบบ 20112.02 122128
20113 นำเสนอแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกมต่อเจ้าของโครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 1. จัดทำสื่อการนำเสนอและเตรียมความพร้อม 20113.01 122129
20113 นำเสนอแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกมต่อเจ้าของโครงการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง 2. นำเสนอข้อมูลผู้ที่เกี่ยวข้องและรับข้อเสนอแนะ 20113.02 122130
20114 ปรับปรุง และสรุปแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม 1. วิเคราะห์ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางแก้ไข 20114.01 122131
20114 ปรับปรุง และสรุปแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม 2. ปรับปรุงแนวคิดเบื้องต้นและแนวเกมตามแนวทางแก้ไข 20114.02 122132

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ความรู้และทักษะด้านการออกแบบแนวคิดสร้างสรรค์และนำเสนอแนวคิดเบื้องต้น


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  2. ทักษะการเขียนบรรยายเชิงสร้างสรรค์

  3. ทักษะการค้นหาข้อมูลอ้างอิง

  4. ทักษะการสื่อสาร 

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบเชิงแนวคิด

  2. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน  




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับมาจากเจ้าของโครงการ โดยนำข้อมูลมาพิจารณาร่วมกับข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงเพื่อนำไปใช้ในการออกแบบแนวคิดเบื้องต้น และแนวเกม มีการนำเสนองานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับข้อเสนอแนะมาวิเคราะห์และปรับปรุงตามแนวทางแก้ไข



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. แนวคิดเบื้องต้น (High concept)  หมายถึง คำจำกัดความสั้นๆ เพียงไม่กี่คำที่สามารถสื่อสารให้คนทั่วไปเข้าใจได้ ยกตัวอย่างเช่น “หมู่บ้านที่เต็มไปด้วยพลังลี้ลับ”

  2. แนวเกม (Genre) หมายถึงการจัดประเภทของเกมตามลักษณะรูปแบบการเล่นหลักของเกมนั้นๆ เช่น เกมสวมบทบาท (Role Play Game) และเกมวางแผน (Strategy Game)

  3. พฤติกรรมของผู้เล่นเกม (Game player behavior) หมายถึง  ลักษณะความชอบ และวิธีคิดของกลุ่มผู้เล่นเป้าหมาย ซึ่งได้รับผลมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น อายุ เพศ วัฒนธรรม หรือการดำเนินชีวิตประจำวัน

  4. เจ้าของโครงการ (Project owner) หมายถึง ผู้ที่เป็นเจ้าของเกม เป็นผู้ตัดสินใจสุดท้าย ที่กำหนดรูปแบบของเกมที่เสร็จออกมา อาจจะเป็นผู้ว่าจ้างที่ออกทุนจ้างวานทีมพัฒนาเกมให้สร้างเกมตามความต้องการของตน หรืออาจจะเป็นหัวหน้าทีมพัฒนาเกมเองก็ได้ ในกรณีทีทีมพัฒนาเกมเป็นผู้ผลิตเกมของตนเองโดยไม่ได้รับการจ้างวานจากที่อื่น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ