หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำลำดับขั้นตอนและแนวคิดการสื่อสารของเกม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---5-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำลำดับขั้นตอนและแนวคิดการสื่อสารของเกม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถออกแบบการสื่อสารระหว่างเกมกับผู้เล่นและลำดับขั้นตอนของเกมจากกติกา กลไก องค์ประกอบ รายละเอียดแนวคิด และขอบเขตของเกมอย่างครบถ้วนและเป็นสากล ทำให้ผู้เล่นใช้งานได้ง่ายและไม่สับสน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบเกม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20531 เตรียมการออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 1. ศึกษาและวิเคราะห์ขอบเขตของเกม กติกา กลไก และองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการเล่น เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 20531.01 122194
20531 เตรียมการออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 2. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลอ้างอิงลำดับขั้นตอนของเกมจากเกมที่มีในท้องตลาด 20531.02 122195
20531 เตรียมการออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 3. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมมาได้ เพื่อเลือกใช้เป็นแนวทางออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 20531.03 122196
20532 ออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 1. จัดทำผังลำดับขั้นตอนของเกมใส่เอกสารการออกแบบ 20532.01 122197
20532 ออกแบบลำดับขั้นตอนของเกม 2. เขียนระบุผังลำดับขั้นตอนของเกมบนเอกสารการออกแบบ 20532.02 122198
20533 ปรับปรุงและสรุปลำดับขั้นตอนของเกม 1. นำเสนอลำดับขั้นตอนของเกมต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและรับทราบข้อเสนอแนะ 20533.01 122199
20533 ปรับปรุงและสรุปลำดับขั้นตอนของเกม 2. วิเคราะห์ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางแก้ไข 20533.02 122200
20533 ปรับปรุงและสรุปลำดับขั้นตอนของเกม 3. ปรับปรุงเนื้อหาในเอกสารการออกแบบ ตามแนวทางแก้ไข 20533.03 122201
20534 เตรียมการออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 1. ศึกษาและวิเคราะห์ลำดับขั้นตอนของเกม กติกา กลไก และองค์ประกอบต่างๆ ที่เกี่ยวกับระบบการเล่น เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 20534.01 122202
20534 เตรียมการออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 2. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลอ้างอิงแนวคิดการสื่อสารของเกมจากเกมที่มีในท้องตลาด 20534.02 122203
20534 เตรียมการออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 3. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมมาได้ เพื่อเลือกใช้เป็นแนวทางออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 20534.03 122204
20535 ออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 1. กำหนดภาพรวมของแนวคิดการสื่อสารของเกม 20535.01 122205
20535 ออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 2. จัดทำภาพร่างประกอบแสดงแนวคิดการสื่อสารของเกมใส่เอกสารการออกแบบ 20535.02 122206
20535 ออกแบบแนวคิดการสื่อสารของเกม 3. เขียนภาพร่างประกอบแนวคิดการสื่อสารของเกมบนเอกสารการออกแบบ 20535.03 122207
20536 ปรับปรุงและสรุปแนวคิดการสื่อสารของเกม 1. นำเสนอแนวคิดการสื่อสารของเกมต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและรับทราบข้อเสนอแนะ 20536.01 122208
20536 ปรับปรุงและสรุปแนวคิดการสื่อสารของเกม 2. วิเคราะห์ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางแก้ไข 20536.02 122209
20536 ปรับปรุงและสรุปแนวคิดการสื่อสารของเกม 3. ปรับปรุงเนื้อหาในเอกสารการออกแบบ ตามแนวทางแก้ไข 20536.03 122210
20536 ปรับปรุงและสรุปแนวคิดการสื่อสารของเกม 4. อัพเดทข้อมูลในเอกสารอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องระหว่างการพัฒนาเกม 20536.04 122211

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับระบบการสื่อสารระหว่างเกมกับผู้เล่น และลำดับขั้นตอนของเกมแต่ละประเภท  มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการสื่อสารระหว่างเกมกับผู้เล่นและลำดับขั้นตอนทั่วๆ ไปที่มีอยู่ในท้องตลาด  สามารถออกแบบการสื่อสารระหว่างเกมกับผู้เล่นและลำดับขั้นตอนระดับพื้นฐานได้ สามารถเขียนแผนผังเป็น Flowchart ได้ ตลอดจนมีการสื่อสารและสรุปจับใจความที่มีประสิทธิภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านประสบการณ์การเล่นเกม

  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  3. ทักษะการคิดอย่างเป็นตรรกะ (ในการตีความองค์ประกอบของเกมออกมาจากระบบกลไกการเล่น และกฎกติกาได้)

  4. ทักษะการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์เบื้องต้นในการทำสมดุลให้กับค่าขององค์ประกอบต่างๆ ในเกม

  5. ทักษะการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงาน (Flowchart)

  2. ความรู้เกี่ยวกับส่วนการสื่อสารระหว่างเกมกับผู้เล่น (Game-User Interface)

  3. ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เบื้องต้น

  4. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของลำดับขั้นตอนการดำเนินการเกมรูปแบบต่างๆ มีการจัดทำแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงาน (Flowchart) เพื่อระบุขั้นตอนการดำเนินเรื่องและแนวคิดการสื่อสารของเกม มีการเสนอแผนภาพแสดงขั้นตอนการทำงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับข้อเสนอแนะไปวิเคราะห์แก้ไข และมีการปรับปรุงข้อมูลในเอกสารการออกแบบเกม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การสื่อสารระหว่างเกมกับผู้เล่น (Game-User Interface)  หมายถึง ข้อมูลต่างๆ ที่เกมต้องการสื่อสารกับผู้เล่น ทั้งการแจ้งข้อมูลต่อผู้เล่น หรือเปิดรับการตอบโต้จากผู้เล่น แสดงออกมาอยู่บนหน้าจอในลักษณะของตัวหนังสือ ภาพประกอบ หน้าต่าง ปุ่มกดตอบโต้ หรือคำสั่งต่างๆ

  2. ลำดับขั้นตอนของเกม (Game flow)  หมายถึง ขั้นตอนทั้งหมดในเกม ที่ผู้เล่นจะได้พบตั้งแต่เริ่มเข้าเกมจนจบเกม โดยทั่วไปจะเขียนออกมาในลักษณะ Flowchart

  3. แผนผังแสดงขั้นตอนการทำงาน (Flowchart) หมายถึง สัญลักษณ์และข้อความที่ใช้ในการสื่อสารขั้นตอนการทำงาน ซึ่งโดยมากแล้วการเขียนจะเรียงลำดับการทำงานในทุกขั้นตอนตั้งแต่เริ่มจนจบกระบวนการ

  4. เอกสารการออกแบบเกม (Game design document) หมายถึงเอกสารที่รวบรวมองค์ประกอบต่างๆ เช่น แนวคิด ขั้นตอน ขอบเขตของการออกแบบเกม เอกสารการออกแบบอาจจะถูกเขียนโดยนักออกแบบเกม หรืออาจจะเป็นการเขียนร่วมกันระหว่างทีมนักออกแบบเกม ทีมนักออกแบบศิลปะเกมและทีมนักพัฒนาโปรแกรมเกม และเอกสารนี้มักจะได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล นอกจากนี้เอกสารการออกแบบเกมอาจจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบของสัญญาข้อตกลงระหว่างเจ้าของโครงการและทีมงานออกแบบเกมอีกด้วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ