หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบเกมตามการออกแบบเกมและปรับปรุงคุณภาพของเกม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---4-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบเกมตามการออกแบบเกมและปรับปรุงคุณภาพของเกม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถทดสอบคุณภาพ ความสนุก และความสมดุลของเกมที่ทำ โดยสามารถนำประสบการณ์ในการเล่นเกม และความรู้ทางด้านการออกแบบเกมมาวิเคราะห์วิจารณ์ตัวเกมที่ได้ทดสอบ ตลอดจนสามารถปรับแก้ หรือนำเสนอแนวทางการปรับแก้ได้ให้กับทีมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบเกม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20711 ทดสอบเกม 1. ศึกษาเอกสารการออกแบบ และตัวเกม เพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการทดสอบ 20711.01 122231
20711 ทดสอบเกม 2. ทดสอบเล่นเกมตามขอบเขต และแนวทางการทดสอบ 20711.02 122232
20711 ทดสอบเกม 3. บันทึกปัญหาหรือจุดที่ควรปรับปรุงลงบนรายงานการทดสอบ 20711.03 122233
20712 ปรับปรุงเกมและรายงานปัญหาต่อทีม 1. วิเคราะห์จุดที่ควรปรับปรุง และปรับปรุงตามรายงานการทดสอบ 20712.01 122234
20712 ปรับปรุงเกมและรายงานปัญหาต่อทีม 2. รายงานปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขปรับปรุงเองได้ พร้อมทั้งการแก้ไขที่ต้องการต่อทีมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ทีมที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขและปรับปรุงต่อไป 20712.02 122235
20713 ทดสอบซ้ำ 1. ทดสอบซ้ำในจุดที่ได้รับการแก้ไข 20713.01 122236
20713 ทดสอบซ้ำ 2. ปรับปรุงรายงานปัญหาที่ได้รับการแก้ไขแล้วและส่วนที่แก้ไขไม่ถูกต้องให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป 20713.02 122237

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          มีความรู้และทักษะในการเล่นเกมหลายๆ ประเภท โดยเฉพาะเกมที่ได้รับความนิยมในท้องตลาด มีความเข้าใจวิธีการปรับจูนเกมในเบื้องต้น (Fine-tuning) ตลอดจนมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ   


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านประสบการณ์การเล่นเกม

  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  3. ทักษะการสื่อสาร

  4. ทักษะด้านการสังเกต

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคเกม

  2. ความรู้เกี่ยวกับสมดุลต่างๆ ในระบบเกม

  3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการศึกษาข้อมูลระบบของเกมจากเอกสารการออกแบบ ให้ทดสอบเกมตามที่ได้รับมอบหมาย มีการสังเกตจุดบกพร่องเพื่อนำไปวิเคราะห์ปัญหา มีการรายงานต่อผู้ที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะทำการทดสอบซ้ำและนำเสนอรายงานการสรุปต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ปรับแต่งเกม (Fine-tune game) หมายถึง การปรับค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของเกม รวมทั้งการปรับปรุงกลไกหรือกติกาของเกม(ในบางกรณี) เพื่อให้เกมมีความสมดุลและความสนุกของเกมเป็นไปตามที่นักออกแบบเกม หรือเจ้าของโครงการต้องการ

  2. ความสมดุลของเกม (Game balance) หมายถึง การกำหนดค่าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดของเกม ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป จนทำให้ผู้เล่นรู้สึกขัดแย้ง หรือทำลายความสนุกของเกม ในกรณีสำหรับเกมที่เล่นคนเดียวหรือผู้เล่นหลายคนแบบช่วยเหลือกัน ความสมดุลจะมีผลให้เกมไม่ยากหรือง่ายจนเกินไปกับกลุ่มผู้เล่นเป้าหมาย ในกรณีของเกมที่เล่นหลายคนแบบแข่งกัน ความสมดุลของเกมจะมีผลต่อความได้เปรียบเสียเปรียบของผู้เล่นแต่ละคน

  3. ความสนุกของเกม (Game amusement) หมายถึง ประสบการณ์ของผู้เล่นที่ได้รับจากการเล่นเกม ผ่านกลไกของเกม กติกา องค์ประกอบต่างๆ ของเกม การสื่อสารของเกมต่อผู้เล่น ระดับความยากของเกมที่มีผลต่อกลุ่มผู้เล่นเป้าหมาย ตามที่นักออกแบบเกม หรือเจ้าของโครงการต้องการ และกำหนดขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ