หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำฉากและระดับความยากของเกม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---4-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำฉากและระดับความยากของเกม

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถนำข้อมูลจากโครงเรื่อง กติกา ระบบการเล่น และองค์ประกอบของเกมมาออกแบบฉากและกำหนดความยากในเกมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบเกม หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง   

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20521 เตรียมการออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 1. ศึกษาและวิเคราะห์เอกสารรายละเอียดแนวคิดขอบเขตของเกมและการออกแบบเกม เพื่อกำหนดแนวทางในการออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 20521.01 122185
20521 เตรียมการออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 2. ค้นหาและรวบรวมข้อมูลอ้างอิงฉากและระดับความยากของเกมจากเกมที่มีในท้องตลาด 20521.02 122186
20521 เตรียมการออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 3. วิเคราะห์ข้อดีข้อเสียของข้อมูลอ้างอิงที่รวบรวมมาได้ เพื่อเลือกใช้เป็นแนวทางออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 20521.03 122187
20522 ออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 1. กำหนดเงื่อนไขในการออกแบบ เช่น ความยาวของเกม จำนวนฉาก และความยากโดยรวม เพื่อใช้ควบคุมการออกแบบฉากและระดับความยาก 20522.01 122188
20522 ออกแบบฉากและระดับความยากของเกม 2. เลือกใช้วิธีออกแบบฉากและระดับความยากให้สอดคล้องตามแนวเกมที่ทำ ลงเอกสารการออกแบบ 20522.02 122189
20523 ปรับปรุงและสรุปฉากและระดับความยากของเกม 1. นำเสนอฉากและระดับความยากต่อผู้ที่เกี่ยวข้องและรับทราบข้อเสนอแนะ 20523.01 122190
20523 ปรับปรุงและสรุปฉากและระดับความยากของเกม 2. วิเคราะห์ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางแก้ไข 20523.02 122191
20523 ปรับปรุงและสรุปฉากและระดับความยากของเกม 3. ปรับปรุงเนื้อหาในเอกสารการออกแบบตามแนวทางแก้ไข 20523.03 122192
20523 ปรับปรุงและสรุปฉากและระดับความยากของเกม 4. อัพเดทข้อมูลในเอกสารอย่างสม่ำเสมอ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เกี่ยวข้องระหว่างการพัฒนาเกม 20523.04 122193

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          มีความรู้และทักษะเกี่ยวกับด่านและระดับความยากของเกมแต่ละประเภท มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องด่านและระดับความยากของเกมทั่วไปที่มีอยู่ในท้องตลาด สามารถออกแบบด่านหรือระดับความยากขั้นพื้นฐานของเกมได้ ตลอดจนมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ   


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะด้านประสบการณ์การเล่นเกม

  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  3. ทักษะการคิดอย่างเป็นตรรกะ (ในการตีความองค์ประกอบของเกมออกมาจากระบบกลไกการเล่น และกฎกติกาได้)

  4. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์

  5. ทักษะการประยุกต์ใช้คณิตศาสตร์ในการทำสมดุล และปรับแต่งองค์ประกอบบางอย่าง

  6. ทักษะการสื่อสาร

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของเกม

  2. ความรู้เกี่ยวกับคณิตศาสตร์เบื้องต้น

  3. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลจากโครงเรื่อง กติกา ระบบการเล่น และองค์ประกอบของเกมต่างๆ มาใช้ในการออกแบบฉากและกำหนดความยาก มีการเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงประกอบเพื่อให้การออกแบบมีความสอดคล้องกับแนวเกม ตลอดจนการนำเสนอข้อมูลต่อผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อรับข้อเสนอแนะไปแก้ไขและปรับปรุงในเอกสารการออกแบบเกม



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การออกแบบระดับความยากของเกม (Level design) หมายถึง   การออกแบบรายละเอียดต่างๆ ในแต่ละฉากของเกม ที่ส่งผลต่อประสบการณ์ที่ผู้เล่นจะได้รับในแต่ละฉาก ว่าจะต้องมีอะไรบ้าง เช่น ประเภทของอุปสรรค จำนวน ตำแหน่ง และเงื่อนไขระดับความยาก

  2. เอกสารการออกแบบเกม (Game design document) หมายถึง เอกสารที่รวบรวมองค์ประกอบต่างๆ เช่น แนวคิด ขั้นตอน ขอบเขตของการออกแบบเกม เอกสารการออกแบบอาจจะถูกเขียนโดยนักออกแบบเกม หรืออาจจะเป็นการเขียนร่วมกันระหว่างทีมนักออกแบบเกม ทีมนักออกแบบศิลปะเกมและทีมนักพัฒนาโปรแกรมเกม และเอกสารนี้มักจะได้รับการปรับปรุงอยู่เสมอเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูล นอกจากนี้เอกสารการออกแบบเกมอาจจะถูกใช้เป็นส่วนประกอบของสัญญาข้อตกลงระหว่างเจ้าของโครงการและทีมงานออกแบบเกมอีกด้วย

  3. แนวเกม (Genre) หมายถึงการจัดประเภทของเกมตามลักษณะรูปแบบการเล่นหลักของเกมนั้นๆ เช่น เกมสวมบทบาท (Role Play Game) และเกมวางแผน (Strategy Game) 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ