หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ (Art Quality Management)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---7-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ (Art Quality Management)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบศิลปะเกม (ผู้กำกับศิลป์)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถควบคุมคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ ให้งานออกมาได้ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ สอดคล้องกับภาพร่างแนวคิดหรือโจทย์ที่ได้รับ รวมถึงสามารถให้คำแนะนำหรือแก้ไขส่วนที่ผิดพลาดให้ถูกต้องได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบศิลปะเกม ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบภาพเคลื่อนไหว เช่น นักสร้างสรรค์ภาพแนวคิด นักสร้างสรรค์ภาพ 2 มิติ นักออกแบบศิลปะ (Artist) ผู้กำกับศิลป์ (Art Director) หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10621 ตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ 1. กำหนดตัวชี้วัดคุณภาพงานได้สอดคล้องกับมาตรฐานของเกมที่ต้องการ 10621.01 122112
10621 ตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ 2. ตรวจสอบงานออกแบบศิลปะเกมให้มีความสอดคล้องกับภาพร่างแนวคิดและแนวทางหรือโจทย์ของเกมที่ได้รับหรือไม่ 10621.02 122113
10621 ตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ 3. ตรวจสอบในเชิงเทคนิคเกี่ยวกับงานออกแบบศิลปะเกมที่จัดทำขึ้น เพื่อนำส่งให้ Game Engine ดำเนินการต่อได้ 10621.03 122114
10622 แก้ไขและให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานออกแบบศิลปะเกมได้ 1. ระบุจุดผิดพลาดของงานออกแบบศิลปะเกมได้ 10622.01 122115
10622 แก้ไขและให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานออกแบบศิลปะเกมได้ 2. กำหนดแนวทางแก้ไขข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำได้อย่างถูกต้องตามทีกำหนด 10622.02 122116

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้และทักษะการวาดภาพและควบคุมคุณภาพงานออกแบบศิลปะเกมทั้งระบบ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการตัดสินใจ

  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  3. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์

  2. ความรู้เกี่ยวกับกายวิภาค

  3. ความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อม

  4. ความรู้เกี่ยวกับแสงเงา

  5. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สี

  6. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบศิลปะเกม


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน  




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะในการกำหนดแผนและตรวจสอบข้อกำหนดต่างๆ ของงานศิลป์เชิงเทคนิคได้อย่างละเอียด เช่นความสอดคล้องกับแนวคิดเกม ความสมส่วน คุณภาพหรือคุณลักษณะของวัสดุ (Material) คุณภาพหรือลักษณะการเคลื่อนไหวของงานศิลป์ที่ไปแสดงผลในเกมเอนจิน (Game Engine)



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การควบคุมคุณภาพ หมายถึง การวิเคราะห์ตรวจสอบว่า ชิ้นงานออกแบบศิลปะเกม (Game Art) ที่ได้จัดทำขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาพ 2 มิติ โมเดล 3 มิติ การริกกิ้ง หรือภาพเคลื่อนไหวแอนิเมชันนั้น สอดคล้องกับภาพร่างแนวคิด (Concept Image) หรือสตอร์รี่บอร์ด (Storyboard) รวมถึงแนวคิดหรือโจทย์ของเกมที่ได้รับ และได้มาตรฐานตามที่กำหนดหรือไม่ โดยใช้หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ข้อกำหนดทางระบบของเกม องค์ประกอบทางทัศนศิลป์ ความสมจริง เป็นต้น

  2. เกมเอนจิน (Game Engine) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สร้างวีดีโอเกม ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ อาทิ C, C++, JAVA เป็นต้น เกมเอนจินเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือใช้สร้างชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเกม ชิ้นส่วนเหล่านี้ จะถูกนำไปประกอบเข้าด้วยกัน และถูกทดสอบว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนดไว้ เป็นกระบวนการในการสร้างเกมให้ออกมาสมบูรณ์ นักพัฒนาเกมจำนวนมากใช้เกมเอนจินในการสร้างเกมสำหรับเครื่องเล่น มือถือ ตลอดจนคอมพิวเตอร์พกพาการทำงานของเกมเอนจิน ประกอบด้วย การเรนเดอร์กราฟิก 2 มิติ 3 มิติ การตรวจสอบการชนระบบเสียง ภาษาสคริปต์ แอนิเมชัน ปัญญาประดิษฐ์ ระบบเน็ตเวิร์ค การสตรีม การจัดการหน่วยความจำ การรองรับภาษาที่แปล ตลอดจนระบบอื่นๆ อีกมากมาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ