หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างเทคนิคพิเศษบน Game Engine (Special Effect Creation for Game Engine)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---6-007ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างเทคนิคพิเศษบน Game Engine (Special Effect Creation for Game Engine)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบศิลปะเกม (เทคนิคเกม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์และประเมินการกำหนด Specification ของเทคนิคพิเศษต่างๆ ภายในเกมรวมถึงสร้างเทคนิคพิเศษที่ใช้ในเกม รวมถึงตรวจสอบและแก้ไขเพื่อให้เทคนิคพิเศษแสดงผลได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของเกม และเลือกใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักออกแบบศิลปะเกม (เทคนิคเกม)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10561 วิเคราะห์และประเมินการกำหนด Specification ของเทคนิคพิเศษต่างๆภายในเกม 1. กำหนดและระบุ Specification ของเทคนิคพิเศษต่างๆ ภายในเกม 10561.01 122100
10561 วิเคราะห์และประเมินการกำหนด Specification ของเทคนิคพิเศษต่างๆภายในเกม 2. ประเมินการเลือกใช้เครื่องมือหรือเทคนิคสำหรับสร้างเทคนิคพิเศษต่างๆ ภายในเกม 10561.02 122101
10562 สร้างเทคนิคพิเศษที่ใช้ในเกม 1. สร้างเทคนิคพิเศษได้ถูกต้องตามข้อกำหนด 10562.01 122102
10562 สร้างเทคนิคพิเศษที่ใช้ในเกม 2. ตรวจสอบและแก้ไข้เพื่อให้เทคนิคพิเศษแสดงผลได้ถูกต้องตามข้อกำหนดของเกม 10562.02 122103

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบศิลปะเกมในแขนงต่างๆ ในภาพรวม รวมถึงสามารถใช้เครื่องมือในเกมเอนจินเพื่อสร้างเทคนิคพิเศษ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  2. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

  3. ทักษะกำหนดและระบุ Specification ของเทคนิคพิเศษในเกมเอนจิน

  4. ทักษะประเมินการเลือกใช้เครื่องมือหรือเทคนิคสำหรับสร้างเทคนิคพิเศษในเกมเอนจิน

  5. ทักษะการสร้างเทคนิคพิเศษในเกมเอนจิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบศิลปะเกมในแขนงต่างๆ ในภาพรวม

  2. ความรู้ด้านฟิสิกส์ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนไหว

  3. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเกมเอนจินที่เกี่ยวข้องอาทิ Unity Unreal Engine เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน  




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะในการใช้งานโปรแกรมเชิงเทคนิคเพื่อสร้าง และกำหนดคุณลักษณะต่างๆ ผ่าน Specification ของเทคนิคพิเศษ (Special Effect) ให้ไปแสดงผลบนเกมเอนจิน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เกมเอนจิน (Game Engine) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สร้างวีดีโอเกม ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ อาทิ C, C++, JAVA เป็นต้น เกมเอนจินเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือใช้สร้างชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเกม ชิ้นส่วนเหล่านี้ จะถูกนำไปประกอบเข้าด้วยกัน และถูกทดสอบว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนดไว้ เป็นกระบวนการในการสร้างเกมให้ออกมาสมบูรณ์ นักพัฒนาเกมจำนวนมากใช้เกมเอนจินในการสร้างเกมสำหรับเครื่องเล่น มือถือ ตลอดจนคอมพิวเตอร์พกพาการทำงานของเกมเอนจิน ประกอบด้วย การเรนเดอร์กราฟิก 2 มิติ 3 มิติ การตรวจสอบการชนระบบเสียง ภาษาสคริปต์ แอนิเมชัน ปัญญาประดิษฐ์ ระบบเน็ตเวิร์ค การสตรีม การจัดการหน่วยความจำ การรองรับภาษาที่แปล ตลอดจนระบบอื่นๆ อีกมากมาย

  2. เทคนิคพิเศษต่างๆ ในเกม หมายถึง การสร้างเทคนิคหรือเครื่องมือให้เพิ่มเติมให้เกมเอนจินเพื่อให้นักออกแบบศิลปะเกมสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น การสร้างเครื่องมือเพื่อให้เกิดเอฟเฟกต์ประกายไฟแบบที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือ รวบรวมกระบวนการหลายขั้นตอนที่นักออกแบบศิลปะเกมต้องทำเป็นประจำให้รวมไว้ในเครื่องมือเดียวหรือสามารถเรียกใช้เพียงกระบวนการเดียวก็สามารถทำได้

  3. Specification หมายถึง ค่ากำหนดเชิงตัวเลขที่เป็นตัวกำหนดการทำงานของระบบหรือกำหนดเงื่อนไขของการคำนวณทางคณิตศาสตร์ ในการใช้เครื่องมือต่างๆ ของเกมเอนจิน จำเป็นต้องตั้งค่า Parameter ให้ถูกต้องเพื่อให้เกมเอนจินแสดงผลตามต้องการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ