หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการผลิตเกม(Scripting Solution Tools for Game Production)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---6-007ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาเครื่องมือต่างๆ เพื่อสนับสนุนการผลิตเกม(Scripting Solution Tools for Game Production)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบศิลปะเกม (เทคนิคเกม)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์และประเมินข้อกำหนดของเกมเพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือสำหรับใช้งานจริง  หรือแก้ไขเครื่องมือที่มีอยู่แล้วเพื่อใช้ใน Production Pipeline รวมถึงต้องมีการศึกษาเทคโนโลยีเพิ่มเติมเพื่อสร้างเครื่องมือตามข้อกำหนดได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักออกแบบศิลปะเกม  (Game Technical Artist)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10551 วิเคราะห์และประเมินข้อกำหนดของเกมเพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 1. วิเคราะห์และประเมินข้อกำหนดของเกมเพื่อสร้างหรือประยุกต์ใช้เครื่องมือ 10551.01 122096
10551 วิเคราะห์และประเมินข้อกำหนดของเกมเพื่อสร้างและพัฒนาเครื่องมือ 2. ศึกษาเทคโนโลยีเพิ่มเติมเพื่อสร้างเครื่องมือตามข้อกำหนดของเกม 10551.02 122097
10552 พัฒนาและแก้ไขเครื่องมือเพื่อใช้งานจริง 1. พัฒนาเครื่องมือเพื่อใช้ใน Production Pipeline 10552.01 122098
10552 พัฒนาและแก้ไขเครื่องมือเพื่อใช้งานจริง 2. แก้ไขเครื่องมือที่มีอยู่แล้วเพื่อใช้ใน Production Pipeline 10552.02 122099

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ความรู้และทักษะเกี่ยวกับการออกแบบศิลปะเกมในแขนงต่างๆ ในภาพรวม รวมถึงความรู้ด้านการพัฒนาโปรแกรมเกมและความรู้การการใช้เกมเอนจิน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  2. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

  3. ทักษะศึกษาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มเติมเพื่อสร้างเครื่องมือที่เหมาะสม

  4. ทักษะการสร้างเครื่องมือเพิ่มเติมให้เกมเอนจิน

  5. ทักษะการแก้ไขเรื่องมือของเกมเอนจินให้ดีขึ้น

  6. ทักษะหาจุดบกพร่องของเครื่องมือของเกมเอนจิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบศิลปะเกมในแขนงต่างๆ ในภาพรวม

  2. ความรู้ด้านฟิสิกส์ เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนไหว

  3. ความรู้เกี่ยวการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมให้เกมเอนจิน

  4. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเกมเอนจินที่เกี่ยวข้องอาทิ Unity Unreal Engine เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน  




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะการการพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไขเครื่องมือที่ชในเกมเอนจินในการโดยการเขียนโปรแกรมเพิ่มเติมซึ่งสามารถใช่ได้หลายภาษาเช่นขึ้นอยู่กับเกมเอนจินที่เลือกใช้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เกมเอนจิน (Game Engine) หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สร้างวีดีโอเกม ซึ่งโปรแกรมเหล่านี้ถูกเขียนขึ้นมาจากภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ อาทิ C, C++, JAVA เป็นต้น เกมเอนจินเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือใช้สร้างชิ้นส่วนต่างๆ ของระบบเกม ชิ้นส่วนเหล่านี้ จะถูกนำไปประกอบเข้าด้วยกัน และถูกทดสอบว่าสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างไม่มีปัญหา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ถูกกำหนดไว้ เป็นกระบวนการในการสร้างเกมให้ออกมาสมบูรณ์ นักพัฒนาเกมจำนวนมากใช้เกมเอนจินในการสร้างเกมสำหรับเครื่องเล่น มือถือ ตลอดจนคอมพิวเตอร์พกพาการทำงานของเกมเอนจิน ประกอบด้วย การเรนเดอร์กราฟิก 2 มิติ 3 มิติ การตรวจสอบการชนระบบเสียง ภาษาสคริปต์ แอนิเมชัน ปัญญาประดิษฐ์ ระบบเน็ตเวิร์ค การสตรีม การจัดการหน่วยความจำ การรองรับภาษาที่แปล ตลอดจนระบบอื่นๆ อีกมากมาย

  2. พัฒนาเครื่องมือ  หมายถึง การสร้างเครื่องมือเพิ่มเติมให้เกมเอนจินเพื่อให้นักออกแบบศิลปะเกมสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เช่น การสร้างเครื่องมือเพื่อให้เกิดเอฟเฟคประกายไฟแบบที่ยังไม่เคยมีมาก่อน หรือ รวบรวมกระบวนการหลายขั้นตอนที่นักออกแบบศิลปะเกมต้องทำเป็นประจำให้รวมไว้ในเครื่องมือเดียวหรือสามารถเรียกใช้เพียงกระบวนการเดียวก็สามารถทำได้

  3. Production Pipeline หมายถึง กระบวนการผลิต หรือสายการผลิตเกมตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ