หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างภาพเคลื่อนไหวสำหรับ Game User Interface

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---5-006ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างภาพเคลื่อนไหวสำหรับ Game User Interface

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบศิลปะเกม (ภาพเคลื่อนไหว)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถวิเคราะห์และสร้างภาพเคลื่อนไหวสำหรับ Game User Interface สำหรับเกมได้ เข้าใจเกี่ยวกับ UX และ UI สำหรับเกมหลากหลาย Platform รู้จัก Aspect Ratio ของสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงอธิบายในองค์ประกอบศิลป์ที่นำมาประยุกต์กับการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้กับ Game User Interface และประยุกต์ใช้เทคนิคหรือเครื่องมือที่เหมาะสมในการสร้างส่วนประสานต่อผู้ใช้งานในเกมได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบศิลปะเกม ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบภาพเคลื่อนไหว เช่น นักสร้างสรรค์ภาพ 2มิติ หรือ 3 มิติ (2D/3D Artist) นักติดตั้งกระดูก (Rigger) และนักสร้างสรรค์ภาพเคลื่อนไหว (2D/3D Animator) หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10431 วิเคราะห์การสร้าง Animation ให้กับส่วนประสานต่อผู้ใช้งาน (User Interface) 1. ระบุเกี่ยวกับ UX หรือ UI สำหรับเกมหลากหลายแพลตฟอร์ม( Platform) 10431.01 122072
10431 วิเคราะห์การสร้าง Animation ให้กับส่วนประสานต่อผู้ใช้งาน (User Interface) 2. ระบุอัตราส่วนของภาพในสื่อ อุปกรณ์ต่างๆ (Aspect Ratio on Devices) 10431.02 122073
10431 วิเคราะห์การสร้าง Animation ให้กับส่วนประสานต่อผู้ใช้งาน (User Interface) 3. ระบุองค์ประกอบศิลป์ที่นำมาประยุกต์กับการสร้างภาพเคลื่อนไหวให้กับ Game User Interface 10431.03 122074
10432 สร้าง Animation ให้ กับ Game User Interface 1. จัดทำภาพเคลื่อนไหวให้กับส่วนประสานต่อกับผู้ใช้ 10432.01 122075
10432 สร้าง Animation ให้ กับ Game User Interface 2. ระบุเกี่ยวกับ Value ต่างๆ ที่ใช้กำหนด Animation ของ Game User Interface 10432.02 122076
10432 สร้าง Animation ให้ กับ Game User Interface 3. ประยุกต์ใช้เทคนิคและเครื่องมือที่ถูกต้องในการสร้างส่วนประสานต่อผู้ใช้งานในเกมได้ 10432.03 122077

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ความรู้และทักษะการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animate) 2 มิติ หรือ 3 มิติ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animate)

  2. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  3. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการทำแอนิเมชัน

  2. ความรู้เกี่ยวกับภาพหลัก (Key framing) และภาพเติมเต็มการเคลื่อนไหว (In-between)

  3. ความรู้เกี่ยวกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว

  4. ความรู้เกี่ยวกับหลักฟิสิกส์

  5. ความรู้เกี่ยวกับเฟรมเรต (Frame rate)

  6. ความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนของภาพในสื่ออุปกรณ์ต่างๆ

  7. ความรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (UX) หรือส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ (UI)

  8. ความรู้เกี่ยวกับการเรนเดอร์ (Rendering)

  9. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างภาพเคลื่อนไหว (Animate)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน  




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงทักษะความเข้าใจในทฤษฎีต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับส่วนประสานต่อผู้ใช้งาน (User Interface) เช่น ทฤษฎีการสร้างและใช้ภาพเคลื่อนไหวในการสื่อสาร ทฤษฎีของสี องค์ประกอบศิลป์ โดยเป็นการออกแบบที่คำนึงถึงแนวคิดของเกม และรูปแบบการใช้งานของกลุ่มผู้เล่นเป้าหมาย รวมถึงความเข้าใจในจุดเด่นและข้อจำกัดทางด้านการแสดงผลของอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ต่างๆ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ส่วนต่อประสานกับผู้ใช้  (user interface หรือ UI) หมายถึง สิ่งที่มีไว้ให้ผู้ใช้งานใช้โต้ตอบกับเกม เช่น การควบคุมเมาส์ หรือแป้นพิมพ์ เพื่อให้สิ่งที่อยู่ในเกมนั้นทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ และต้องให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานในเกมนั้นได้อย่างชัดเจนและรวดเร็ว เช่น ปุ่มกดเดิน หรือวิ่งในเกม ปุ่มทางลัด การตั้งค่าของเกม หน้าจอการโหลดเกม เป็นต้น

  2. ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User experience หรือ UX) หมายถึง ประสบการณ์การสร้างปฏิสัมพันธ์ของผู้ใช้งาน (User) ที่ได้รับจากการโต้ตอบของเกม การเข้าถึงของผู้ใช้งานที่ง่ายและให้ความสนุกสนาน

  3. ประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงาน หมายถึง การเลือกใช้เครื่องมือที่ช่วยในการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม และถูกต้อง ทั้งในส่วนของการออกแบบ การลงสี หรือการใส่เอฟเฟกต์ต่างๆ โดยต้องคำนึงถึงโจทย์หรือแนวคิดที่ได้รับ รวมถึงรูปแบบของงานที่จะนำส่งต่อในส่วนงานอื่นๆ ได้อย่างสมบูรณ์

  4. สื่ออุปกรณ์ต่างๆ หมายถึง สื่อรูปภาพหรือวิดีโอแสดงผลผ่านอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับเกม เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นเกมขนาดพกพา (Handheld Console) หรือจอคอมพิวเตอร์

  5. แพลตฟอร์ม (Platform) หมายถึง ระบบที่รองรับการขายของเกมมีได้หลากหลายทั้งบน มือถือ เว็บไซด์ เกมคอนโซล และ คอมพิวเตอร์ เช่น App Store หรือ Xbox เป็นต้น

  6. องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง การนำสิ่งต่างๆ มาบูรณาการเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดผลงานที่มีความเหมาะสม และความงดงาม น่าสนใจ โดยคำนึงถึง รูปแบบที่สร้างสรรค์ ความงามที่น่าสนใจ สัมพันธ์กับประโยชน์ใช้สอย และสอดคล้องกับการผลิตหรือโจทย์ที่ได้รับ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ