หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ออกแบบวัตถุประกอบฉากในเกม (Game Props Concept Art)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT---5-006ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ออกแบบวัตถุประกอบฉากในเกม (Game Props Concept Art)

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักออกแบบศิลปะเกม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          บุคคลที่ผ่านสมรรถนะนี้ต้องเป็นผู้ที่สามารถออกแบบวัตถุประกอบฉากในเกม สามารถวิเคราะห์กระบวนการพัฒนาและการออกแบบวาดภาพ พร้อมลงสีวัตถุประกอบฉากในเกมได้สอดคล้องกับแนวคิดหรือโจทย์ของเกมที่ได้รับ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          นักออกแบบศิลปะเกม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10181 พัฒนาแนวคิดวัตถุประกอบฉากในเกม 1. วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาวัตถุประกอบฉากในเกม 10181.01 122013
10181 พัฒนาแนวคิดวัตถุประกอบฉากในเกม 2. จัดทำภาพร่างวัตถุประกอบฉากสอดคล้องแนวคิดของเกมที่ได้รับมอบหมาย 10181.02 122014
10182 ออกแบบและวาดวัตถุประกอบฉากในเกม 1. ออกแบบและจัดทำภาพวัตถุประกอบฉากในเกม 10182.01 122011
10182 ออกแบบและวาดวัตถุประกอบฉากในเกม 2. ลงสีภาพวัตถุประกอบฉากในเกม 10182.02 122012

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

          ความรู้และทักษะการวาดภาพ รวมถึงความรู้ในการวิเคราะห์กระบวนการพัฒนางานออกแบบและลงสีวัตถุประกอบฉาก


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการวาดภาพ 2 มิติ แบบวาดมือหรือด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  2. ทักษะการลงสี

  3. ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูล

  4. ทักษะความคิดสร้างสรรค์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบวัตถุประกอบฉาก

  2. ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์

  3. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้สี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะความรู้ที่ต้องการ (Required Skill and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบบันทึกผลการทดสอบภาคปฏิบัติ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลการสอบแบบทดสอบปรนัย



(ค) คำแนะนำในการประเมิน




  1. เจ้าหน้าที่สอบตรวจประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานด้านปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน  




  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆ หรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้หรือข้อกำหนดอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ




  1. ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงการออกแบบวัตถุประกอบฉากเป็นหลัก พร้อมทั้งวิเคราะห์กระบวนการออกแบบและลงสีได้อย่างสอดคล้องกับแนวทางหรือโจทย์ของเกมที่ได้รับ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. วัตถุประกอบฉาก (Prop) หมายถึง ชิ้นส่วนที่ปรากฏอยู่ในฉากทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เป็นชิ้นแยกหรือจัดกลุ่ม (Prop Set) ประกอบอยู่ในฉากของเกมที่สอดคล้องกับแนวคิดหรือโจทย์ของเกมที่ได้รับ เช่น แนวเกมต่อสู้ยุคโรมัน วัตถุประกอบฉากจะประกอบด้วย รถถัง ระเบิด  ต้นหญ้า ต้นไม้ บ้านเรือน ตึก หรืออื่นๆ ที่แสดงให้เห็นในยุคโรมันเป็นต้น

  2. ทัศนียภาพ หมายถึง ส่วนประกอบอย่างหนึ่งที่ทำให้ภาพมีมิติระยะใกล้และไกลในภาพ แสดงถึงเส้นที่มีความกว้าง ความยาว และความลึก เพื่อแสดงให้เห็นว่าวัตถุมีขนาดที่เท่ากันหรือต่างกัน เช่นเสาไฟฟ้าที่อยู่ใกล้จะขนาดใหญ่กว่าที่อยู่ไกลตา เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. แบบทดสอบปรนัย

  2. แบบทดสอบภาคปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ