หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SOL-2-008ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้ตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



ISCO-08   3131 ช่างเทคนิคควบคุมเครื่องจักรโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์



3123 หัวหน้าช่างไฟฟ้า

3113 ช่างเทคนิคด้านวิศวกรรมไฟฟ้า    

3113 ช่างเทคนิคไฟฟ้า    

3113 นักประเมินราคาวิศวกรรมไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน ประกอบด้วย ปฏิบัติงานบนที่สูงด้วยความปลอดภัย ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย โดยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล (PPE) ก่อนการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงานด้วยความระวัง รู้ถึงสาเหตุและอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการปฏิบัติงาน และสามารถวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) การเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ รวมถึงการระงับเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากไฟฟ้าช๊อต/ไหม้ ในขณะปฏิบัติงาน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1.  กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยฯ เกี่ยวกับ  การป้องกันและระงับอัคคีภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 25612. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 25583. ฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 25514. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้าง ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน5. ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กําหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 25546. ความปลอดภัยในการผลิตและการใชพลังงานแสงอาทิตยที่ติดตั้งบนหลังคา (Solar PV Rooftop Safety): กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน7. มาตรฐานการจัดการความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง (มปอ.101:2561)8. มาตรฐานการยกและเคลื่อนย้ายวัสดุด้วยแรงกายตามหลักการยศาสตร์ (มปอ.302:2561)9. มาตรฐานระบบการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.401:2561)10. มาตรฐานการประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (มปอ.402:2561)11. มาตรฐานของอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล กระทรวงแรงงาน

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV22011 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง

1.1  เลือกใช้อุปกรณ์และสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูงที่มีมาตรฐาน

PV22011.01 147831
PV22011 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง

1.2 บ่งชี้สาเหตุ/อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานบนที่สูงเพื่อควบคุมความเสี่ยงในการปฏิบัติงานบนที่สูงไม่ให้เกิด

PV22011.02 147832
PV22011 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง

1.3 ประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานบนที่สูงก่อนการปฏิบัติงาน

PV22011.03 147833
PV22011 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง

1.4  อ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานบนที่สูง

PV22011.04 147834
PV22011 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง

1.5 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานบนที่สูงระหว่างปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้า

PV22011.05 147835
PV22012 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2.1 เลือกใช้อุปกรณ์และสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

PV22012.01 147836
PV22012 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2.2 บ่งชี้สาเหตุ/อุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน/ข้อควรระวัง

PV22012.02 147837
PV22012 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2.3 ประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

PV22012.03 147838
PV22012 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2.4 อ่านสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

PV22012.04 147839
PV22012 ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

2.5 ปฐมพยาบาลเบื้องต้นผู้ได้รับอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าในระหว่างการปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้า

PV22012.05 147840
PV22013 ป้องกันและระงับเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในขณะปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3.1 ระบุสาเหตุและวิธีป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจเกิดกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

PV22013.01 147841
PV22013 ป้องกันและระงับเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในขณะปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3.2  วางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) การเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

จัดการหากเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากไฟฟ้าช๊อต/ไหม้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

PV22013.02 147842

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลในการปฏิบัติงาน (PPE)



2. ทักษะการคิดวิเคราะห์และวางแผนงาน



3. ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า



4. ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้น



5. ทักษะการปฏิบัติงานบนที่สูง



6. ทักษะการปฏิบัติงานด้านไฟฟ้า



7. ทักษะการระงับเหตุ และรองรับภาวะฉุกเฉินที่เกิดจากอัคคีภัย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลให้เหมาะกับงาน

  2. ความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติงานบนที่สูงและในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวของกับไฟฟ้า

  3. ความรู้เกี่ยวกับป้ายสัญลักษณ์

  4. ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ที่ประสบอุบัติเหตุตกจากที่สูง

  5. ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลผู้ที่ประสบอุบัติเหตุที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

  6. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจเกิดกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

  7. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

  8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้งานอุปกรณ์ดับเพลิง

  9. ความรู้ในการอพยพและช่วยเหลือตนเองในกรณีเกิดอัคคีภัย


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม หรือ

  3. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ

  4. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. หลักฐานการศึกษา หรือ

  3. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม หรือ

  4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ

  5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือ

  6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน



(ค) คำแนะนำในการประเมิน 



           ผู้ประเมินตรวจประเมินการปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน ประกอบด้วย ปฏิบัติงานบนที่สูง ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า และการป้องกันและระงับเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในขณะปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

การปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ได้อย่างถูกต้องตามหลักความปลอดภัยพื้นฐาน ประกอบด้วย




  • การปฏิบัติงานบนที่สูง คือ การทำงานสูงจากพื้นที่ที่ปฏิบัติงานเกินสองเมตรขึ้นไป ซึ่งต้องเลือกใช้และสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยที่มีมาตรฐาน ประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานบนที่สูงและควบคุมความเสี่ยง เข้าใจสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานบนที่สูงได้

  • การปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า คือ การเลือกใช้และสวมอุปกรณ์ป้องกันภัยที่มีมาตรฐาน ประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้าและควบคุมความเสี่ยง เข้าใจสัญลักษณ์ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า และสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าได้

  • การป้องกันและระงับเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในขณะปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษา ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ คือ การระบุสาเหตุและวิธีป้องกันการเกิดอัคคีภัยที่อาจเกิดกับระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ การวางแผนบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance) การเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ และการจัดการหากเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากไฟฟ้าช๊อต/ไหม้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



 (ก) คำแนะนำ



           ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับข้อปฏิบัติด้านความปลอดภัย ประกอบด้วย ความปลอดภัยส่วนบุคคล และความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เช่น สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันภัยที่เหมาะสมกับลักษณะการทำงาน ปฐมพยาบาลเบื้องต้นตามลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ วางแผนเพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย รวมทั้งการจัดการหากเกิดอัคคีภัยที่มีสาเหตุมาจากไฟฟ้าช๊อต/ไหม้ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การประเมินความเสี่ยง



การประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานบนที่สูง สำหรับการทำงานบนที่สูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป พิจารณาจาก




  • โอกาสของการตกของบุคคล และ/หรือ สิ่งของที่จะเกิดขึ้น  

  • ความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับบุคคล และ/หรือ ความเสียหายของทรัพย์สิน



การประเมินความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า พิจารณาจาก  




  • ชนิดและสภาพอุปกรณ์ทางไฟฟ้าที่เชื่อมต่อระบบ

  • ความรุนแรงของการบาดเจ็บที่เกี่ยวกับบุคคล และ/หรือ ความเสียหายของทรัพย์สิน



การประเมินความเสี่ยงจะทำให้ทราบถึงระดับความเสี่ยง นำไปสู่การจัดลำดับความสำคัญของการขจัดหรือควบคุมความเสี่ยงนั้น การประเมินความเสี่ยงจะมีประสิทธิผลสูงสุดขึ้นอยู่กับข้อมูลมีความถูกต้องสมบูรณ์ ครบถ้วนเพียงใด




  1. การปฐมพยาบาลเบื้องต้น



- การเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานบนที่สูง



        ไม่ควรขยับผู้บาดเจ็บโดยเด็ดขาด หากไม่ได้ผ่านการฝึกอบรมในการปฐมพยาบาลผู้บาดเจ็บ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อผู้บาดเจ็บได้ การขยับตัวผู้บาดเจ็บอย่างไม่ถูกวิธี มีโอกาสทำให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำได้ ในเบื้องต้นให้หาข้อมูลสาเหตุของการตกจากที่สูง เพื่อประเมินและสังเกตอาการประกอบการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างถูกต้อง



- การเกิดอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า



          ให้ผู้ที่จะเข้าไปช่วยเหลือป้องกันตัวเอง ก่อนเคลื่อนย้ายผู้ถูกไฟฟ้าดูดหรือช๊อตออกมา เพื่อทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และส่งต่อไปยังโรงพยาบาล


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A -

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A -

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูง



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



18.2 เครื่องมือประเมิน ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



18.3 เครื่องมือประเมิน ป้องกันและระงับเหตุกรณีเกิดอัคคีภัยในขณะปฏิบัติงานติดตั้ง ซ่อม และบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น ปรนัย 4 ตัวเลือก



2) การสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติมไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



 



ยินดีต้อนรับ