หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินประสิทธิผลและศักยภาพของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-SOL-5-006ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินประสิทธิผลและศักยภาพของระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ปฏิบัติงานด้านการออกแบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ระดับ 5



ISCO-08               2151 วิศวกรไฟฟ้า  



                             2151 วิศวกรไฟฟ้าและงานระบบ



                             2151 เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณภาพงานระบบไฟฟ้า



                             2151 วิศวกรไฟฟ้าระบบส่งและจ่ายพลังงาน


1 2151 วิศวกรไฟฟ้า

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้ สามารถประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง โดยการประเมินประสิทธิผลการรับรังสีแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ติดตั้งและประเมินการบังแสงอาทิตย์ สามารถประเมินศักยภาพของระบบ โดยการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า และสรุปผลการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
10.1 กฎหมายที่เกี่ยวข้อง      1) กระทรวงมหาดไทย- พระราชบัญญัติการผังเมือง- พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร- อื่น ๆ       2) กระทรวงอุตสาหกรรม- พระราชบัญญัติกรมโรงงาน- อื่น ๆ      3) กระทรวงพลังงาน- พระราชบัญญัติการพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน- พระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน- อื่น ๆ     4) พระราชบัญญัติวิศวกร10.2 ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP)       1) ประมวลหลักการปฏิบัติ (Code of Practice: CoP) มาตรการป้องกัน แก้ไข และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม สำหรับผู้ประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ จากเทคโนโลยีแผงโฟโตโวลเทอิก ที่เข้าข่ายต้องได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการผลิตไฟฟ้า10.3 ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ระเบียบการไฟฟ้านครหลวงว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ขออนุญาตเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าด้วยข้อกำหนดการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
PV21021 ประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง

1.1 ประเมินประสิทธิผลการรับรังสีแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ติดตั้ง

PV21021.01 147782
PV21021 ประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง

1.2 ประเมินการบังแสงอาทิตย์

PV21021.02 147783
PV21022 ประเมินศักยภาพของระบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.1 ประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า

PV21022.01 147784
PV21022 ประเมินศักยภาพของระบบระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์

2.2 สรุปผลการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า

PV21022.02 147785

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะด้านวิศวกรรมโยธา




  1. การวิเคราะห์องค์ประกอบของโครงสร้างโดยรวมแต่ละแบบ เช่น ประเมินองค์ประกอบของดิน

  2. การประเมินพื้นที่ในการติดตั้ง



2. ทักษะด้านวิศวกรรมไฟฟ้า




  1. การประเมินศักยภาพในการใช้พลังงานแสงอาทิตย์



3. การวิเคราะห์ผลที่ได้จากการประเมิน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1.  



1. ความรู้ด้านวิศวกรรมโยธา



     1.1 องค์ประกอบของโครงสร้างโดยรวมแต่ละแบบ



2. ความรู้ด้านวิศวกรรมไฟฟ้า



     2.1 พื้นที่ที่มีการรองรับการเชื่อมต่อจากการไฟฟ้า (กฟผ. กฟภ. หรือ กฟน.)



3. ความรู้เกี่ยวกับระบบเซลล์แสงอาทิตย์



     3.1ศักยภาพพลังงานแสงอาทิตย์ของประเทศไทย



     3.2 ปัจจัยที่มีผลต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์



4. มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง



    4.1 มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ระบบเซลล์แสงอาทิตย์-ลักษณะของการเชื่อมต่อระบบจำหน่ายไฟฟ้า มอก. 2606-2557 หรือ IEC 61727


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



2. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม หรือ



3. แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน หรือ



4. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ



2. หลักฐานการศึกษา หรือ



3. ใบรับรองหรือหลักฐานการผ่านการฝึกอบรม หรือ



4. แบบบันทึกผลการสัมภาษณ์ หรือ



5. แบบบันทึกผลการสอบข้อเขียน หรือ



6. แบบรวบรวม/แฟ้มสะสมผลงานการปฏิบัติงาน (Portfolio)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



           ผู้ตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินประสิทธิผลและศักยภาพของระบบผลิตไฟฟ้า โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานด้านความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

- ประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง โดยการประเมินประสิทธิผลการรับรังสีแสงอาทิตย์ตามพื้นที่ติดตั้งและประเมินการบังแสงอาทิตย์



- ประเมินศักยภาพของระบบ โดยการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า และสรุปผลการประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า



(ก) คำแนะนำ



1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องทราบความต้องการของลูกค้า และประเมินสถานที่ติดตั้ง เพื่อนำมาประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. การประเมินศักยภาพการผลิตไฟฟ้า คือ ประเมินการรับรังสีและการบังแสงอาทิตย์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน ประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การประเมินประสิทธิผลการติดตั้ง



        18.2 เครื่องมือประเมิน ประเมินศักยภาพของระบบ



1) ข้อเขียนแบบปรนัย เช่น การประเมินศักยภาพของระบบ



หมายเหตุ : หากผู้เข้ารับการทดสอบยื่นแฟ้มสะสมผลงานประกอบการทดสอบ จะได้รับคะแนนเพิ่มเติม      ไม่เกินร้อยละ 5 โดยคะแนนรวมทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100



 



ยินดีต้อนรับ