หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

สาขาวิชาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ GPW-EME-7-006ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สนับสนุนส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2562

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้รับผิดชอบด้านพลังงานสามัญ



ISCO-08  2133 เจ้าหน้าที่ข้อมูลและประสานงานด้านอนุรักษ์พลังงาน 2133 นักวิชาการพลังงานปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้สามารถจัดการพลังงานได้ตามกฎกระทรวง มีทักษะการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน กำกับดูแลการจัดการพลังงานให้เป็นไปตามแผนอนุรักษ์ รวมทั้งการจัดทำแผนฝึกอบรม สื่อสาร ถ่ายทอด และสร้างจิตสำนึกให้เกิดการอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร ติดตามและถ่ายทอดเทคโนโลยีอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพพลังงานและพลังงานทดแทน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ผู้จัดการด้านพลังงานในอาคาร ผู้จัดการด้านพลังงานในโรงงาน ผู้รับผิดชอบพลังงานอาวุโสด้านไฟฟ้า ผู้รับผิดชอบพลังงานอาวุโสด้านความร้อน ผู้ให้คำปรึกษาด้านการจัดการพลังงาน

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม กฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
11011 จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน 1. จัดเตรียมข้อมูลในแบบส่งข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามข้อกำหนด 11011.01 61316
11011 จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน 2. จัดทำรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามข้อกำหนด 11011.02 61317
11011 จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

3. จัดทำรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามข้อกำหนด

11011.03 147944
11012 ตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร

1.  กำกับและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์พลังงาน

11012.01 61318
11012 ตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร

2. ตรวจติดตามผลการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างถูกต้องตามแผนการอนุรักษ์พลังงาน

11012.02 61319
11012 ตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร

3. ตรวจติดตามผลการดำเนินแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงาน

11012.03 61320
11012 ตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร

4. ตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างถูกต้องตามแผนการอนุรักษ์พลังงานและข้อกำหนด

11012.04 147945
11013 สื่อสาร ถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน

1.จัดทำแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร

11013.01 61321
11013 สื่อสาร ถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน

2. ประชาสัมพันธ์ข้อมูลพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานอย่างครบถ้วน

11013.02 61322
11013 สื่อสาร ถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน

3. ประชาสัมพันธ์ผลการอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กรได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง

11013.03 61323
11013 สื่อสาร ถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน

4. ติดตามเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานอย่างสม่ำเสมอ

11013.04 147946
11013 สื่อสาร ถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน

5.ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานได้อย่างถูกต้อง

11013.05 147947

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

-N/A-


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

มีความสามารถในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้




  1. คการวางแผนการอนุรักษ์ภายในองค์กร

  2. การวางแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมที่ส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร

  3. การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน

  4. การตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร

  5. การติดตามข่าวสารเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน

  6. การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความรู้ความเข้าใจในรายละเอียดดังต่อไปนี้




  1. พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและกฏหมายที่เกี่ยวข้อง

  2. การจัดทำและตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงาน

  3. การจัดทำเป้าหมายการอนุรักษ์พลังงาน

  4. เทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงาน

  5. การสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะใช้ในการพิจารณาประกอบร่วมกันกับการประเมินตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รวมทั้งทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



 (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. เอกสารรับรองผลการประเมินจากการปฏิบัติงานจริง หรือ

  3. เอกสารสำเนารายงานการจัดการพลังงาน หรือ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. หลักฐานการศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือ

  2. เอกสารผ่านการอบรมเกี่ยวกับการรับผิดชอบด้านพลังงาน หรือ

  3. เอกสารรับรองจากกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



ในการประเมินเกี่ยวกับการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน ตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร และการสื่อสารถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน จะพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องที่ผู้เข้ารับการประเมินเตรียมมา ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้ ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการประเมินต้องเตรียมหลักฐานดังกล่าวมาพร้อมในวันที่เข้ารับการประเมินเพื่อให้ผู้ประเมินพิจารณา



 (ง) วิธีการประเมิน



ผู้ประเมินทำการประเมินหน่วยสมรรถนะโดย




  1. พิจารณาจากหลักฐานความรู้

  2. พิจารณาจากหลักฐานการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

      ขอบเขตของการประเมินสมรรถนะในหน่วยสมรรถนะนี้ ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างถูกต้อง และมีรายละเอียดครบถ้วน ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องนำแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) ที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร และการสื่อสารถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน มาในวันที่ทำการประเมินเพิ่อให้ผู้ประเมินสัมภาษณ์ โดยมีรายละเอียดที่ต้องเตรียมแสดงใน ข้อ 18



     (ก) คำแนะนำ



ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องปฏิบัติการจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน การตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร และการสื่อสารถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน



     (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. การจัดทำรายงานการจัดการพลังงาน ดำเนินการจัดเตรียมข้อมูลที่ใช้ในรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างครบถ้วน โดยประกอบด้วย ข้อมูลการใช้พลังงานและพลังงานแทน ข้อมูลเครื่องจักรและอุปกรณ์ ข้อมูลการผลิต/การบริการ ฯลฯ ดำเนินจัดทำเป้าหมายและแผนการอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กร โดยนำข้อมูลการใช้พลังงาน ข้อมูลเครื่องจักรและอุปกรณ์ ข้อมูลการผลิต/การบริการ มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดเป้าหมายและมาตรการอนุรักษ์พลังงาน พร้อมทั้งจัดทำรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องตามข้อกำหนด



2. การตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร กำกับและติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนการอนุรักษ์พลังงานที่กำหนดไว้ และตรวจติดตามผลการอนุรักษ์พลังงานและผลการฝึกอบรมและกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานได้อย่างถูกต้องตามแผนการอนุรักษ์พลังงานและข้อกำหนด พร้อมทั้งตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงานได้อย่างถูกต้องตามแผนการอนุรักษ์พลังงานและข้อกำหนด



3. สื่อสารถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน จัดทำแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์พลังงานเพื่อสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรภายในองค์กร ดำเนินการประชาสัมพันธ์ข้อมูลพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและผลการอนุรักษ์พลังงานภายในองค์กรได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง ติดตามเทคโนโลยีการอนุรักษ์พลังงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในองค์กร และสามารถถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานให้บุคลากรในองค์กรได้อย่างถูกต้อง


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมิน จัดทำรายงานการจัดการพลังงาน




  1. การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 

  2. แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย           รายละเอีดยดรายงานการจัดการพลังานและสรุปมาตรการที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ สภาพเดิมก่อนการดำเนินมาตรการ แนวคิดในการวิเคราะห์ การตรวจวัดด้านที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ เปรียบเทียบผลการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านต่างๆ แสดงรายการคำนวณ ผลการติดตั้ง ตรวจวัดและผลหลังจากดำเนินมาตรการ



18.2 เครื่องมือประเมิน ตรวจติดตามการจัดการพลังงานภายในองค์กร




  1. การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

  2. แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย           รายละเอียดรายงานการจัดการพลังาน และสรุปมาตรการที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ สภาพเดิมก่อนการดำเนินมาตรการ แนวคิดในการวิเคราะห์ การตรวจวัดด้านที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ เปรียบเทียบผลการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านต่างๆ แสดงรายการคำนวณ ผลการติดตั้ง ตรวจวัดและผลหลังจากดำเนินมาตรการ



18.3 เครื่องมือประเมิน สื่อสารถ่ายทอดและสร้างจิตสำนึกการอนุรักษ์พลังงาน




  1. การสัมภาษณ์จากแฟ้มสะสมผลงาน เนื้อหาการสัมภาษณ์ประกอบด้วย ประวัติการทำงาน ผลงาน หน้าที่ความรับผิดชอบ ปัญหาอุปสรรคและแนวการแก้ไข ความรู้ทางเทคโนโลยีและการนำไปประยุกต์ใช้ ความรู้ด้านกฏหมายและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น 

  2. แฟ้มสะสมผลงาน พิจารณาจากผลงานที่ผ่านของผู้เข้ารับการะประเมิน ประกอบด้วย           รายละเอีดยดรายงานการจัดการพลังานและสรุปมาตรการที่ผ่านมาโดยมีเนื้อหาสรุปดังนี้ สภาพเดิมก่อนการดำเนินมาตรการ แนวคิดในการวิเคราะห์ การตรวจวัดด้านที่เกี่ยวข้องกับมาตรการ เปรียบเทียบผลการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์ และผลกระทบด้านต่างๆ แสดงรายการคำนวณ ผลการติดตั้ง ตรวจวัดและผลหลังจากดำเนินมาตรการ



 



ยินดีต้อนรับ