หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM---4-006ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349     -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม



ISCO 2133     -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม



-นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



-นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม



-ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม



ISCO 2143    -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม



                      -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถ ทบทวนและยืนยันข้อมูลที่ต้องมีในรายงานผลการวัดเสียง/สั่นสะเทือน ระบุความเสี่ยงของการทำงาน และกำหนดแนวทางด้านความปลอดภัยสำหรับการทำงานในภาคสนาม และเก็บรักษาแฟ้มข้อมูลและกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านเสียงและความสั่นสะเทือน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25512. ข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่าด้วยการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม สาขาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านวิทยาศาสตร์และการควบคุมมลพิษ พ.ศ. 2557พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พ.ศ. 25513. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 37 (พ.ศ. 2553) เรื่อง กำหนดมาตรฐานความสั่นสะเทือนเพื่อป้องกันผลกระทบต่ออาคาร4. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 29 (พ.ศ.2550) เรื่อง ค่าระดับเสียงรบกวน5. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากการทำเหมืองหิน และ ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้เหมืองหินเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษที่จะต้องถูกควบคุมระดับเสียงและความสั่นสะเทือน (พ.ศ.2553)6. ประกาศคณะกรรมสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ.2540) เรื่อง กำหนดมาตรฐานระดับเสียงโดยทั่วไป7. ประกาศคณะกรรมการควบคุมมลพิษ เรื่อง วิธีการตรวจวัดระดับเสียงพื้นฐาน ระดับเสียงขณะไม่มีการรบกวน การตรวจวัดและคำนวณระดับเสียงขณะมีการรบกวน การคำนวณค่าระดับการบกวน และแบบบันทึกการตรวจวัดเสียงรบกวน (พ.ศ.2550)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM124.01 วางแผนการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

1. วางแผน ทบทวน และยืนยันแผนการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนเพื่อให้ได้ผลการวัดที่ถูกต้อง 

EM124.01.01 146881
EM124.01 วางแผนการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

2. วางแผน ทบทวนและยืนยันรายการเครื่องมือตรวจวัด อุปกรณ์เสริมและเอกสารบันทึกในการตรวจวัดเสียง/สั่นสะเทือนตามที่กำหนด

EM124.01.02 146882
EM124.02 ดูแลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

1. ทบทวนและยืนยันข้อมูลที่ต้องมีในรายงานผลการวัดเสียง/สั่นสะเทือน

EM124.02.01 146883
EM124.02 ดูแลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

2. ระบุความเสี่ยงของการทำงาน และกำหนดแนวทางด้านความปลอดภัยสำหรับการทำงานในภาคสนาม

EM124.02.02 146884
EM124.02 ดูแลการวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

3. ระบุความเสี่ยงของการเก็บรักษาแฟ้มข้อมูลและกำหนดแนวทางป้องกันและแก้ไข

EM124.02.03 146885

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ต้องมีความรู้ด้านฟิสิกส์ และอุตุนิยมวิทยา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. มีทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์เสริม สำหรับการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน เพื่อให้ได้ผลการวัดที่ถูกต้อง

  2. มีทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ ประเมินข้อมูลการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน  หาแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่ศึกษาได้

  3. มีทักษะด้านความปลอดภัย ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การจัดการของเสียที่เกิดจากการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนได้

  4. มีทักษะด้านการสื่อสารเชิงวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ติดต่อประสานงาน ระหว่างฝ่ายหรือแผนกที่ทำงานหรือต้องรับทราบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกัน สามารถแจ้งชื่อเครื่องมือตรวจวัด อุปกรณ์เสริม ศัพท์เฉพาะที่ใช้กับการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ให้ผู้ร่วมงานได้ถูกต้อง

  5. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องในการตรวจวัด  และเก็บรักษาข้อมูลจากการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือนได้ถูกต้อง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. หลักการด้านเสียง/ความสั่นสะเทือน

  2. หลักการและวิธีการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ตามวิธีมาตรฐาน

  3. หลักการและวิธีการใช้อุปกรณ์เสริมสำหรับการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน ตามวิธีมาตรฐาน

  4. หลักการจัดเก็บแฟ้มข้อมูลการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

  5. มาตรการด้านความปลอดภัยของการตรวจวัดเสียง/ความสั่นสะเทือน

  6. มีความรู้ด้านการประเมินผลกระทบหรือปัญหาเชิงวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงให้กระบวนการตรวจวัดมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

  7. มีความรู้ความสามารถด้านการใช้คอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมดำเนินการ เช่น .doc .xlsx และ .pptx และโปรแกรมเฉพาะด้าน เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  3. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับความรู้ ความเข้าใจด้านเสียง/สั่นสะเทือน หลักการ วิธีการ การตรวจวัด และการบันทึกผลการตรวจวัด โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

           ควบคุมดูแลการวัดเสียง/สั่นสะเทือน ในระดับคุณวุฒิที่ 4 เป็นงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องใช้ความคิด และการปฏิบัติงานในภาคสนามที่ครอบคลุมหลายขั้นตอนจนนำไปสู่ข้อสรุปและการตัดสินใจแก้ปัญหาเบื้องต้น ถือเป็นทักษะที่จำเป็นเพื่อควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานในระดับคุณวุฒิที่ 3 และเป็นประสบการณ์การทำงานที่สำคัญก่อนไปทำงานในระดับคุณวุฒิที่ 5 การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และวางแผนการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม



(ก) คำแนะนำ



      1.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับลำดับขั้นการตรวจวัดเสียง/สั่นสะเทือน การจัดเก็บข้อมูลสภาพแวดล้อม และบันทึกข้อมูล อันตราย ข้อผิดพลาด ข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการตรวจวัดเสียง/สั่นสะเทือน และมาตรการด้านความปลอดภัยของสถานที่ที่เก็บตัวอย่าง



      2.  ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการตรวจวัดเสียง/สั่นสะเทือน และข้อมูลสภาพแวดล้อม เพื่อให้ข้อมูลจากการตรวจวัด มีความถูกต้องแม่นยำ และเป็นไปตามวิธีมาตรฐาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การทบทวนและยืนยันแผนการวัด คือการทบทวนว่าวิธีการมาตรฐานในการตรวจวัดเสียง/สั่นสะเทือนว่าได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างถูกต้อง

  2. การทบทวนและยืนยันข้อมูล คือ การทบทวนว่าข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดเสียง/สั่นสะเทือนมีความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย วางแผนการตรวจวัด




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



      ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ควบคุมดูแลการตรวจวัดและการจัดเก็บแฟ้มข้อมูล




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)

  3. ข้อสอบสาธิตการปฏิบัติงาน



     ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ