หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM---5-005ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ISCO 1349      -หัวหน้าแผนกติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม



ISCO 2133      -เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม



-นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติการ/ชำนาญการ/ชำนาญการพิเศษ/เชี่ยวชาญ



-นักวิทยาศาสตร์ด้านวิจัยสิ่งแวดล้อม



-ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านสิ่งแวดล้อม



ISCO 2143      -นักวิเคราะห์สิ่งแวดล้อม



                        -ผู้เชี่ยวชาญ/ที่ปรึกษาด้านฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
            ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนโดยใช้ตัวชี้วัด และเกณฑ์การพิจารณาอย่างเหมาะสม สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนได้ พร้อมทั้งจัดทำรายงานสรุปผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพผู้ตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
-N/A-

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 เรื่องกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำในแหล่งน้ำผิวดิน วิธีการปฏิบัติ สำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำ, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ คู่มือการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างน้ำทะเล, สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ คู่มือการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำบาดาล, กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
EM107.01 รวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การตรวจวัด

1. รวบรวมและตรวจสอบข้อมูลหรือผลการตรวจวัด 

EM107.01.01 146761
EM107.01 รวบรวมและตรวจสอบข้อมูล การตรวจวัด

2.วิเคราะห์หาสาเหตุแห่งความผิดปกติของข้อมูลและรายงานให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 

EM107.01.02 146762
EM107.02 ประเมินผลและจัดทำรายงานตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

1. ระบุตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง

EM107.02.01 146763
EM107.02 ประเมินผลและจัดทำรายงานตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

2.ใช้เกณฑ์ประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำดินและดินตะกอนตามที่กำหนด

EM107.02.02 146764
EM107.02 ประเมินผลและจัดทำรายงานตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

3. ระบุข้อสังเกตหรือความผิดปกติของผลและให้ข้อเสนอแนะเบื้องต้น

EM107.02.03 146765
EM107.02 ประเมินผลและจัดทำรายงานตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

4. อธิบายผลการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนได้อย่างถูกต้อง

EM107.02.04 146766
EM107.02 ประเมินผลและจัดทำรายงานตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

5.ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพ สิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

EM107.02.05 146767
EM107.02 ประเมินผลและจัดทำรายงานตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม

6. จัดทำรายงานสรุปผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

EM107.02.06 146768

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

มีความรู้ด้านมลพิษอากาศ และอุตุนิยมวิทยา


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะทางเทคนิคในการปฏิบัติงาน สามารถระบุตัวชี้วัดที่มีความสำคัญต่อพื้นที่หรือบริเวณใกล้เคียง ใช้เกณฑ์ประเมินการติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนตามที่กำหนด

  2. ทักษะในการวางแผนการบริหารจัดการในการทำงาน การปฏิบัติงานที่ซับซ้อน สามารถกำหนดกรอบการประเมินการติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน

  3. ทักษะการใช้ภาษาต่างประเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศในระดับสากล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. หลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษทางและการตรวจวัดมลพิษในน้ำ ดินและดินตะกอน

  2. หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด

  3. หลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม

  4. กฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. หลักฐานจากใบรับรอง ใบผ่านการอบรม



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินผลโดยใช้ตัวชี้วัด และเกณฑ์การพิจารณาอย่างเหมาะสม สรุปผลการประเมินและระบุข้อสังเกตที่ใช้เป็นแนวทางการกำหนดการติดตามตรวจสอบด้านคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน



1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน



2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้


15. ขอบเขต (Range Statement)

        การประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอนในระดับคุณวุฒิที่ 5 เป็นการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้ในองค์รวมด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษและการตรวจวัดมลพิษในน้ำ ดินและดินตะกอน เพื่อควบคุมและมีส่วนร่วมวางแผน บริหารจัดการ พัฒนาการเรียนรู้ทางวิชาการและการปฏิบัติงานที่ซับซ้อน และถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรในระดับคุณวุฒิที่ 3 และ 4  ได้




  • คำแนะนำ



1.   ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับความรู้ ความเข้าใจหลักพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ทางน้ำ ดินและดินตะกอน มลพิษและการตรวจวัดมลพิษในน้ำ ดินและดินตะกอน หลักการทำงานของเครื่องมือเก็บตัวอย่าง เครื่องมือตรวจวัด และหลักพื้นฐานด้านความปลอดภัยของการเก็บตัวอย่างและการตรวจวัดในภาคสนาม



2.   ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ข้อบังคับ ข้อแนะนำที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอน




  • คำอธิบายรายละเอียด

    1. การตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำและดิน หมายถึง การตรวจวัดคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนที่สะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย สังคม และสภาวะแวดล้อมจากแหล่งกำเนิดที่เกี่ยวข้อง

    2. ตัวชี้วัด หมายถึง ชนิดและปริมาณมลสารในน้ำ ดินและดินตะกอน ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดสถานการณ์ที่แสดงนัยสำคัญ การเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ ปัญหาความรุนแรง ในเรื่องหนึ่ง ๆ ในแต่ละช่วงเวลา และในแต่ละพื้นที่ ตัวชี้วัดสามารถสะท้อนแนวโน้มในอนาคต ตลอดจนอาจจะนำมาใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการหรือกิจกรรมในพื้นที่หนึ่ง ๆ

    3. เกณฑ์ประเมินผลคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านน้ำ ดินและดินตะกอน เป็นเกณฑ์การประเมินคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนโดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพน้ำ ดินและดินตะกอนที่ใช้อ้างอิงอย่างเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ กิจกรรมและแหล่งกำเนิดของมลสารทางน้ำ ดินและดินตะกอน




16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
-N/A-

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ระบุความผิดปกติของข้อมูล และวิเคราะห์หาสาเหตุ



- ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



- ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ประเมินผลการตรวจติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม



- ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



- ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดเพิ่มเติมจากคู่มือประเมิน



ยินดีต้อนรับ