หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในจุดเกิดเหตุ

สาขาวิชาชีพสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ EVM-IWM-4-099ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในจุดเกิดเหตุ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินด้านของเสียอุตสาหกรรม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ผู้ที่ผ่านหน่วยสมรรถนะนี้จะสามารถดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในบริเวณจุดเกิดเหตุได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
กลุ่มอาชีพการจัดการของเสียอุตสาหกรรม

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
05103.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น และการควบคุมการรั่วไหล 1. ระบุมาตรการในการควบคุมการรั่วไหลจากถังบรรจุสารเคมีและของเสียอันตรายแบบต่างๆและปฏิบัติได้ 05103.01.01 66121
05103.01 ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น และการควบคุมการรั่วไหล 2.บ่งชี้อันตราย ข้อผิดพลาดข้อควรระวังที่อาจจะเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินการตอบโต้ และดำเนินการลดความเสี่ยง 05103.01.02 66122
05103.02 สำรวจบริเวณจุดเกิดเหตุและตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) 1. ใช้เครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม 05103.02.01 66123
05103.02 สำรวจบริเวณจุดเกิดเหตุและตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) 2. วิเคราะห์ความเสี่ยงในระดับความเข้มข้นที่มีผลต่อสุขภาพในระดับที่เป็นอันตรายในทันที(Immediately Dangerous to Life or Health (IDLH) Concentrations)พร้อมบ่งชี้อันตรายและระบุมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงจากค่าที่ตรวจวัดได้ 05103.02.02 66124
05103.03 ดำเนินการเข้าระงับภัยในจุดเกิดเหตุ 1.ดำเนินการสกัดกั้น กักกัน กักเก็บและควบคุมการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายในบริเวณที่เกิดเหตุได้ตามมาตรฐานการปฏิบัติงาน(SOP) 05103.03.01 66125
05103.03 ดำเนินการเข้าระงับภัยในจุดเกิดเหตุ 2.ใช้เครื่องมือถูกประเภทในการควบคุมการรั่วไหล และเก็บกักสารเคมีอันตรายในบริเวณที่เกิดเหตุ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย 05103.03.02 66126
05103.03 ดำเนินการเข้าระงับภัยในจุดเกิดเหตุ 3. ดำเนินการขนย้ายผู้ประสบภัยออกจากพื้นที่ผ่านเขตลดการปนเปื้อนและส่งมอบผู้ป่วย 05103.03.03 66127
05103.03 ดำเนินการเข้าระงับภัยในจุดเกิดเหตุ 4. ทำความสะอาดพื้นที่เกิดเหตุและจัดเก็บของเสียที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปบำบัดต่อไป 05103.03.04 66128
05103.04 สืบสวนหาสาเหตุและวิเคราะห์สถานการณ์ฉุกเฉิน 1. ดำเนินการสืบสวนหาสาเหตุและวิเคราะห์สถานการณ์ฉุกเฉิน 05103.04.01 66129

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ




    1. ทักษะในการปฏิบัติงานที่ต้องอยู่ในที่แคบ เช่น ในชุดป้องกันสารเคมีที่มีวิสัยการมองเห็นที่จำกัด

    2. ทักษะในการปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความแข็งแรงของร่างกาย

    3. ทักษะในการสังเกตและจดจำรายละเอียด เพื่อนำมาสู่การสืบสวนหาสาเหตุของเหตุการณ์



(ข) ความต้องการด้านความรู้




    1. ผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

    2. ผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

    3. ผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในระดับ Technician

    4. ผ่านการอบรมระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) หรือเทียบเท่า

    5. การจำแนกชนิดของอุปกรณ์ เครื่องมือ พร้อมการเลือกใช้อย่างเหมาะสม

    6. หลักการทำงานของเครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม

    7. มาตรการด้านความปลอดภัยของการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉิน




14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองประสบการณ์ทำงาน

  2. เอกสารรับรองการผ่านการสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. เอกสารรับรองการผ่านการสอบข้อเขียน

  2. ใบผ่านการอบรม OSHA 29CFR 1910.120 (HAZWOPER) 40 ชั่วโมง หรือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15) หรือเทียบเท่า

  3. ใบผ่านการอบรมทบทวนทักษะความรู้ OSHA HAZWOPER Refresher 8 ชั่วโมงทุกปี

  4. ใบผ่านการอบรมเฉพาะทางด้านการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในระดับ Technician

  5. ใบผ่านการอบรมระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System) หรือเทียบเท่า



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการดำเนินการตอบโต้สถานการณ์ฉุกเฉินในจุดเกิดเหตุ โดยพิจารณาหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานด้านความรู้



(ง) วิธีการประเมิน




  1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

  2. พิจารณาตามหลักฐานด้านความรู้



 


15. ขอบเขต (Range Statement)

      การปฏิบัติงานของผู้มีระดับคุณวุฒิที่ 4 คล้ายคลึงผู้มีระดับคุณวุฒิที่ 3 แต่มีระดับความยากและความซับซ้อนเพิ่มขึ้น เนื่องจากต้องเข้าไปดำเนินการสกัดกั้น กักกัน กักเก็บ และควบคุมการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายในบริเวณที่มีความอันตรายสูง



(ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการระบุมาตรการในการควบคุมการรั่วไหลจากถังบรรจุสารเคมีและของเสียอันตรายแบบต่างๆ รวมทั้งการเก็บกักสารเคมีไม่ให้แพร่กระจาย

  2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม เพื่อทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงในระดับความเข้มข้นที่มีผลต่อสุขภาพในระดับที่เป็นอันตรายแบบเฉียบพลัน

  3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลและเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามคู่มือ



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ระบบบัญชาการเหตุการณ์ (Incident Command System, ICS) หมายถึง ระบบที่ใช้เพื่อการสั่งการ ควบคุม และประสานความร่วมมือของแต่ละหน่วยงานในการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณภัย ระบบดังกล่าวเป็นระบบปฏิบัติการเพื่อการระดมทรัพยากรไปยังที่เกิดเหตุ เพื่อบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินให้สามารถปกป้องชีวิต ทรัพย์สินและสิ่งแวดล้อมได้อย่างบรรลุเป้าหมาย และมีประสิทธิภาพ

  2. มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Standard Operating Procedure, SOP) หมายถึง คำสั่งหรือวิธีปฏิบัติงานที่ระบุอย่างเป็นขั้นตอน และมีรายละเอียดชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินเพื่อนำไปปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย

  3. การอบรมตามข้อกำหนดของ OSHA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่อง       อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของแรงงาน โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยสารเคมี ซึ่งกำหนดให้รับการการอบรม Hazardous Waste Operations and Emergency Response (HAZWOPER) ในระดับที่เหมาะสม และมีการอบรมทบทวนทุกปี

  4. การอบรมตามข้อกำหนดของ US EPA ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาที่ดูแลเรื่องคุณภาพของสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีสารเคมีอันตรายเข้ารับการอบรมในหลักสูตรเทียบเท่า HAZWOPER คือ Hazardous Materials Incident Response Operations (HMIRO; EPA 165.5) หรือ Emergency Response to Hazardous Material Incidents (ERTHMI; EPA 165.15)

  5. เครื่องมือตรวจวัดวัดภาคสนาม (Field and Direct Reading Air Monitoring Instrument) ได้แก่ เครื่องตรวจวัดสภาพอากาศ (อุณหภูมิ ความดัน ความชื้น ปริมาณออกซิเจน) เครื่องมือตรวจวัดความเข้มข้นของสารเคมี เช่น Dräger Tube  Photo Ionization Detector  Combustible Gas Indicator  Carbon monoxide detector  LEL meter และ Geiger counter

  6. อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ได้แก่ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามข้อกำหนด


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ปฏิบัติตามเอกสารในระดับสูง และวิเคราะห์วิธีสกัดกั้น และการควบคุมการรั่วไหล




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.2. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย สำรวจบริเวณจุดเกิดเหตุและตรวจวัดความปนเปื้อนในอากาศด้วยเครื่องมือตรวจวัดภาคสนาม




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​18.3. เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย ดำเนินการเข้าระงับภัยในจุดเกิดเหตุ




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน



​​​​​​​​​​​​​​18.4.เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย สืบสวนหาสาเหตุและวิเคราะห์สถานการณ์ฉุกเฉิน




  1. ข้อสอบสัมภาษณ์เชิงเทคนิค

  2. ข้อสอบปรนัย (สี่ตัวเลือก)



ยินดีต้อนรับ