หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบคุณภาพของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-3-093ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ผู้ช่วยช่างทำแม่พิมพ์สกรีน



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
มีความรู้ในการตรวจสอบสภาพกรอบสกรีน การล้างกาวอัดในแม่พิมพ์สกรีนที่ใช้งานแล้วให้กลับมาพร้อมใช้ทำแม่พิมพ์ครั้งต่อไปได้อย่างถูกต้อง ภายใต้การควบคุมดูแลจากช่างทำแม่พิมพ์สกรีน

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์สกรีน

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
202031 ตรวจสอบคุณภาพความพร้อมใช้งานของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีนและยึดติดผ้าสกรีน 1.1 จัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับตรวจสอบคุณภาพได้ถูกต้อง 202031.01 75821
202031 ตรวจสอบคุณภาพความพร้อมใช้งานของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีนและยึดติดผ้าสกรีน 1.2 ปรับตั้งเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง 202031.02 75822
202031 ตรวจสอบคุณภาพความพร้อมใช้งานของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีนและยึดติดผ้าสกรีน 1.3 ตรวจสอบคุณภาพ ด้วยการวัดค่าความตึงให้ได้ตามมาตรฐานของการตรวจสอบความตึง 202031.03 75823
202031 ตรวจสอบคุณภาพความพร้อมใช้งานของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีนและยึดติดผ้าสกรีน 1.4 ตรวจสอบการยึดติดของผ้าสกรีนบนกรอบสกรีน 202031.04 75824
202031 ตรวจสอบคุณภาพความพร้อมใช้งานของกรอบสกรีนหลังการขึงผ้าสกรีนและยึดติดผ้าสกรีน 1.5 บำรุงรักษาเครื่องมือตรวจวัดได้อย่างถูกต้อง 202031.05 75825

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

จบการศึกษาระดับตั้งแต่ ประถมศึกษาปีที่ 6 ขึ้นไป และสามารถอ่านและเขียนภาษาไทยได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. ตรวจสอบลักษณะกายภาพของผ้าสกรีนใช้แล้ว เช่น การชำรุด รอยขาด เป็นต้น




2. ตรวจสอบลักษณะกายภาพของกรอบสกรีนใช้แล้วและความสม่ำเสมอของแรงตึงผ้าสกรีน




3. การเตรียมเคมีภัณฑ์ในการล้างขจัดคราบกาวอัด




4. การขจัดคราบกาวอัดออกจากแม่พิมพ์สกรีนใช้แล้ว




5. ตรวจสอบกรอบแม่พิมพ์สกรีนที่ทำความสะอาดแล้ว




6. การใช้เคมีภัณฑ์และการป้องกันอันตราย

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับผ้าสกรีน




2. ความรู้และหลักการวัดความตึงผ้าสกรีน




3. หลักความปลอดภัยในการทำงาน




4. สารเคมีในการทำแม่พิมพ์สกรีน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




1. บันทึกรายงานจากการสังเกต




2. บันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน




3. กรอบแม่พิมพ์สกรีนใช้แล้วที่ได้รับการทำความสะอาด




(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียน จากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ




(ค) คำแนะนำในการประเมิน




การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 1 ปี และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์และสารเคมีพร้อมใช้งาน และต้องมีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม 




(ง) วิธีการประเมิน




ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น


15. ขอบเขต (Range Statement)


(ก) คำแนะนำ




1. แม่พิมพ์สกรีนใช้แล้ว หมายถึงแม่พิมพ์สกรีนที่ผ่านการใช้งานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่กรอบแม่พิมพ์สกรีนยังสามารถนำมาใช้งานอื่นๆ ได้อีก




2. การทำความสะอาดแม่พิมพ์สกรีนใช้แล้ว ได้แก่ การขจัดคราบกาวอัด และภาพพิมพ์บนผ้าสกรีนให้หายไปจากผ้าสกรีน




(ข) คำอธิบายรายละเอียด




N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



ยินดีต้อนรับ