หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนออกแบบทางกลของ work cell กระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ

สาขาวิชาชีพหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ MCT-ZZZ-5-019ZB

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนออกแบบทางกลของ work cell กระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ

3. ทบทวนครั้งที่ N/A / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

3119 เจ้าหน้าที่/ช่างเทคนิควิศวกรรมระบบ (ยกเว้นคอมพิวเตอร์)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้กล่าวถึง การวางแผนออกแบบทางกลของ  work cell กระบวนการผลิตระบบอัตโนมัติ โดยออกแบบลำดับหรือแผนกระบวนการในการเขียนแบบ มีความสามารถในการใช้โปรแกรมในการเขียนแบบ เช่น Auto CAD, SolidWork, CATIA ระบุความต้องการของระบบ และแบ่งหมวดหมู่ของอุปกรณ์เพื่อหาจุดเชื่อมต่อทางกล บ่งชี้จุดเสี่ยงในการติดตั้งระบบทางกล การทำงานทางกล รวมถึงการแบ่งระดับความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากการออกแบบ และติดตั้ง สามารถคำนวณระยะเวลาในการปฏิบัติงาน การประกอบ และติดตั้ง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักบูรณาการระบบการผลิต (Systems Integrator)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
SI03311 เตรียมเครื่องมือในการออกแบบทางกล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) 1.1 สามารถเตรียมเครื่องมือในการออกแบบทางกลด้วยโปรแกรมได้ SI03311.01 134425
SI03311 เตรียมเครื่องมือในการออกแบบทางกล (โปรแกรมคอมพิวเตอร์) 1.2 สามารถใช้เครื่องมือในในการออกแบบทางกลด้วยโปรแกรมได้ SI03311.02 134426
SI03312 เตรียมเอกสาร (Data sheet) ของอุปกรณ์ทางกล และเครื่องจักรที่อยู่ใน work cell 1.1 อ่านเอกสารข้อมูลทางเทคนิคของอุปกรณ์ทางกลได้ SI03312.01 134427
SI03312 เตรียมเอกสาร (Data sheet) ของอุปกรณ์ทางกล และเครื่องจักรที่อยู่ใน work cell 1.2 อ่านเอกสารข้อมูลทางเทคนิคทางกลของเครื่องจักรที่อยู่ใน work cell ได้ SI03312.02 134428
SI03313 วิเคราะห์ความเสี่ยงการดำเนินการระบบทางกลของกระบวนการผลิตอัตโนมัติ 1.1 บ่งชี้จุดเสี่ยงในการติดตั้งและการทำงานของทางกลใน work cell ได้ SI03313.01 134429
SI03313 วิเคราะห์ความเสี่ยงการดำเนินการระบบทางกลของกระบวนการผลิตอัตโนมัติ 1.2 สามารถแบ่งระดับความเสี่ยงอันตรายที่เกิดจากการออกแบบทางกล รวมไปถึงความเป็นไปได้ในการติดตั้ง SI03313.02 134430
SI03314 ประเมินต้นทุนออกแบบระบบทางกล 1.1 เปรียบเทียบต้นทุนของระบบทางกลได้ SI03314.01 134431
SI03314 ประเมินต้นทุนออกแบบระบบทางกล 1.2 คำนวณงบประมาณโดยรวมของระบบทางกลได้ SI03314.02 134432
SI03314 ประเมินต้นทุนออกแบบระบบทางกล 1.3 สามารถกำหนดระยะเวลาในการปฏิบัติงานระบบทางกลได้ SI03314.03 134433

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1) ทักษะทางการออกแบบกลไก

2) ทักษะการบริหารโครงการ บริหาร คน และเวลา

3) ทักษะการประเมินราคา

4) ทักษะการโปรแกรมเขียนแบบทางกล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1) การบริหารโครงการ

2) อุปกรณ์ทางกลและการทำงาน

3) ความปลอดภัยในการทำงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1) แบบฟอร์มบันทึกภาระงาน

2) ใบบันทึกผลการปฏิบัติงาน

3) ใบรับรองผลงานจากผู้ประกอบการ

4) ใบรับรองการผ่านงาน

5) แฟ้มสะสมผลงาน

6) แบบบันทึกผลการสังเกตการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1) เอกสารผลการประเมินจากการสอบข้อเขียน

2) เอกสารรับรองผลการเรียนหรือผลการฝึกอบรม

3) เอกสารการจัดทำคู่มือหรือรายงานโครงการ

4) เอกสารการสอนงาน

5) หรือเอกสารรับรองอื่นๆที่ออกจากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

เจ้าหน้าที่ประเมินหลักฐานโดยพิจารณาจากการวางแผนการออกแบบระบบทางกลในระบบอัตโนมัติ โดยพิจารณาจากทำข้อสอบปฏิบัติหรือการสังเกตจากการจากจำลองการปฏิบัติงาน

(ง) วิธีการประเมิน

1. ข้อสอบข้อเขียน

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสัมภาษณ์

5. การนำเสนอ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

N/A

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1) ค่าเชิงปริมาณตามมาตรฐาน หมายถึง ค่าความผิดพลาดที่เกิดจากการประกอบชิ้นงาน ซึ่งต้องอยู่ในค่ามาตรฐานที่กำหนด เช่น ความเร็วการเคลื่อนที่ของกลไกของเครื่องจักร ระยะทางทางเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์อุตสาหกรรม

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

2. การสาธิตการปฏิบัติงาน

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสัมภาษณ์

5. การนำเสนอ

 



ยินดีต้อนรับ