หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟชำนาญการขชั้นสูง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PRE-3-021ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟชำนาญการขชั้นสูง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ไม่ระบุ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ช่างทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
201061 ควบคุมและตรวจสอบการวางหน้าให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ 1. ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการปฏิบัติงานการจัดวางหน้าเลย์เอาท์ ให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 201061.02 75826
201061 ควบคุมและตรวจสอบการวางหน้าให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ 2. ออกแบบและจัดการขั้นตอนกระบวนการทำงาน (work flow) ได้อย่างถูกต้อง 201061.01 75828
201062 ปฏิบัติการการจัดการสีและงานดิจิทัลปรู๊ฟ 1. ปฏิบัติงานตรวจสอบการจัดการสีของงานดิจิทัลปรู๊ฟได้อย่างถูกต้อง 201062.01 75827
201062 ปฏิบัติการการจัดการสีและงานดิจิทัลปรู๊ฟ 2. กำหนดโปรไฟล์สีของงานดิจิทัลปรู๊ฟให้ถูกต้องตามความต้องการหรือประเภทของวัสดุใช้พิมพ์ 201062.02 75829

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


1. สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้หรือผ่านการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมีความชำนาญในการใช้งานคอมพิวเตอร์
2. ผ่านหน่วยสมรรถนะ 20105 ปฏิบัติการวางหน้าเลย์เอาท์และงานดิจิทัลปรู๊ฟชำนาญการ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


1. การกำหนดวางแผนกระบวนการทำงาน (work flow)
2. การตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ
3. การปฏิบัติงานการจัดการสีบนงานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ

(ข) ความต้องการด้านความรู้


1. กระบวนการจัดวางหน้าเลย์เอาท์
2. ชั้นตอนการทำงาน (work flow)
3. การจัดวางหน้า และงานหลังพิมพ์
4. งานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ
5. การจัดการสีสำหรับงานดิจิทัลปรู๊ฟ
6. เครื่องมือสำหรับการจัดการสี


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)


(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
  รายงานผลการตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการ และหรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานการวางแผนกระบวนการทำงาน (work flow)
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
  ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
  การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้อย่างน้อย 3 ปี มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน
(ง) วิธีการประเมิน
ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์งานที่มีการจัดการควบคุมและตรวจสอบการวางหน้าให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)


1. กระบวนการจัดวางหน้าเลย์เอาท์ได้แก่การคำนวณยก, วางหน้ายก การทำดัมมี่ งานหนังสือ หรืองานบรรจุภัณฑ์
2. ออกแบบและจัดการขั้นตอนกระบวนการทำงาน (work flow) ได้แก่ วางแผนการทำงานให้เป็นไปตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ
3. ควบคุมและตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการปฏิบัติงานงานทำแม่พิมพ์ออฟเซตระบบดิจิทัล
4. ปฏิบัติงานตรวจสอบ คือ การตรวจสอบแถบควบคุมค่ามาตรฐานในการปรู๊ฟดิจิทัล (media wedge) ด้วยสายตาและเครื่องมือวัด
5. ปฏิบัติการการจัดการสีของงานดิจิทัลปรู๊ฟ เช่น การเลือกใช้โปรไฟล์สี เงื่อนไขการแปลงค่าสี (renderingintent) ให้ตรงกับความต้องการ หรือถูกต้องกับชนิดของวัสดุใช้พิมพ์ หรือประเภทของงานพิมพ์
(ก) คำแนะนำ
N/A
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
  N/A


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์งานที่มีการจัดการควบคุมและตรวจสอบการวางหน้าให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ



 


ยินดีต้อนรับ