หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เข้าใจหลักการทางศิลปะและความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎีสี และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-MPTJ-083B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เข้าใจหลักการทางศิลปะและความรู้ความเข้าใจเรื่องทฤษฎีสี และเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับงานแต่ละประเภท

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถให้บริการเพ้นท์ ออกแบบตกแต่ง ติดขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภทได้เหมาะสมกับลักษณะงานออกแบบตกแต่งลวดลายจากวัสดุตกแต่งเล็บ เลือกใช้พู่กันและวาดลายเส้น

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างตกแต่งเล็บ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
•    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖•    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐•    พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙•    พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘•    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.•    หลักการยศาสตร์ของผู้ให้บริการ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20111 ใช้หลักการทางศิลปะและความรู้เรื่องทฤษฎีสี ในการออกแบบตกแต่งลวดลายพื้นฐานด้วยหลักการทางศิลปะ ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท 1. ใช้เทคนิคด้วยสีมากกว่า 2 สีด้วยเทคนิคที่หลากหลาย 20111.03 123344
20111 ใช้หลักการทางศิลปะและความรู้เรื่องทฤษฎีสี ในการออกแบบตกแต่งลวดลายพื้นฐานด้วยหลักการทางศิลปะ ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท 2. ออกแบบตกแต่งลวดลายจากวัสดุตกแต่งเล็บ 20111.04 123345
20112 เลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท 1. เลือกสีทาเล็บได้ถูกวิธี 20112.03 123346
20112 เลือกใช้เครื่องมือได้เหมาะสมกับลักษณะงานแต่ละประเภท 2. ใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ตกแต่งได้ถูกวิธี 20112.04 123347

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ทักษะการบริการ ทักษะศิลปะ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ทฤษฎีสีและขั้นตอนการออกแบบลวดลายบนเล็บระดับพื้นฐาน
เช่น เพ้นท์ ออกแบบตกแต่ง ติด ขัดเล็บด้วยวัสดุตกแต่งหลากหลายประเภท
วาดลวดลายสามมิติ นูนต่ำ ลอยตัว การเพ้นท์ลายเส้นแบบละเอียด ด้วยหลักการทางศิลปะ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน และทักษะความรู้ที่ต้องการ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
N/A
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ผ่านการอบรมขั้นตอนการบริการทำเล็บ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดถูกสุขอนามัย
(ง) วิธีการประเมิน
1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด
ทฤษฎีสี (color theory) มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับการผสมและเลือกสีในการออกแบบลวดลายบนเล็บ ทั้งสีธรรมดาและสีเจล เพื่อให้เกิดความรู้สึกทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อง่ายต่อการออกแบบเรานิยมใช้หลักการทฤษฎีการจับคู่สี (Color wheel)
Credit by https://www.dulux.co.th/th/inspiration/colour-theory-made-easy, [Retrieved on March 13th , 2020]
จากสี 12 สี ในวงล้อจะแบ่งออกเป็น 2 วรรณะ คือ วรรณะสีอุ่น (warm tone) ได้แก่ สีเหลือง (ครึ่งหนึ่ง) ส้มเหลือง ส้ม ส้มแดง แดง ม่วงแดง และม่วง (ครึ่งหนึ่ง) วรรณะสีเย็น (cool tone) ได้แก่สีเหลือง (อีกครึ่งหนึ่ง) เขียวเหลือง เขียว เขียวน้ำเงินน้ำเงิน ม่วงน้ำเงินและม่วง (อีกครึ่งหนึ่ง) สำหรับสีเหลืองและสีม่วงนั้น เป็นสีที่อยู่ในวรรณะกลาง ๆ หากอยู่ในกลุ่มสีอุ่นก็จะอุ่นด้วย แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มสีเย็นก็จะเย็นด้วย (ที่มา: ทฤษฎีการจับคู่สี (Color wheel) แม่สี คือ สีเหลือง สีแดง สีน้ำเงิน Campus star โดย Root)
วงล้อสีแบบดั้งเดิมเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการจัดระบบสีหลักและช่วยให้คุณสามารถผสมผสานเฉดสีเข้าด้วยกันเพื่อตกแต่งพื้นที่หรืองานต่าง ๆ องค์ประกอบหลักของสีประกอบด้วยสามส่วนด้วยกันคือ
1) สีขั้นต้น (primary colours) ประกอบด้วยแม่สี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน สีเบสสามสีนี้เป็นพื้นฐานของสีอื่นๆ ทั้งหมด
2) สีขั้นที่สอง (secondary colours) ประกอบด้วยสีส้ม สีม่วง และสีเขียว แต่ละสีเหล่านี้เกิดขึ้นจากแม่สีสองในสาม กล่าวคือ สีแดงและสีเหลืองผสมกันเกิดเป็นสีส้ม สีฟ้าและสีแดงผสมกันเกิดเป็นสีม่วง และสีฟ้ากับสีเหลืองผสมกันเกิดเป็นสีเขียว
3) สีขั้นที่สาม (tertiary colours) เกิดจากการผสมแม่สีกับสีขั้นที่สอง หรือการผสมสีขั้นที่สองจำนวนสองสีเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น สีบรั่นดี (สีเหลืองผสมสีเขียว) สีแดงอมม่วง (สีแดงผสมสีม่วง) (ที่มา: www.Dulux.co.th)
4) สีกลาง (neutral colour) เป็นสีที่เกิดจากการนำเอาสีทุกสีผสมรวมกันเข้า หรือเอาแม่สีทั้ง 3 สี รวมกัน ก็จะได้สีกลาง ซึ่งเป็นสีเทาแก่เกือบดำ
ทั้งนี้การเลือกใช้สีในวงล้อสีมีหลายหลายวิธี เช่น
คู่สี (Complementary color) ถ้านำมาวางเรียงกันจะให้ความสดใส ให้พลังความจัดของสีซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดการตัดกันหรือขัดแย้งกันอย่างมาก คู่สีนี้จะเป็นสีที่ตัดกันอย่างแท้จริง (true contrast) การใช้สีที่ตัดกันจะต้องพิจารณาดังนี้ ปริมาณของสีที่เกิดจากการตัดกันจะต้องไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดในภาพ การใช้สีตัดกันต้องมีสีใดสีหนึ่ง 80% และอีกสีหนึ่ง 20% โดยประมาณ และถ้าหากต้องใช้สีคู่ตัดกัน โดยมีเนื้อที่เท่า ๆ กัน จะต้องลดความเข้มของสี
สีข้างเคียง (Analogous color) เป็นสีที่อยู่เคียงกันในวงล้อสี เช่น สีเหลืองกับส้มเหลือง สีทั้ง 2 จะดูกลมกลืนกัน (harmony) สีที่อยู่ห่างกันออกไป ความกลกลืนก็จะค่อย ๆ ลดลง ความขัดแย้ง หรือความตัดกันก็จะเพิ่มมากขึ้น จนกลายเป็นคู่สี หรือสีตัดกันอย่างแท้จริงเมื่อห่างกันจนถึงจุดตรงข้ามกัน
การใช้พู่กันขนาดต่างๆ การเพ้นท์และตกแต่งเล็บมีพู่กันเพ้นท์หลายรูปแบบต่างกันทั้งหัวกลม หัวแบน เส้นยาว เส้นสั้น ขนบาง ขนหนา แต่ละแบบให้ภาพที่ต่างกันเช่นถ้าต้องการวาดภาพแบบพู่กันจีนต้องใช้พู่กันหัวกลม หรือถ้าจะวาดภาพโฟล์กอาร์ต (Folk Art) ต้องใช้พู่กันหัวแบนสี่เหลี่ยม หรือถ้าจะวาดลายเส้นยาวให้ใช้พู่กันขนยาวเบอร์ 000 เพื่อใช้ตวัดเส้นโค้ง พู่กันแต่ละชนิดจะมีลักษณะเฉพาะภาพที่ได้จะออกมาแตกแต่งกัน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ