หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สามารถบอกข้อแนะนำข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากรับบริการทำเล็บสำหรับการดูแลที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้าในครั้งถัดไป

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-STQC-082B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สามารถบอกข้อแนะนำข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากรับบริการทำเล็บสำหรับการดูแลที่ต่อเนื่องเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้าในครั้งถัดไป

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
N/A

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างตกแต่งเล็บ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
•    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖•    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐•    พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙•    พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘•    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.•    หลักการยศาสตร์ของผู้ให้บริการ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
19221 แนะนำการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ 1. แนะนำการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้รับบริการ 19221.03 123340
19221 แนะนำการเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ 2. สามารถตอบคำถามผู้รับบริการเกี่ยวกับขั้นตอนและผลิตภัณฑ์สำหรับการให้บริการ 19221.04 123341
19222 แนะนำข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากรับบริการทำเล็บ การดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้า 1. อธิบายข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากการบริการทำเล็บเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจและปฏิบัติตาม 19222.01 123342
19222 แนะนำข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากรับบริการทำเล็บ การดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้า 2. สามารถตอบคำถามปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับการบริการจากการทำเล็บและนัดหมายบริการในครั้งต่อไป 19222.02 123343

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ทักษะการบริการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากการทำเล็บ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน และทักษะความรู้ที่ต้องการ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
N/A
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ผ่านการอบรมขั้นตอนการบริการทำเล็บ
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดถูกสุขอนามัย
(ง) วิธีการประเมิน
1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด
แนะนำข้อห้ามและข้อควรระวังหลังจากการบริการทำเล็บเพื่อให้ผู้รับบริการเข้าใจและปฏิบัติตาม สามารถตอบคำถามของปัญหาที่เกิดเกี่ยวกับการบริการหลังทำเล็บ ติดตามลูกค้าหลังจากรับบริการตามระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อเชิญผู้รับบริการให้กลับมาใช้บริการอีก ส่งเสริมการขายบริการทำเล็บที่เหมาะสมแก่ผู้รับบริการ ให้คำแนะนำหลังจากทำเล็บแล้ว ควรดูแลรักษาเล็บมือให้สะอาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะการต่อเล็บ เนื่องจากอาจมีเชื้อโรคเข้าไปขังอยู่จนทำให้เล็บติดเชื้อราได้ วิธีการดูแลรักษาเล็บง่ายๆ มีดังต่อไปนี้
1) ทาครีมบำรุง ยาทาเล็บบางชนิดอาจมีส่วนผสมของสารเคมีที่จะทำลายผิวเล็บ เพราะฉะนั้นจึงควรทาครีมบำรุงเพื่อป้องกันเล็บแห้งเป็นประจำ
2) ห้ามแกะสีเจลด้วยตัวเอง แม้สีจะเริ่มหลุดลอกออกไปบ้างแล้ว ก็ห้ามแกะเองโดยเด็ดขาด เพราะตัวเจลที่ค่อนข้างเหนียวอาจไปดึงผิวเล็บจนทำให้เล็บฉีก หรือเล็บบางลง
3) พักเล็บ หลังจากทาสีเจล หรือต่อเล็บ ควรพักเล็บอย่างน้อย 1 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อให้เล็บได้ฟื้นฟูตัวเอง โดยเฉพาะหน้าเล็บ ระหว่างนี้ให้แช่เล็บวันละ 10 นาทีด้วยน้ำอุ่นผสมมะนาวและน้ำมันกลิ่นต่างๆ ตามชอบ
4) ดูแลเล็บเหลือง หากพบว่าเล็บเหลืองซึ่งเกิดจากการทำเล็บ ให้หยุดทำเล็บทันที แล้วดูแลด้วยการใช้มะนาวถูที่เล็บเป็นประจำ หรือใช้ยาสีฟันขัดจนกว่าเล็บจะหายเหลือง
5) นวดนิ้วมือ เพื่อกระตุ้นเลือดลมและฟื้นฟูให้เล็บกลับมาแข็งแรงเร็วขึ้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ