หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริการบำรุงดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้าได้ถูกต้องตามขั้นตอน

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-PAOU-081B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริการบำรุงดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้าได้ถูกต้องตามขั้นตอน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สามารถขจัดผิวหนังที่หยาบกร้านบริเวณมือและเท้าบริการพอกผิวมือและเท้า สามารถให้บริการเหมาะสมสำหรับบำรุงมือและเท้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างตกแต่งเล็บ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
•    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖•    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐•    พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙•    พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘•    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.•    หลักการยศาสตร์ของผู้ให้บริการ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
19211 ขจัดผิวหนังที่หยาบกร้านบริเวณมือและเท้า 1. รู้วิธีการขจัดเซลล์ผิวบริเวณที่หยาบกร้านอย่างปลอดภัย 19211.01 123336
19211 ขจัดผิวหนังที่หยาบกร้านบริเวณมือและเท้า 2. รู้วิธีการขัดผิวด้วยผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิวของผู้รับบริการ 19211.02 123337
19212 พอกผิวมือและเท้าเพื่อการบำรุง ดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้า 1. ให้บริการพอกผิวมือ 19212.01 123338
19212 พอกผิวมือและเท้าเพื่อการบำรุง ดูแลสุขภาพเล็บ มือและเท้า 2. ให้บริการพอกผิวเท้า 19212.02 123339

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">ทักษะการบริการ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">โครงสร้างของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับเล็บ เช่น
โครงสร้างเล็บและผิวหนัง ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท
ข้อมูลและวิธีการใช้งานวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์สำหรับพอกและบำรุงเล็บ มือและเท้า
ขั้นตอนการบริการพอกผิว ขจัดเซลล์ผิวบริเวณที่หยาบกร้านและวิธีการขัดผิวมือและเท้าและบำรุงเล็บ
มือและเท้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน และทักษะความรู้ที่ต้องการ
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
N/A
(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ผ่านการอบรมขั้นตอนการบริการทำเล็บ   
(ค) คำแนะนำในการประเมิน
วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดถูกสุขอนามัย
(ง) วิธีการประเมิน
1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตการปฎิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด
          การขจัดเซลล์ผิวบริเวณที่หยาบกร้านอย่างปลอดภัยนั้น ผู้ให้บริการจำเป็นต้องทราบถึงอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้อย่างละเอียด ไม่ใช่ลักษณะอุปกรณ์ของมีคมแต่อาจก่อให้เกิดบาดแผล ส่งผลให้เกิดอาการติดเชื้อภายหลังจากการให้บริการ ผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ควรผ่านมาตราฐานรับรองผลิตภัณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อ.ย)
การขัดผิวมือและเท้าต้องเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับสภาพผิวของแต่ละบุคคล ผู้ให้บริการควรทราบถึงโครงสร้างผิวหนัง ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ผิวหนังเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายมนุษย์ที่มีพื้นที่มากที่สุด มีโครงสร้างที่ซับซ้อนประกอบด้วย เซลล์และเนื้อเยื่อหลายชนิด และหน้าที่ของผิวหนังที่สำคัญ คือการป้องกันสิ่งต่างๆ สกิน แบริดออร์ (Skin barrier) ทั้งในเรื่องการสูญเสียน้ำของ ผิวหนัง การป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม การป้องกันแสงยูวี เป็นต้น การรับความรู้สึก การหายของแผล
Credit by https://www.eucerin.co.th/about-skin/basic-skin-knowledge/skin-structure-and-function, [Retrieved on March 13th , 2020]
โครงสร้างของผิวหนัง (Structure of skin) ผิวหนังมนุษย์แบ่งได้ 3 ชั้น (รูปที่ 1) เรียงจากชั้นนอกไปในสุด ตามลำดับ ดังนี้
1) อีพิเดอมิส (Epidermis) คือหนังกำพร้าเป็นชั้นนอกสุดของผิวหนัง มีความหนาประมาณ 0.05-0.1 มิลลิเมตร 1 ในมนุษย์ ทำหน้าที่ช่วยปกป้องผิวเราจากสารพิษ แบคทีเรีย และการสูญเสียน้ำ ชั้นหนังกำพร้านี้จะมีอีก 5 ชั้นย่อย ซึ่งจะมีส่วนในกระบวนการผลัดเซลล์ผิว (Keratinisation) ประกอบด้วย 1. สตราตัม เบซาเล (Stratum basale) เป็นส่วนที่อยู่ชั้นในสุด ที่ซึ่งเซลล์เคราติโนไซท์ถูกผลิต และถือว่าเป็นชั้นที่เซลล์ยังมีชีวิต 2. สตราตัม สไปโนซัม (Stratum spinosum) เซลล์เคราตินโนไซท์ ในส่วนนี้จะผลิตโปรตีนที่เรียกว่า เคราติน ซึ่งจะมีลักษณะเล็กเรียว 3. สตราตัม แกรนูโลซัม (Stratum granulosum) ชั้นนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการผลัดเซลล์ผิว เซลล์จะเริ่มมีลักษณะแข็ง และเริ่มเปลี่ยนเป็นเคราตินและลิพิด (lipids) 4. สตราตัม ลูซิดัม (Stratum lucidium) เซลล์ในชั้นนี้จะอัดตัวกันอยู่อย่างหนาแน่น และมีลักษณะแบนราบ ไม่สามารถแยกตัวออกจากกันได้ 5) สตราตัม คอร์เนียม (Stratum corneum) มีลักษณะเป็นเซลล์แบนๆ เรียงกันขนานกับผิว เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งจะหลุดลอกออกเป็นขี้ไคล (Desquamation process) (ที่มา: https://www.eucerin.co.th/about-skin/basic-skin-knowledge/skin-structure-and-function)
2) เดอมิส (Dermis) คือ หนังแท้ ประกอบด้วยคอลลาเจน อีลาสติน เส้นเลือด เส้นประสาท เส้นจน ต่อมไขมัน ต่อมเหงื่อ และต่อมผลิตเล็บ
3) ไฮโพเดอมิส (Hypodermis) หรือ ซับคูทิส (Subcutis) คือ ผิวหนังชั้นไขมัน ประกอบด้วย หลอดเลือด คอลลาเจน หลอดน้ำเหลือง
ผิวหนังในแต่ละชั้นประกอบด้วยเซลล์และโครงสร้างที่จำเพาะ ซึ่งทำให้มีคุณสมบัติและหน้าที่แตกต่างกัน และในแต่ละบริเวณของร่างกายยังพบว่ามีสัดส่วนของผิวหนังแต่ละชั้นแตกต่างกันด้วย ตัวอย่างเช่น ผิวหนังบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า พบมีชั้นหนังกำพร้าหนา ชั้นหนังแท้บางและไม่มีขน ผิวหนังบริเวณอวัยวะเพศ มี ชั้นหนังกำพร้าบาง มีเม็ดสีเมลานินมาก เป็นต้น
          (ที่มา: Ambulatory Medicine for Primary Care Physician หัวข้อเรื่อง Introduction to dermatology, Medical Education, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University)
การพอกผิวมือและเท้า เป็นขั้นตอนการการนำผลิตภัณฑ์ทาผิวจนทั่วแล้วทิ้งไว้ตามเวลาที่กำหนด เพื่อให้คุณประโยชน์จากส่วนผสม ซึมผ่านรูขุมขนเข้าไปเสริมการทำงานของระบบภายใน การพอกผิวกายมีหลากหลายรูปแบบ เช่น พอกด้วยโคลน พอกสมุนไพร พาราฟิน ครีม เซรั่ม เป็นต้น
การพอกมือและเท้าด้วยพาราฟิน (Paraffin) เพื่อการบำรุงผิวที่แห้งกร้านให้กลับนุ่มนวลน่าสัมผัส การเคลือบด้วยพาราฟินเสมือนการทำมินิซาวน่าให้เกิดความชุ่มชื้น กระตุ้นการหมุนเวียนเลือด ทำให้ผิวนุ่มนวล มีชีวิตชีวา วิธีการดูแลบำรุงผิวด้วยพาราฟินไม่ยุ่งยาก พาราฟินเหลวจะเปลี่ยนสภาพเป็นถุงมือพาราฟินที่แนบสนิทกับผิว มีคุณสมบัติในการเก็บความร้อนได้ดีเยี่ยม แต่ละครั้งที่จุ่มมือหรือเท้าลงในหม้ออุ่น เนื้อพาราฟินจะเคลือบเป็นชั้นๆ เก็บความร้อนได้นานถึง 10 – 15 นาที ความร้อนนี้จะช่วยเปิดรูขุมขน ทำให้ครีมบำรุงแทรกเข้าสู่ผิว กักเก็บไอร้อน เกิดความชุ่มชื้นแก่ผิว เหมาะอย่างยิ่งสำหรับมือหรือเท้าที่บวมหรือเมื่อยล้า และยังเป็นการแก้ปัญหาผิวหนังแห้งกร้านได้
ประโยชน์ของการพอกผิวกาย ผ่อนคลายและบรรเทาอาการปวดเมื่อย ขจัดสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยให้สุขภาพดีขึ้น กระชับผิวให้เนียนเรียบ คืนความยืดหยุ่นให้แก่ผิว ผิวดูอ่อนเยาว์ มีสุขภาพดี
ข้อห้ามข้อควรระวัง ในการบริการพอกผิวกาย อาจมีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
สตรีมีครรภ์ ภาวะโรคหัวใจ เส้นเลือดขอด มีแผลเปิด ถลอก โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ โรคความดันโลหิตสูง การไหลเวียนเลือดผิดปกติ โรคเส้นเลือดตีบ เลือดคั่ง โรคไต โรคลมบ้าหมู และก่อนหรือหลังการกำจัดขน
การบำรุงเล็บ มือและเท้า นิยมทำเป็นลำดับสุดท้ายของการบริการเล็บ ลักษณะเนื้อของผลิตภัณฑ์ในปัจจุบันค่อนข้างหลากหลาย เช่น น้ำมันและครีม คุณสมบัติและหน้าที่หลัก คือ เพิ่มความยืดหยุ่นและคงความชุ่มชื้นให้เล็บ มือและเท้า ทั้งนี้ควรศึกษาฉลากของผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ว่าเหมาะแก่สภาพเล็บ มือและเท้า รวมถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์นั้นๆ เพื่อให้มือและเล็บมีสุขภาพดีตลอดเวลา (ที่มา: เอกสารความรู้ ผู้ดำเนินการสปาเพื่อสุขภาพ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ