หน่วยสมรรถนะ
พิจารณาเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของงานได้
สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | HDS-UUDV-076B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | พิจารณาเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์ และ ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับประเภทของงานได้ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast; |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
รู้ข้อมูล ส่วนประกอบสำคัญ คุณสมบัติ วิธีการใช้งานข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้งาน วิธีการดูแลรักษาของวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำเล็บเพื่อพิจารณารูปแบบการใช้งานและบริการ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
เสริมสวย |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ช่างตกแต่งเล็บ |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
• กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖• ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย• ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐• พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙• พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘• สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก. |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
18121 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน | 1. ลำดับการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์เพื่อให้บริการได้อย่างถูกต้อง | 18121.01 | 123001 |
18121 เลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน | 2. รู้วิธีการเก็บ ดูแลรักษา ฉลาก วันหมดอายุ เลขที่ใบอนุญาต และเครื่องหมายรับรอง | 18121.02 | 123002 |
18122 รู้ส่วนประกอบและคุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ | 1. รู้ส่วนประกอบสำคัญ คุณสมบัติและวิธีการใช้งานของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ และผลิตภัณฑ์เพื่อเลือกใช้อย่างถูกต้อง | 18122.01 | 123003 |
18122 รู้ส่วนประกอบและคุณสมบัติของวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้ | 2. รู้ข้อห้ามและข้อควรระวังของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือและผลิตภัณฑ์เพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงจากการทำเล็บ | 18122.02 | 123004 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast; |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ "TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; (ข) ความต้องการด้านความรู้ "TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน และทักษะความรู้ที่ต้องการ (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) N/A (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผ่านการฝึกอบรมการใช้งานวัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ต้องเป็นระเบียบเรียบร้อยและสะอาดถูกสุขอนามัย (ง) วิธีการประเมิน 1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก 2. สอบสัมภาษณ์ 3. สาธิตการปฏิบัติงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
1. คำอธิบายรายละเอียด การเลือกใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการให้บริการทำเล็บเป็นพื้นฐานที่สำคัญของผู้ให้บริการที่จำเป็นต้องทราบ โดยละเอียดมีดังต่อไปนี้ ข้อมูลของผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่เกี่ยวข้อง เข้าใจส่วนประกอบสำคัญ คุณสมบัติและการทำงานของสารเคมีที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์ เพื่อเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม สามารถอ่านและเข้าใจฉลากของผลิตภัณฑ์ เพื่อตรวจสอบคุณภาพ วิธีการใช้งาน การดูแลรักษา และวันหมดอายุ ข้อห้ามและข้อควรระวังในการใช้วัสดุ อุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าใจวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาที่ก่อให้เกิดจากการทำเล็บ มาตรฐานการรับรองผลิตภัณฑ์ในปัจจุบัน มีหลากหลายองค์กรทั้งหน่วยงานเอกชนและรัฐบาลเข้ามาสร้างกฎเกณฑ์และสร้างมาตรฐานให้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอย่างกว้างขวาง ขอยกตัวอย่างดังต่อไปนี้ CE เป็นเครื่องหมายที่แสดงการรับรองจากผู้ผลิต (Manufacturer’s Declaration) ว่าสินค้านั้น มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป มอก. (Thai Industrial Standard) มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หมายถึง สิ่งหรือเกณฑ์ทางเทคนิคที่กำหนดขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะระบุคุณภาพของวัตถุดิบ คุณลักษณะที่สำคัญที่สำคัญของผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพการใช้งาน อย. สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration) เป็นส่วนราชการในระดับกรม ของประเทศไทย สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีหน้าที่ในการดําเนินงานด้าน การคุ้มครองผู้บริโภค ปกป้องและคุ้มครองสุขภาพประชาชนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ (ซึ่งผลิตภัณฑ์สุขภาพ ส่วนใหญ่มักจะหมายถึง อาหาร ยา เวชภัณฑ์ และเครื่องสำอาง) โดยผลิตภัณฑ์สุขภาพเหล่านั้นต้องมีคุณภาพมาตรฐานและปลอดภัย มีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคที่ถูกต้องด้วยข้อมูลวิชาการที่มีหลักฐาน เชื่อถือได้และมีความเหมาะสม เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ปลอดภัยและสมประโยชน์ MSDS (Material Safety Data Sheet) ตัวเอกสารจะมีคำอธิบายประกอบอยู่หลายเรื่อง แต่ที่สำคัญกับการขนส่งคือ จะบอกว่าสินค้าตัวนี้ต้องดูแลยังไงนั่นเอง ผู้ส่งสามารถดูเลข UN No., Class และ ระดับของ Package FDA (Food and Drug Administration) องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นหน่วยงานจากรัฐบาลกลาง โดยคอยทำหน้าที่สอดส่องดูแลสวัสดิภาพด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการใช้ยา อาหาร อุปกรณ์ทางการแพทย์ และเครื่องสำอางต่างๆ ของชาวอเมริกัน หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น อย. ในสหรัฐฯ มีหน้าที่บริหารควบคุมสินค้า ยาสำหรับมนุษย์และสัตว์ เครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์ยาสูบ อาหารสำหรับมนุษย์และสัตว์ เครื่องสำอาง และสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ที่ปล่อยรังสีออกมา ISO 9001 ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System: QMS) ที่มาตรฐานองค์กรธุรกิจทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ ISO 9001 เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่กำกับดูแลทั้งการออกแบบ การพัฒนาการผลิต การติดตั้ง และการบริการ ซึ่ง ISO 9001 นี้เองจะเป็นสิ่งที่บ่งบอกได้ถึงคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดีของการดำเนินงานภายในองค์กร จะมีการควบคุม และตรวจสอบขั้นตอน รวมถึงวิธีการทำงานผ่านระบบอย่างละเอียด เพื่อเสริมสร้างความมั่นใจให้กับองค์กร GMP มาตรฐานการผลิตของผลิตภัณฑ์ เป็นเกณฑ์ควบคุมการผลิต (Good Manufacturing Practice) ตลอดจนกระบวนการควบคุมให้ปฏิบัติตามของกองบริหารคุณภาพผลิตภัณฑ์แห่งรัฐหรือชุมชนนเพื่อการวิจัย การผลิต การบริโภค และการประกอบการค้าที่ดีขึ้น รายการผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องเพื่อการตรวจสอบและปฏิบัติตาม แตกต่างกันบ้าง ในแต่ละชุมชน แต่จุดมุ่งหมายในการสร้างมาตรฐาน GMP ขึ้นอยู่กับการลดความเสี่ยงในปัจจัยและวัสดุที่เกี่ยวกับการอุปโภคบริโภค โดยกำหนดให้มีมาตรฐานทางสาธารณะที่สะอาดและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น จีเอ็มพี เรียกว่า ระบบบริหารงานคุณภาพ เริ่มแรกนั้นใช้เป็นกระบวนการควบคุมวัตถุมีพิษและวิธีการทางเภสัช |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก |