หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สอบถามสุขภาพ ประวัติการทำเล็บ และประเมินสภาพเล็บ มือและเท้า ตามหลักกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์

สาขาวิชาชีพธุรกิจเสริมสวยและเสริมสร้างสุขภาพร่างกาย


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ HDS-BHLZ-075B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สอบถามสุขภาพ ประวัติการทำเล็บ และประเมินสภาพเล็บ มือและเท้า ตามหลักกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
สอบถามสุขภาพเล็บ มือและเท้าของผู้รับบริการโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการทำเล็บ ประวัติการทำเล็บการแพ้สารเคมีและผลิตภัณฑ์โดยการจดบันทึกและสังเกตด้วยสายตา ประเมินโครงสร้างเล็บสภาพผิวบริเวณเล็บ มือและเท้าเพื่อประกอบการพิจารณาเลือกรูปแบบการให้บริการที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อให้เกิดอันตรายจากการทำเล็บ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
เสริมสวย

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ช่างตกแต่งเล็บ

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
•    กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. ๒๕๕๖•    ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง แบบบัญชีรายชื่อสารเคมีอันตรายและรายละเอียดข้อความปลอดภัยของสารเคมีอันตราย•    ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐•    พระราชบัญญัติ สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๕๙•    พระราชบัญญัติ เครื่องสำอาง พ.ศ. ๒๕๕๘•    สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
18111 สอบถามประวัติของผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำเล็บ 1. สอบถามประวัติ โรคประจำตัว ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทำเล็บ การแพ้ผลิตภัณฑ์ และสารเคมีจากการทำเล็บเพื่อจดบันทึก 18111.01 122997
18111 สอบถามประวัติของผู้รับบริการที่เกี่ยวข้องกับการทำเล็บ 2. สังเกตผู้รับบริการด้วยสายตาเพื่อจดบันทึก 18111.02 122998
18112 ประเมินสภาวะสุขภาพเล็บ มือและเท้า โดยยึดหลักความรู้ตามหลักกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 1. ประเมินโครงสร้างของเล็บ มือและเท้าเพื่อเลือกรูปแบบการให้บริการ 18112.01 122999
18112 ประเมินสภาวะสุขภาพเล็บ มือและเท้า โดยยึดหลักความรู้ตามหลักกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์ 2. ประเมินปัญหาและสภาพโดยรอบของเล็บ มือและเท้าเพื่อเลือกรูปแบบการให้บริการ 18112.02 123000

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-fareast-theme-font:minor-fareast;
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH">N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">การสื่อสาร บริการ คิดวิเคราะห์ และการจำแนกประเภท

(ข) ความต้องการด้านความรู้

"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-fareast-theme-font:minor-fareast;mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">โรคและปัจจัยอื่นที่มีผลต่อเล็บ
โครงสร้างของร่างกายที่เกี่ยวข้องกับเล็บ เช่น โครงสร้างเล็บและผิวหนัง
ระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท และระบบโครงกระดูก หน้าที่และความสำคัญของเล็บ
ผลข้างเคียงของโรคที่จะส่งผลต่อการบริการทำเล็บ และข้อมูลของผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่ก่อให้เกิดการแพ้จากการทำเล็บ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน และทักษะความรู้ที่ต้องการ
          (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)
เอกสารบันทึกข้อมูลประวัติผู้รับบริการ
          (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)
ผ่านการอบรมเกี่ยวกับสุขอนามัยที่เกี่ยวข้องกับเล็บ
          (ค) คำแนะนำในการประเมิน
หากมีความเสี่ยง ไม่สามารถให้บริการ ควรให้คำแนะนำในการพบแพทย์ก่อน
          (ง) วิธีการประเมิน
1. สอบข้อเขียน
2. สาธิตการปฏิบัติงาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ข) คำอธิบายรายละเอียด
สอบถามประวัติ โรคประจำตัว การแพ้ผลิตภัณฑ์ และสารเคมีจากการทำเล็บเพื่อจดบันทึก ผู้ให้บริการต้องทราบลักษณะต้องห้ามในการให้บริการทำเล็บ และควรแนะนำให้ผู้รับบริการปรึกษาแพทย์ มีดังต่อไปนี้
1) การอักเสบของโรคผิวหนัง มีลักษณะเป็นผื่นแดง ตกสะเก็ด แสบคัน หรือเป็นหนอง ถ้ารุนแรงจะทำลายส่วนสร้างเล็บ จนอาจทำให้สภาพเล็บมีความผิดปกติ
2) การติดเชื้อรา มีลักษณะแผ่นเล็บหนาขึ้นและผิดรูป ขรุขระ หากไม่รักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ เล็บอาจมีการติดเชื้อและหลุดได้ บริเวณที่มีการติดเชื้อส่วนมากจะเกิดใต้ปลายเล็บ ด้านโคนเล็บ ผิวหน้าเล็บ และการติดเชื้อจากรอบเล็บ
3.) การติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณรอบเล็บและผิวหนัง จะมีลักษณะบวมแดงนูนแยกตัวออกจากเล็บ มีอาการปวดบวม แดง หรือมีหนอง บางกรณีเกิดจากการแช่น้ำเป็นเวลานาน เล็บส่วนปลายเปิดออกและเนื้อเล็บอ่อนลง จนเกิดเป็นโพรง เกิดความชื้นและติดเชื้อ ลักษณะใต้เล็บจะเป็นสีเขียวอมดำ
4) บุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น ผู้เป็นเบาหวานอาจจะสูญเสียประสาทรับความรู้สึก ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานมีผิวเท้าบาง เท้าชา อ่อนแรง และผิดรูป ทำให้เป็นแผลเรื้อรังที่เท้าได้ง่าย ซึ่งบ่อยครั้งอาจรุนแรงถึงขั้นถูกตัดเท้าหรือขา เป็นต้น
          ควรทราบผลิตภัณฑ์และสารเคมีที่ก่อให้เกิดอาการแพ้เบื้องต้น เพื่อหลีกเลี่ยงการให้บริการที่อาจจะเกิดความเสี่ยง ดังต่อไปนี้
1) ผลิตภัณฑ์ต่อเล็บอะคริลิค ที่มีส่วนประกอบของ Methyl Methacrylate ส่งผลทำให้เล็บถูกทำลายจากการสัมผัสสารยึดเกาะที่ไม่ได้มาตรฐาน
2) ผลิตภัณฑ์น้ำยาล้างเล็บ ที่มีส่วนประกอบของ Acetone/ Butyl Acetate/ Ethyl Acetate เมื่อสูดดมอาจะเกิดอาการเวียนศีรษะ และส่งผลให้ผิวแห้งจนเกิดอาการคันเมื่อสัมผัส
3) ผลิตภัณฑ์สีทาเล็บ ที่มีส่วนประกอบของ Butyl Acetate/ DBP/ Ethy Acetate/ Formaldehyde/ Isopropyl Acetate/ Toluene เมื่อสูดดมอาจะเกิดอาการเวียนศีรษะ เมื่อสัมผัสจะส่งผลให้ผิวแห้งจนเกิดอาการคัน สารบางประเภทเมื่อสูดดมในปริมาณมากอาจะส่งผลต่อระบบประสาท ส่งผลต่อทารกในครรภ์ และเป็นสารก่อมะเร็ง
โครงสร้างของเล็บ การเจริญเติบโตของเล็บและหน้าที่ของเล็บผู้รับบริการควรศึกษาอย่างละเอียดเพื่อเข้าใจส่วนประกอบสำคัญของเล็บ เพื่อนำไปให้บริการในลำดับต่อไป
            เล็บ (Nails) คือ อวัยวะปกคุลมร่างกายชนิดหนึ่งที่พบบริเวณปลายนิ้วมือนิ้วเท้า ทั้ง 20 นิ้ว ลักษณะโครงสร้างของเล็บสามารถ แบ่งออกได้เป็นส่วนต่างๆ ดังนี้
          1) เนล เพลท (Nail Plate) คือ แผ่นเล็บประกอบด้วย เซลล์ที่ตายแล้ว (Dead Keratinized Plate) เล็บจะยาวและงอกใหม่ตลอดเวลาเคราติน (Keratin) ที่เล็บต่างจากเคราตินของผิวหนัง คือ ฮาร์ด เคราติน (Hard Keratin) จะพบที่แผ่นเล็บและเส้นผมหรือขน (Hairs) ซึ่งแข็งจะไม่หลุดลอกไปเอง จะต้องตัดออก ส่วนผิวหนังของร่างกายจะเป็น ซอฟท์ เคราติน (Soft Keratin) ลักษณะจะหลุดออกไปเป็นขี้ไคลเองตามธรรมชาติ
          แผ่นเล็บถูกสร้างจากเนล แมททริก (Nail Matrix) หรือตัวสร้างเล็บ และวางตัวอยู่บนเนล เบด (Nail Bed) หรือเนื้อเยื่อใต้แผ่นเล็บ จะยึดติดกันแน่นไม่แยกจากกันตั้งแต่พร็อกซิมอล พาร์ท (Proximal Part) หรือโคนเล็บ ไปจนถึงดิสทอล พาร์ท (Distal Part) หรือส่วนปลายเล็บ ก็จะแยกออกจากกัน ตำแหน่งนี้เรียกว่า ไฮโพนิคเคียม (Hyponychium) หรือผิวหนังบริเวณแผ่นเล็บที่แยกตัวออกจากเนื้อเยื่อใต้เล็บ ส่วนสีเล็บค่อนข้างขาวและแข็งที่ยาวออกไปพ้นปลายเล็บและไม่ติดกันกับเนื้อเยื่อรองรับเล็บสามารถตัดได้ เรียกว่า ฟรี เอจ (Free Edge)
          บริเวณโคนเล็บของแผ่นเล็บจะพบส่วนที่เป็นรูปเสี้ยวพระจันทร์ (Half Moon-shaped  Area)  สีขาวขุ่นๆ (Opaque White) เรียกว่า ลูนูลา (Lunula) คือ ส่วนของตัวสร้างเล็บที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งที่แผ่นเล็บยึดกับเนื้อเยื่อใต้แผ่นเล็บอย่างหลวมๆ และแยกออกจากกันได้ไม่ยาก
2) อิโพนิคเคียม (Eponychium) คือ หนังที่ปกคลุมเล็บ เป็นชั้นกำพร้าสตราตัม คอร์เนียม (Stratum Corneum)  ที่ยื่นออกมาคลุมเหนือแผ่นเล็บใต้หนังที่ปกคลุมเล็บ จะมีคิวติเคิล (Cuticle) หรือหนังรอบเล็บ คือ ผิวหนังใสที่ยื่นปกคลุมโคนเล็บ (ที่มา : e-learning คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หัวข้อ ผลิตภัณฑ์สำหรับเล็บ โดย กรกช กังวาลทัศน์)
2) พร็อกซิมอล เนล โฟลด์ (Proximal nail fold) คือผิวหนังที่ปกคลุมโคนเล็บของแผ่นเล็บไว้ปกคลุมประมาณ 1/4 ของความยาวแผ่นเล็บทั้งหมด โดยชั้นผิวหนังสตราตัม คอร์เนียมนี้ จะเห็นเป็นเยื่อขาวๆ ทำหน้าที่ช่วยยึดผิวหนังที่ปกคลุมโคนเล็บให้ติดกับแผ่นเล็บมากยิ่งขึ้น  บริเวณนี้มีชื่อเรียกว่าคิวติเคิล Cuticle
3) ลาเทอรอล เนล โฟลด์ (Lateral Nail Folds) คือ ผิวหนังที่ปกคลุมด้านข้างทั้งซ้ายและขวาของแผ่นเล็บ ทำให้แผ่นเล็บถูกปกคลุมด้วยผิวหนังตลอด 3 ด้าน คือพร็อกซิมอล (Proximal) ถูกปกคลุมพร็อกซิมอล เนล โฟลด์และด้านข้างทั้ง 2 ด้านปกคลุมด้วยลาเทอรอล เนล โฟลด์ เหลือเพียงด้านดิสทอล เอนด์ (Distal End) หรือปลายเล็บด้านเดียวที่ไม่มีผิวหนังปกคลุม และเป็นด้านที่เล็บจะยาวออกไป
4) เนล แมททริก (Nail Matrix) คือ ตัวสร้างเล็บ จะอยู่ใต้ต่อจากพร็อกซิมอล เนล โฟลด์ ประกอบไปด้วยเซลล์ต่างๆ ได้แก่ เคราติโนไซท์ (Keratinocyte) เป็นตัวสร้างเล็บ (Keratinization) ให้ยาวงอกออกไป ส่วนเซลล์อื่นๆ คือเคราติโนไซท์ ผลิตเมลานิน (Melanin) ทำให้เห็นเป็นแถบดำๆ ของแผ่นเล็บได้  พบในคนแอฟริกันและคนเอเซียเป็นส่วนใหญ่  
5) เนล เบด (Nail Bed) คือ เนื้อเยื่อที่อยู่ใต้แผ่นเล็บและยึดติดแน่นกับแผ่นเล็บ ประกอบด้วยเซลล์เรียงตัว 2-5 ชั้น ถ้าเล็บยาวออกไปส่วนนี้ยังคงยึดอยู่กับเล็บ ลักษณะมีสีออกชมพู
6) ไฮโพนิคเคียม (Hyponychium) คือ ผิวหนังบริเวณที่แผ่นเล็บแยกตัวออกจากเนื้อเยื่อที่อยู่ใต้แผ่นเล็บทำให้สามารถตัดเล็บได้บริเวณตำแหน่งนี้
อัตราการยาวของเล็บจะไม่เท่ากันในแต่ละเล็บ จากการศึกษาพบว่า
1) เล็บมือจะยาวกว่าเล็บเท้า โดยเฉลี่ยเล็บมือจะยาวประมาณ 3 มิลลิเมตรต่อเดือน สำหรับเล็บนิ้วเท้าจะยาวประมาณ 1 มม. ต่อเดือน หากทำการถอดเล็บออก การงอกของเล็บใหม่จนยาวเต็มแผ่นเล็บสำหรับเล็บนิ้วมือ จะใช้เวลาประมาณ 100-180 วันหรือประมาณ 6 เดือน และในการงอกของเล็บใหม่จนยาวเต็มแผ่นเล็บสำหรับเล็บนิ้วเท้าจะใช้เวลาประมาณ 12-18 เดือน
2) ตอนแรกเกิดเล็บจะยาวช้า และยาวเร็วเมื่ออายุ 20-30 ปี  หลังจากนี้จะยาวช้าลง
3) การเจ็บป่วย (Systemic illness) การขาดอาหาร (Malnutrition) โรคของระบบหลอดเลือด หรือเส้นประสาท การกินยา เคมีบำบัด (Chemotherapy) และการติดเชื้อราที่เล็บ (Onychomycosis) ก็จะทำให้เล็บยาวช้าลง
4) ภาวะที่กระตุ้นให้เล็บยาวเร็วขึ้น คือ การตั้งครรภ์ อุบัติเหตุบริเวณนิ้ว โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) การรับประทานยา Retinoids และ Itraconazole
หน้าที่ของเล็บ
1) ป้องกัน (Protection) อันตรายที่จะเกิดต่อนิ้วส่วนปลาย
2) รับความรู้สึก
3) ทำให้นิ้วมือสามารถหยิบจับสิ่งของได้ดี โดยเฉพาะสิ่งของที่มีขนาดเล็ก
4) เป็นอาวุธของร่างกายอย่างหนึ่งตามธรรมชาติ ในการขีด ข่วน เพื่อต่อสู้กับอันตราย
5) เล็บนิ้วเท้ายังช่วยให้การเคลื่อนไหวของเท้าได้ดียิ่งขึ้น
6) เป็นแหล่งบ่งบอกอาการเจ็บป่วยของร่างกาย เช่น Beau's tine  เล็บก็จะหยุดการเจริญเติบโตทำให้เห็นเป็นร่องของเล็บ
(ที่มา : ศูนย์ผลิตและพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา CAI. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. สอบข้อเขียน ปรนัย 4 ตัวเลือก
2. สาธิตการปฏิบัติงาน



ยินดีต้อนรับ