หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมเครื่องไสสันทากาวให้พร้อมในงานไสสันทากาว

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-AFP-2-081ZA

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมเครื่องไสสันทากาวให้พร้อมในงานไสสันทากาว

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างไสสันทากาว



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           มีความรู้ความสามารถในการปรับตั้งเครื่องไสสันทากาวทุกประเภท  โดยปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ได้ถูกต้อง ตามคู่มือการใช้เครื่อง และมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดในองค์กร สามารถเลือกวัสดุ เครื่องมือ และวิธีการปฏิบัติงานไสสันทากาวด้วยเครื่องไสสันทากาวได้อย่างเหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องดำเนินการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
402041 ปรับตั้งชุดป้อนปก 1.1 ปรับตั้งความยาวปกที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้องตรงกับลักษณะตัวอย่างหนังสือ 402041.01 75777
402041 ปรับตั้งชุดป้อนปก 1.2 ปรับตั้งฉากข้างที่ชุดป้อนปกเพื่อป้อนปกให้ได้ฉากอย่างถูกต้อง 402041.02 75784
402041 ปรับตั้งชุดป้อนปก 1.3 ปรับตั้งระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน (creasing ) ที่ชุดป้อนปกได้ถูกต้อง 402041.03 75785
402041 ปรับตั้งชุดป้อนปก 1.4 ปรับตั้งจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปกให้ถูกต้องและพอดีกับจังหวะป้อนเนื้อในหนังสือ 402041.04 75786
402042 ปรับตั้งส่วนป้อนเนื้อใน 2.1 ปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในได้ถูกต้อง 402042.03 75778
402042 ปรับตั้งส่วนป้อนเนื้อใน 2.2 ปรับระยะช่องป้อนเนื้อใน (กรณีป้อนมือ) ได้ถูกต้อง 402042.01 75787
402042 ปรับตั้งส่วนป้อนเนื้อใน 2.3 ปรับจังหวะและความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่องได้ถูกต้อง 402042.02 75788
402043 ปรับตั้งส่วนไสสัน 3.1 ปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษ (blower) จากการไสสันทากาวได้ถูกต้อง 402043.01 75779
402043 ปรับตั้งส่วนไสสัน 3.2 ปรับตั้งระยะลึกของการไสสันได้ถูกต้อง 402043.02 75789
402044 ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่ม 4.1 ปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่มได้ถูกต้อง 402044.01 75780
402045 เตรียมชุดอ่างกาว 5.1 เตรียมอ่างกาวสันได้ถูกต้อง 402045.01 75781
402045 เตรียมชุดอ่างกาว 5.2 เตรียมอ่างกาวข้างได้ถูกต้อง 402045.02 75790
402045 เตรียมชุดอ่างกาว 5.3 ปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาวได้ถูกต้องเพื่อให้กาวมีความหนืดที่เหมาะสมและไหลได้ต่อเนื่อง 402045.03 75791
402045 เตรียมชุดอ่างกาว 5.4 ปรับตั้งความหนาของชั้นกาวได้ถูกต้องตามข้อกำหนดและลักษณะหนังสือที่จะไสสันทากาว 402045.04 75792
402045 เตรียมชุดอ่างกาว 5.5 ปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือได้ถูกต้อง 402045.05 75793
402045 เตรียมชุดอ่างกาว 5.6 ปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาว ให้กาวหลอมเหลว (premelt ) ได้ถูกต้อง 402045.06 75794
402046 เตรียมชุดมีไสสัน 6.1 เลือกชุดมีดให้เหมาะกับลักษณะงาน ได้ถูกต้อง 402046.04 75782
402046 เตรียมชุดมีไสสัน 6.2 ปรับตั้งมีดไสสันได้ถูกต้อง 402046.01 75795
402046 เตรียมชุดมีไสสัน 6.3 ปรับตั้งมีดเซาะร่องได้ถูกต้อง 402046.02 75796
402046 เตรียมชุดมีไสสัน 6.4 ปรับตั้งแปรงปัดฝุ่นได้ถูกต้อง 402046.03 75797
402047 เตรียมชุดหนีบสัน 7.1 ปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือได้ถูกต้อง 402047.01 75783
402047 เตรียมชุดหนีบสัน 7.2 ปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัดได้ถูกต้อง 402047.02 75798
402047 เตรียมชุดหนีบสัน 7.3 ปรับตั้งแรงกดสันได้ถูกต้อง 402047.03 75799
402047 เตรียมชุดหนีบสัน 7.4 ปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้านได้ถูกต้อง 402047.04 75800

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

- มีประสบการณ์ทำงานด้านการไสสันทากาวมาไม่น้อยกว่า 3 ปี



- ผ่านสมรรถนะ 40201 ปฎิบัติงานไสสันทากาว


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องไสสันทากาวอย่างถูกวิธี



2. ความสามารถในการใช้งานเครื่องไสสันทากาวอย่างถูกต้อง



3. ความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือในการปรับตั้งเครื่องไสสันทากาวได้อย่างเหมาะสม

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของเครื่องไสสันทากาว



2.  ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง ส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องไสสันทากาว



3. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเครื่องไสสันทากาว



4.  ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบทำเล่มหนังสือด้วยวิธีการไสสันทากาว



5. ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนไสสันทากาว



6.  ความรู้เกี่ยวกับประเภทของกาวที่ใช้กับงานไสสันทากาว


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

      หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



   1.  บันทึกรายการจากการสังเกต



   2.  บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



   3. ความถูกต้องของการปรับตั้งความยาวปก ฉากข้าง ระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน และจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปก



   4. ความถูกต้องของการปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในที่ถูกต้อง



   5. ความถูกต้องของการปรับระยะช่องป้อนเนื้อใน (กรณีป้อนมือ)  



   6. ความถูกต้องของการปรับจังหวะ/ความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่อง 



   7. ความถูกต้องของการปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษจากการไสสันทากาว   



   8. ความถูกต้องของการเตรียมอ่างกาวสัน



   9. ความถูกต้องของการเตรียมอ่างกาวข้าง



   10. ความถูกต้องของการปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาว



   11. ผลจากการปรับตั้งความหนาของชั้นกาวถูกต้อง



   12. ผลจากการปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือถูกต้อง



   13. ผลจากการปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาวถูกต้อง



   14. ชุดมีดที่เหมาะกับลักษณะงาน



   15. ผลจากการปรับตั้งมีดไสสันถูกต้อง



   16. ผลจากการปรับตั้งมีดเซาะร่องถูกต้อง



   17. ผลจากการปรับตั้งแปรงปัดฝุ่นถูกต้อง



   18. ผลจากการปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือถูกต้อง



   19. ผลจากการปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัดถูกต้อง



   20. ผลจากการปรับตั้งแรงกดสันถูกต้อง



   21. ผลจากการปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้านถูกต้อง



   22. ผลงานเล่มหนังสือที่ได้จากการไสสันทากาว



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



   1.   แบบสัมภาษณ์



   2.  แบบทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



   ในการประเมินทักษะการเตรียมเครื่องไสสันทากาวควรระบุประเภทเครื่องไสสันทากาวที่ใช้ทดสอบ และมีคู่มือการใช้เครื่องไสสันทากาวประกอบการทดสอบด้วย



(ง) วิธีการประเมิน



       1. การประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบและการสัมภาษณ์



       2. การประเมินทักษะจากการประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยใช้การสังเกต และใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก)  คำแนะนำ



    1.  เครื่องไสสันทากาวมี 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องไสสันทากาวแบบป้อนมือ และป้อนอัตโนมัติต่อพ่วงกับเครื่องเก็บเล่ม



    2. การปรับตั้งส่วนประกอบต่าง ๆ ของเครื่องไสสันทากาว ควรมีการใช้เครื่องมือปรับตั้งที่เหมาะสมกับการปรับตั้งแต่ละขั้นตอน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



  1. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งความยาวปก ฉากข้าง ระยะกรีดสันของล้อกรีดสัน และจังหวะป้อนปกของชุดป้อนปกขึ้นกับรูปเล่มหนังสือที่จะไสสันทากาว



  2.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุปกรณ์เขย่าเนื้อในขึ้นกับความหนาของหนังสือที่จะไสสันทากาว



 3.  วิธีการและขั้นตอนการปรับระยะช่องป้อนเนื้อในขึ้นกับความหนาของหนังสือที่จะไสสันทากาว   



 4.  วิธีการและขั้นตอนการปรับจังหวะ/ความเร็วการป้อนเนื้อในใส่เครื่อง



 5.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งชุดลมดูดฝุ่นและฝอยกระดาษจากการไสสัน



6.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งระบบป้อนเนื้อในที่ส่งมาจากเครื่องเก็บเล่ม



7. วิธีการและขั้นตอนการเตรียมอ่างกาวสัน



8. วิธีการและขั้นตอนการเตรียมอ่างกาวข้าง



9.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุณหภูมิหลอมกาวให้กาวมีความหนืดที่เหมาะสมและไหลได้ต่อเนื่อง



10. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งความหนาของชั้นกาวตามข้อกำหนดและลักษณะหนังสือที่จะไสสันทากาว



11. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งระยะความยาวของหนังสือ



12.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งอุณหภูมิหม้ออุ่นกาว



13.  การเลือกชุดมีดที่เหมาะกับลักษณะงานขึ้นกับชนิดกระดาษเนื้อใน และความหนาของหนังสือ



14.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งมีดไสสัน



15. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งมีดเซาะร่อง



16. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งแปรงปัดฝุ่น



17.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งแคลมป์หนีบตามความหนาของหนังสือ



18. วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งความกว้างช่องทางเดินหนังสือเพื่อประคองไม่ให้เล่มล้ม/ติดขัด



19.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งแรงกดสัน



20.  วิธีการและขั้นตอนการปรับตั้งระบบส่งหนังสือที่ไสกาวแล้วไปที่เครื่องตัดเจียนสามด้าน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)



    1. การสัมภาษณ์ (รายละเอียดตามคู่มือการประเมิน หน้า......)

    2. การทดสอบโดยข้อสอบ (รายละเอียดตามคู่มือประเมินหน้า.......)

    3. การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน





ยินดีต้อนรับ