หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-BFLF-059B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง


6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถเตรียมหลักสูตรและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ทำการรวบรวมเนื้อหา เพื่อพัฒนาเนื้อหา ให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีกระบวนการในการเตรียมหลักสูตร ค้นหาแหล่งข้อมูล และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา และรวบรวมเนื้อหา ออกมาเป็นเอกสารหลักสูตร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบเนื้อหา นักพัฒนาคอร์สแวร์ นักพัฒนาระบบจัดการเรียนรู้ ครู อาจารย์ นักการศึกษา

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
51101.01 เตรียมหลักสูตรและ แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.1 กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ให้ตรงกับความต้องการและเหมาะสมกับช่วงวัยของกลุ่มผู้เรียนเป้าหมาย 51101.01.01 120747
51101.01 เตรียมหลักสูตรและ แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง 1.2 กำหนดกรอบโครงสร้างขอบเขต หัวข้อและเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด 51101.01.02 120748
51101.02 ค้นหาแหล่งข้อมูล ของเนื้อหา 2.1 ค้นหาข้อมูล ตามโครงสร้างที่ได้ออกแบบไว้ในขั้นเตรียมหลักสูตร ให้ครอบคลุมหัวข้อและกิจกรรมตามโครงสร้างและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด 51101.02.01 120744
51101.02 ค้นหาแหล่งข้อมูล ของเนื้อหา 2.2 รวบรวมเทคนิคและกิจกรรมในการเรียนรู้จากครู อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหา 51101.02.02 120745
51101.02 ค้นหาแหล่งข้อมูล ของเนื้อหา 2.3 รวบรวมสื่อการเรียนรู้ที่มีอยู่ในแหล่งการเรียนรู้แบบ e - Learning และสามารถนำมาใช้ได้ถูกกฎหมายลิขสิทธิ์ 51101.02.03 120746
51101.03 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลของเนื้อหา 3.1 ระบุวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล 51101.03.01 120742
51101.03 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลของเนื้อหา 3.2 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลของเนื้อหา 51101.03.02 120743
51101.04 จัดทำเอกสารสรุปการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 4.1 สรุปข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อนำมาพัฒนาเนื้อหาบทเรียน คัดเลือกเนื้อหาจากจุดที่ควรค่าต่อการเรียนด้วยตนเอง 51101.04.01 120740
51101.04 จัดทำเอกสารสรุปการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 4.2 จัดทำรายงานข้อสรุปโครงการสร้างหลักสูตร พร้อมระบุแหล่งอ้างอิงที่มา 51101.04.02 120741

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถกำหนดเป้าหมายและเขียนวัตถุประสงค์ของวิธีการจัดการเรียนรู้



2. สามารถกำหนดกรอบโครงสร้างขอบเขต หัวข้อและเนื้อหาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนด



3. สามารถค้นหาข้อมูลให้ครอบคลุมหัวข้อและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง



4. สามารถรวบรวมเทคนิคและกิจกรรมในการเรียนรู้



5. สามารถรวบรวมสื่อที่เกี่ยวข้องกับบทเรียน



6. สามารถระบุวิธีการตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูลของเนื้อหา 



7. สามารถบอกแหล่งอ้างอิงของข้อมูล



8. สามารถสรุปโครงสร้างหลักสูตร 



9. สามารถจัดทำรายงานผลการรวบรวมเนื้อหา



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดเป้าหมาย



2. ความรู้เกี่ยวกับการเขียนวัตถุประสงค์ 



3. ความรู้เกี่ยวกับการกำหนดโครงสร้างเนื้อหา



4. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิควิธีจัดการเรียนรู้



5. ความรู้เกี่ยวกับการเทคนิคการสืบค้นและการอ้างอิงทางวิชาการ



6. ความรู้เกี่ยวกับการจัดการองค์ความรู้



7. ความรู้เกี่ยวกับลิขสิทธิ์ทางปัญญา



8. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบความน่าเชื่อถือข้อมูล



9. ความรู้เกี่ยวกับหลักการพัฒนาหลักสูตร



10. ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำรายงานผลการรวบรวมเนื้อหา



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



      1. เอกสารการบันทึกรายงานผลกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้



      2. เอกสารการแสดงโครงสร้างบทเรียนและแหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่



      3. เอกสารการบันทึกการตรวจสอบเนื้อหา



      4. เอกสารรายงานสรุปผลการรวบรวมเนื้อหา



      5. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางด้านการจัดเตรียมหลักสูตรและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การรวบรวม เนื้อหาที่นำไปพัฒนาบทเรียน e-Learning



   (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



      1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการจัดเตรียมหลักสูตรและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การรวบรวมเนื้อหาที่นำไปพัฒนาบทเรียน e-Learning



   (ค) คำแนะนำในการประเมิน



       หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน



1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน การสอบสัมภาษณ์ และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

   ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงรายงานผลการประเมินความต้องการ คุณลักษณะของผู้เรียน โครงร่างของเนื้อหา



  (ข) คำอธิบายรายละเอียด 



      1. กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ (Determine Goals and Objectives) คือการตั้งเป้าหมายว่าผู้เรียนจะสามารถใช้บทเรียนเพื่อศึกษาในเรื่องใดและในลักษณะใดเป็นบทเรียนหลัก บทเรียนเสริม แบบฝึกหัดเพิ่มเติม เป็นต้น วัตถุประสงค์ คือ เมื่อผู้เรียนเรียนจบแล้ว จะสามารถทำอะไรได้บ้าง ในการกำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์



      2. กำหนดกรอบโครงสร้างขอบเขต หัวข้อและเนื้อหาสอดคล้อง ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ได้แก่การกำหนดจากงานที่ผู้เรียนต้องทำ การจากพฤติกรรมที่ต้องการให้แสดงออก



      3. ค้นหาแหล่งข้อมูลของเนื้อหา หมายถึง การค้นหาส่วนเนื้อหา เช่น หนังสือเอกสารทางวิชาการ การพัฒนาและออกแบบบทเรียน เช่น หนังสือแบบเรียน และสื่อในการนำเสนอบทเรียน สื่อสำหรับการทำกราฟิก โดยต้องไม่มีการละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา



      4. การรวบรวมเทคนิคและกิจกรรมในการเรียนรู้จากครู อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญในเนื้อหา ได้แก่การสัมภาษณ์ การถอดองค์ความรู้ในเรื่องวิธีการสอนครบทุกหัวข้อ



      5. การตรวจความน่าเชื่อถือ ได้แก่ ความทันสมัยของเนื้อหา การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้เขียน ตรวจสอบการอ้างอิง



      6. จัดทำเอกสารสรุปการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การระบุเป้าหมาย หัวข้อเรื่องที่ต้องการ โครงสร้างของเนื้อหา เอกสารของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ระบุสื่อที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบในการสร้างบทเรียน และแหล่งอ้างอิงประกอบ



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้  



เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย



     1. สมรรถนะย่อย 51101.01 เตรียมหลักสูตรและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    2. สมรรถนะย่อย 51101.02 ค้นหาแหล่งข้อมูลของเนื้อหา ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    3. สมรรถนะย่อย 51101.03 ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลของเนื้อหา ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    4. สมรรถนะย่อย 51101.04 จัดทำเอกสารสรุปการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



 


ยินดีต้อนรับ