หน่วยสมรรถนะ
สร้างเสียงเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-ZIBQ-069B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | สร้างเสียงเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
อาชีพนักพัฒนาคอร์สแวร์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้ที่สามารถวางแผน บันทึก ตกแต่ง และผสมเสียงโดยใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้าน e-learning |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
51303.01 วางแผนผลิตเสียงประกอบบทเรียน | 1.1 วิเคราะห์ข้อมูลการลิตสื่อเสียงตรงตามเนื้อหา | 51303.01.01 | 120644 |
51303.01 วางแผนผลิตเสียงประกอบบทเรียน | 1.2 วางแผนการใช้สื่อเสียงประกอบการเรียนรู้ ได้ตรงตามเนื้อหา | 51303.01.02 | 120645 |
51303.02 บันทึกเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 2.1 วางแผนการบันทึกเสียง | 51303.02.01 | 120642 |
51303.02 บันทึกเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 2.2 บันทึกเสียง | 51303.02.02 | 120643 |
51303.03 แต่งเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 3.1 วางแผนการแต่งเสียง | 51303.03.01 | 120640 |
51303.03 แต่งเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 3.2 แต่งเสียง | 51303.03.02 | 120641 |
51303.04 ตัดต่อผสมเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 4.1 วางแผนการตัดต่อผสมเสียง | 51303.04.01 | 120635 |
51303.04 ตัดต่อผสมเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ | 4.2 ตัดต่อผสมเสียง | 51303.04.02 | 120636 |
51303.05 ตรวจสอบและนำส่งเสียงไปใช้ได้เหมาะสมกับงาน | 5.1 เลือกลักษณะไฟล์นำส่งงานเสียง | 51303.05.01 | 120633 |
51303.05 ตรวจสอบและนำส่งเสียงไปใช้ได้เหมาะสมกับงาน | 5.2 ตรวจสอบเสียงและนำส่งเสียงไปใช้งาน | 51303.05.02 | 120634 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1. ความรู้เกี่ยวกับหลักการของเสียง 2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์บันทึกเสียง |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตสื่อเสียง 2. สามารถวางแผนการใช้สื่อเสียงประกอบการเรียนรู้ 3. สามารถวางแผนการบันทึกเสียง 4. สามารถบันทึกเสียง 5. สามารถวางแผนการแต่งเสียง 6. สามารถแต่งเสียง 7. สามารถวางแผนการตัดต่อผสมเสียง 8. สามารถตัดต่อผสมเสียง 9. สามารถเลือกลักษณะไฟล์นำส่งงานเสียง 10. สามารถตรวจสอบเสียงและนำส่งเสียงไปใช้งาน (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลการลิตสื่อเสียง 2. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการใช้สื่อเสียงประกอบการเรียนรู้ 3. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการบันทึกเสียง 4. ความรู้เกี่ยวกับการบันทึกเสียง 5. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการแต่งเสียง 6.ความรู้เกี่ยวกับการแต่งเสียง 7. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการตัดต่อผสมเสียง 8. ความรู้เกี่ยวกับการตัดต่อผสมเสียง 9. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกลักษณะไฟล์นำส่งงานเสียง 10. ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบเสียงและนำส่งเสียงไปใช้งาน |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารการวิเคราะห์สื่อเสียง 2. ผลงานไฟล์เสียงจากการบันทึก 3. ผลงานไฟล์เสียงที่ผ่านการแต่งเสียง 4. ผลงานไฟล์เสียงที่ผ่านการตัดต่อผสมเสียง 5. ผลงานการนำส่งไฟล์เสียงสำหรับการใช้งาน 6. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. การทำแบบทดสอบภาคทฤษฎี 2. การบันทึกการสัมภาษณ์ 3. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง (ค) คำแนะนำในการประเมิน หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง 1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง 2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ 3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ง) วิธีการประเมิน 1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน 2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน การสอบสัมภาษณ์และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ในการปฎิบัติงานให้คำนึงถึงการวางแผน กระบวนการ และผลลัพธ์ในการพัฒนาภาพนิ่งประกอบการเรียนรู้ (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. วางแผนผลิตเสียง ได้แก่ การวิเคราะห์สคริปท์ แล้วจัดทำแผนผลิตภาพนิ่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ 2. บันทึกเสียง ได้แก่ การใช้อุปกรณ์การบันทึกเสียง และใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกเสียงได้ตามสคริปท์ 3. แต่งเสียง ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์การแต่งเสียง แต่งเสียงได้ตามสคริปท์ 4. ตัดต่อผสมเสียง ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องผสมเสียง ตัดต่อผสมเสียงได้ตามสคริปท์ 5. ตรวจสอบและนำส่งเสียง ได้แก่ การตรวจสอบลักษณะของเสียง นามสกุลเสียงเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
50404 ใส่เสียงประกอบภาพเคลื่อนไหว* |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
Animation |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย 1. สมรรถนะย่อย 51303.01 วางแผนผลิตเสียงประกอบบทเรียน ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน 2. สมรรถนะย่อย 51303.02 บันทึกเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน 3. สมรรถนะย่อย 51303.03 แต่งเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน 4. สมรรถนะย่อย 51303.04 ตัดต่อผสมเสียงด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน 5. สมรรถนะย่อย 51303.05 ตรวจสอบและนำส่งเสียงไปใช้ได้เหมาะสมกับงาน ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน |