หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

สร้างภาพนิ่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-HHVL-067B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ สร้างภาพนิ่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักพัฒนาคอร์สแวร์ 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   เป็นผู้ที่สามารถวางแผน ถ่ายภาพ และสร้างภาพนิ่งจากคอมพิวเตอร์กราฟิก เพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้ได้ตามสตอรี่บอร์ด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพด้าน e-learning

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
51301.01 วางแผนผลิตภาพนิ่งประกอบบทเรียน 1.1 วิเคราะห์ข้อมูลจากสตอรี่บอร์ดที่เกี่ยวข้องกับสื่อภาพนิ่ง 51301.01.01 120660
51301.01 วางแผนผลิตภาพนิ่งประกอบบทเรียน 1.2 วางแผนการใช้สื่อภาพนิ่งประกอบการเรียนรู้ ได้ตรงตามสตอรี่บอร์ด 51301.01.02 120661
51301.02 ถ่ายภาพนิ่งโดยใช้กล้องถ่ายภาพ 2.1 วางแผนการถ่ายภาพนิ่ง 51301.02.01 120658
51301.02 ถ่ายภาพนิ่งโดยใช้กล้องถ่ายภาพ 2.2 ถ่ายภาพนิ่ง 51301.02.02 120659
51301.03 วาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3.1 วางแผนวาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 51301.03.01 120656
51301.03 วาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 3.2 ปฏิบัติการวาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ 51301.03.02 120657
51301.04 ตรวจสอบและนำส่งภาพไปใช้ได้เหมาะสมกับงาน 4.1 เลือกลักษณะไฟล์นำส่งงานภาพ 51301.04.01 120654
51301.04 ตรวจสอบและนำส่งภาพไปใช้ได้เหมาะสมกับงาน 4.2 ตรวจสอบภาพและนำส่งภาพไปใช้งาน 51301.04.02 120655

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบสื่อ 



2. ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบศิลป์



 

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจากสตอรี่บอร์ดที่เกี่ยวข้องกับสื่อภาพนิ่ง



2. สามารถวางแผนการใช้สื่อภาพนิ่งประกอบการเรียนรู้ 



3. สามารถวางแผนการถ่ายภาพนิ่ง



4. สามารถถ่ายภาพนิ่ง



5. สามารถวางแผนวาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์



6. สามารถปฏิบัติการวาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์



7. สามารถเลือกลักษณะไฟล์นำส่งงานภาพ



8. สามารถตรวจสอบภาพและนำส่งภาพไปใช้งาน



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

 1. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลจากสตอรี่บอร์ด



 2. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการใช้สื่อภาพนิ่งประกอบการเรียนรู้ 



 3. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการถ่ายภาพนิ่ง



 4. ความรู้เกี่ยวกับการถ่ายภาพนิ่ง



 5. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนวาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์



 6. ความรู้เกี่ยวกับการวาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์



 7. ความรู้เกี่ยวกับการเลือกลักษณะไฟล์นำส่งงานภาพ



 8. ความรู้เกี่ยวกับตรวจสอบภาพและนำส่งภาพไปใช้งาน



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



    (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



 1. เอกสารการวิเคราะห์สื่อภาพนิ่ง



         2. ผลงานภาพถ่ายประกอบสื่อการเรียนรู้



         3. ผลงานภาพกราฟิก



         4. ผลงานการนำส่งไฟล์ภาพสำหรับการใช้งาน



         5. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่ เกี่ยวข้องกับสมรรถนะ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



    1. การทำแบบทดสอบภาคทฤษฎี



            2. การบันทึกการสัมภาษณ์



  3. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง



 (ค) คำแนะนำในการประเมิน



    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



   1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



   2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



   3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



 (ง) วิธีการประเมิน



   1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



   2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน การสอบสัมภาษณ์และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



     ในการปฎิบัติงานให้คำนึงถึงการวางแผน กระบวนการ และผลลัพธ์ในการพัฒนาภาพนิ่งประกอบการเรียนรู้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



     1. วางแผนผลิตภาพนิ่ง ได้แก่ การวิเคราะห์สตอรี่บอร์ด แล้วจัดทำแผนผลิตภาพนิ่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้



     2. การถ่ายภาพนิ่ง ได้แก่ ทักษะการใช้กล้องถ่ายภาพ และเทคนิคการถ่ายภาพที่เหมาะสมเพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้



     3. วาดภาพกราฟิก ได้แก่ ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการสร้าง ตัดต่อ ตกแต่งภาพ เพื่อใช้ประกอบการเรียนรู้



     4. ตรวจสอบและนำส่งภาพ ได้แก่ การตรวจสอบลักษณะของภาพนิ่ง นามสกุลภาพ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนรู้



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
50204  ออกแบบตัวละครและเสื้อผ้า50206  ออกแบบกราฟิก*  

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
Animation

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

     เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย



    1. สมรรถนะย่อย 51301.01 วางแผนผลิตภาพนิ่งประกอบบทเรียน ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    2. สมรรถนะย่อย 51301.02 ถ่ายภาพนิ่งโดยใช้กล้องถ่ายภาพ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    3. สมรรถนะย่อย 51301.03 วาดภาพกราฟิกด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    4. สมรรถนะย่อย 51301.04 ตรวจสอบและนำส่งภาพไปใช้ได้เหมาะสมกับงาน ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน





 


ยินดีต้อนรับ