หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เรียบเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-MDOR-061B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เรียบเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

 อาชีพนักออกแบบเนื้อหา                   



 อาชีพนักพัฒนาคอร์สแวร์                              อาชีพนักพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    เป็นผู้ที่สามารถเขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการและตรวจสอบความถูกต้องการเขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบเนื้อหา ครู อาจารย์ นักการศึกษา  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
51103.01 เขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ 1.1 ระบุส่วนประกอบของงานเขียนวิชาการ 51103.01.01 120725
51103.01 เขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ 1.2 จัดลำดับการเขียนงานวิชาการ 51103.01.02 120726
51103.01 เขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ 1.3 เขียนเนื้อหา 51103.01.03 120727
51103.02 ตรวจสอบความถูกต้องการเขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ 2.1 สร้างแบบประเมินเพื่อการตรวจสอบ 51103.02.01 120723
51103.02 ตรวจสอบความถูกต้องการเขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ 2.2 ประเมินความเที่ยงตรงระหว่างวัตถุประสงค์กับเนื้อหา 51103.02.02 120724

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  สามารถระบุส่วนประกอบของงานเขียนวิชาการ



2.  สามารถจัดลำดับการเขียนงานวิชาการ



3.  สามารถเขียนเนื้อหาตามหลักวิชาการ



4.  สามารถตรวจสอบความถูกต้องที่ใช้ในเนื้อหา



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับการจัดลำดับการเขียนงานวิชาการเพื่อสร้างใบเนื้อหา



2.  ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบของงานเขียนวิชาการเพื่อสร้างใบเนื้อหา 



3.  ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาในการเขียนงานวิชาการเพื่อสร้างใบเนื้อหา



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1.  เอกสารใบเนื้อหา



2.  เอกสารคำสอน



3.  แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางด้านการเรียบเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้



    (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1.  แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการเรียบเรียงเนื้อหาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการเรียนรู้



    (ค) คำแนะนำในการประเมิน



หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



1.  ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2.  กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



3.  ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



    (ง) วิธีการประเมิน



1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน การสอบสัมภาษณ์ และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



     ในการปฎิบัติงานให้คำนึงถึงระบุส่วนประกอบของงานเขียนวิชาการ จัดลำดับการเขียนงานวิชาการ เขียนเนื้อหาตามหลักวิชาการ ตรวจสอบความถูกต้องที่ใช้ในเนื้อหา



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 



     1. กำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา โดยใช้เกณฑ์การกำหนดเนื้อหา ได้แก่ นำเนื้อหาทั้งหมด มาจัดลำดับก่อนหลังเป็นหมวดหมู่ ประกอบด้วยผังแสดงลำดับเนื้อหา การสร้างใบเนื้อหา



     2. การตรวจสอบความถูกต้องได้แก่ ตรวจความเที่ยงตรงระหว่างเนื้อหาสอดคล้องวัตถุประสงค์



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย 



     1. สมรรถนะย่อย 51103.01 เขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



     2. สมรรถนะย่อย 51103.02 ตรวจสอบความถูกต้องการเขียนเนื้อหาตามหลักของงานเขียนวิชาการให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



 


ยินดีต้อนรับ