หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-YKXH-060B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักออกแบบเนื้อหา



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เป็นผู้ที่สามารถดำเนินการจัดเตรียมหลักสูตรและแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ค้นหาแหล่งข้อมูลของเนื้อหา ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลของเนื้อหา จัดทำเอกสารสรุปการรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
นักออกแบบเนื้อหา ครู อาจารย์ นักการศึกษา  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
ไม่มี

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
51102.01 กำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา 1.1 นำเนื้อหาทั้งหมด มาจัดลำดับ ก่อนหลังเป็นหมวดหมู่ 51102.01.01 120737
51102.01 กำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา 1.2 ประเมินความสำคัญของหัวข้อจากเนื้อหา 51102.01.02 120738
51102.01 กำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา 1.3 จัดโครงสร้างหลักสูตรวิชาตามมาตรฐานของหน่วยงาน 51102.01.03 120739
51102.02 เขียนวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ 2.1 กำหนดวัตถุประสงค์ได้สอดคล้องกับสภาพความต้องการขององค์กร หรือหน่วยงานที่เป็นเจ้าของบทเรียน 51102.02.01 120734
51102.02 เขียนวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ 2.2 กำหนดวัตถุประสงค์ครอบคลุม ด้านพุทธพิสัย ทักษะพิสัยและจิตพิสัย 51102.02.02 120735
51102.02 เขียนวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ 2.3 ประเมินวัตถุประสงค์ 51102.02.03 120736
51102.03 กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3.1 ระบุแนวทางการวัดและ ประเมินผลการเรียนรู้ 51102.03.01 120732
51102.03 กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3.2 ออกแบบวิธีประเมินผลการเรียนรู้ 51102.03.02 120733
51102.04 สรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 4.1 วิเคราะห์จำแนกเนื้อหาตามโครงสร้างหลักสูตรให้ได้ใจความ และปริมาณแต่ละเฟรมที่เหมาะสมกับรูปแบบการนำเสนอผ่านหน้าจอของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่กำหนด 51102.04.01 120730
51102.04 สรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง 4.2 วิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความคิดต่อยอดในการนำความรู้ไปใช้ หรือได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง 51102.04.02 120731
51102.05 สรุปกรอบแนวทางการพัฒนาเนื้อหา 5.1 จัดทำตารางสรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาในรูปแบบ Platform ที่แสดงความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์การเรียนรู้หัวข้อ เนื้อหา กิจกรรม รูปแบบสื่อที่ใช้ในการเรียนรู้ และกิจกรรมตามความเหมาะสมรวมถึงแหล่งข้อมูลในการเรียนรู้เพิ่มเติม 51102.05.01 120728
51102.05 สรุปกรอบแนวทางการพัฒนาเนื้อหา 5.2 ประมาณระยะเวลาในการใช้สื่อเพื่อเรียนรู้ให้เป็นไปตามพฤติกรรมผู้เรียนกับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ต่างๆ 51102.05.02 120729

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.  สามารถจัดลำดับเนื้อหาก่อนหลังเป็นหมวดหมู่



2.  สามารถประเมินความสำคัญของหัวข้อจากเนื้อหา



3.  สามารถจัดโครงสร้างหลักสูตรวิชาตามมาตรฐานของหน่วยงาน



4.  สามารถกำหนดวัตถุประสงค์ได้สอดคล้องกับสภาพความต้องการขององค์กร



5.  สามารถเขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้



6.  สามารถประเมินวัตถุประสงค์การเรียนรู้



7.  สามารถระบุแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้



8.  สามารถออกแบบวิธีประเมินผลการเรียนรู้



9.  สามารถวิเคราะห์รูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้



10.  สามารถจัดทำตารางสรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาในรูปแบบ Platform ที่แสดงความสัมพันธ์ของวัตถุประสงค์การเรียนรู้



11. สามารถประมาณระยะเวลาในการใช้สื่อเพื่อเรียนรู้ให้เป็นไปตามพฤติกรรมผู้เรียนกับการใช้งานผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.  ความรู้เกี่ยวกับการจัดลำดับเนื้อหา 



2.  ความรู้เกี่ยวกับการประเมินความสำคัญของเนื้อหา



3.  ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร 



4.  ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม



5.  ความรู้เกี่ยวกับการประเมินวัตถุประสงค์



6.  ความรู้เกี่ยวกับกลยุทธ์การประเมินผล 



7. ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบการวัดและประเมินผล



8. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกเนื้อหา



9. ความรู้เกี่ยวกับการประมาณระยะเวลาในการใช้สื่อ



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



   (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสารการบันทึกรายงานรายการหัวข้อจากเนื้อหา



2. เอกสารการบันทึกรายงานวัตถุประสงค์การเรียนรู้



3. เอกสารการบันทึกรายงานสรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง



4. เอกสารการบันทึกรายงานแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้



5. เอกสารการสรุปกรอบแนวทางการพัฒนาเนื้อหา



6. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับปฏิบัติการทางด้านการด้านการวิเคราะห์เนื้อหา



  (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



       1. แฟ้มสะสมผลงาน ได้แก่ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และเอกสารผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอบรมความรู้เกี่ยวกับการด้านการวิเคราะห์เนื้อหา



  (ค) คำแนะนำในการประเมิน



       หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง



1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง



2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ



3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



      (ง) วิธีการประเมิน



1. ทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียนและพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



2. ทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน การสอบสัมภาษณ์และพิจารณาเพิ่มเติมจากแฟ้มสะสมผลงาน



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ 



      ในการปฎิบัติงานให้คำนึงถึงกำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา เขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  สรุปกรอบแนวทางการพัฒนาเนื้อหา



(ข) คำอธิบายรายละเอียด 



     1. กำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา โดยใช้เกณฑ์การกำหนดเนื้อหา ได้แก่ นำเนื้อหาทั้งหมด มาจัดลำดับก่อนหลังเป็นหมวดหมู่ ประกอบด้วยผังแสดงลำดับเนื้อหา



     2. ประเมินความสำคัญของหัวข้อจากเนื้อหาโดยพิจารณาจากหัวข้อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาในการเรียน ส่งเสริมทักษะในการทำงาน และส่งเสริมเจตคติที่ดี



     3. จัดโครงสร้างหลักสูตรวิชาตามมาตรฐานของหน่วยงาน ได้แก่ วัตถุประสงค์การเรียนรู้ หัวข้อการเรียนการสอน กิจกรรมการสอน  คุณสมบัติผู้เรียน เป็นต้น



     4. เขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ มีขอบเขตดังนี้  วัตถุประสงค์ทั่วไป วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม



     5.  กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้  มีขอบเขตดังนี้ การประเมินประสิทธิภาพการเข้าถึงสื่อ การประเมินผลสัมฤทธิ์ในการเรียนรู้ เป็นต้น



     6.  สรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ตรวจสอบความเชื่อมโยงของเนื้อหากิจกรรม และการวัดประเมินผลการเรียนรู้ว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 



     7. สรุปกรอบแนวทางการพัฒนาเนื้อหา ได้แก่ กรอบแนวทางที่ออกแบบจะถูกประเมินความเหมาะสมกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กร ตอบสนองต่อเป้าหมายของหน่วยงานได้



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือและเกณฑ์ในการประเมิน ให้ดูจากคู่มือการประเมินซึ่งประกอบด้วย



    1. สมรรถนะย่อย 51102.01 กำหนดรายการหัวข้อจากเนื้อหา ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    2. สมรรถนะย่อย 51102.02 เขียนวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    3. สมรรถนะย่อย 51102.03 กำหนดแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    4. สมรรถนะย่อย 51102.04 สรุปผลการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน



    5. สมรรถนะย่อย 51102.05 สรุปกรอบแนวทางการพัฒนาเนื้อหา ให้ทำการทดสอบความรู้โดยใช้การสอบข้อเขียน และการสัมภาษณ์ ส่วนการทดสอบทักษะการปฏิบัติงานโดยใช้ใบสั่งงาน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน





 


ยินดีต้อนรับ