หน่วยสมรรถนะ
ประเมินแบบจำลอง
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-ZASG-258B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินแบบจำลอง |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
107%;font-family:"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถประเมินแบบจำลอง (Modeling) ว่าเป็นไปตามหลักการดำเนินการด้าน Data Mining และผลการทดสอบแบบจำลองเป็นที่น่าพอใจ รวมทั้งเลือกแบบจำลองที่ดีที่สุดและปรับพารามิเตอร์ให้เหมาะสมสำหรับธุรกิจหรือองค์กร |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
70405.01 วัดประสิทธิภาพของแบบจำลอง | 1. ระบุวิธีการสร้างและทดสอบแบบจำลองได้ | 70405.01.04 | 121033 |
70405.01 วัดประสิทธิภาพของแบบจำลอง | 2. ระบุเกณฑ์ชี้วัดความสำเร็จของแบบจำลองวิเคราะห์ข้อมูลได้ | 70405.01.05 | 121034 |
70405.01 วัดประสิทธิภาพของแบบจำลอง | 3. ประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลองเบื้องต้นได้ | 70405.01.06 | 121035 |
70405.02 เลือกเทคนิคแบบจำลอง | 1. ระบุความหมายของค่าที่ได้จากการวัดประสิทธิภาพของแบบจำลองต่าง ๆ เช่น Precision, Recall, Accuracy รวมทั้ง Confusion, ROC, AUC และ Error ได้ | 70405.02.05 | 121036 |
70405.02 เลือกเทคนิคแบบจำลอง | 2. เปรียบเทียบประสิทธิภาพของแต่ละแบบจำลองที่เลือกใช้ได้ | 70405.02.06 | 121037 |
70405.02 เลือกเทคนิคแบบจำลอง | 3. คัดเลือกแบบจำลองที่สอดคล้องกับธุรกิจหรือองค์กรได้ | 70405.02.07 | 121038 |
70405.02 เลือกเทคนิคแบบจำลอง | 4. วิเคราะห์ความหมายจากผลของการประเมินแบบจำลองที่เลือกเพื่อประยุกต์กับธุรกิจหรือองค์กรได้อย่างสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ | 70405.02.08 | 121039 |
70405.03 ปรับปรุงตัวแปรของแบบจำลอง | 1. ระบุตัวแปรหรือพารามิเตอร์ของแบบจำลองที่ดีที่สุด ที่เลือกใช้ได้ | 70405.03.03 | 121040 |
70405.03 ปรับปรุงตัวแปรของแบบจำลอง | 2. ปรับแก้ ปรับแต่งตัวแปรหรือพารามิเตอร์สำหรับแบบจำลองที่เลือกได้ | 70405.03.04 | 121041 |
70405.04 สื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศในระหว่างการดำเนินงาน | 1. ถ่ายทอดความคิดเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศในการประเมินแบบจำลองได้ | 70405.04.04 | 121042 |
70405.04 สื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศในระหว่างการดำเนินงาน | 2. สามารถแสดงความคิดเห็นในการประเมินแบบจำลองได้ | 70405.04.05 | 121043 |
70405.04 สื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศในระหว่างการดำเนินงาน | 3. สามารถสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศช่องทางต่าง ๆ ได้ | 70405.04.06 | 121044 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต 2) ทักษะการทำแบบจำลองเหมืองข้อมูล (Data Mining Model) 3) ทักษะการทดสอบประสิทธิภาพชุดข้อมูล 4) ทักษะการตีความข้อมูล (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) ความรู้ด้านการเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ 2) ความรู้ด้านสถิติศาสตร์ 3) ความรู้ด้านการทำเหมืองข้อมูล 4) ความรู้ด้านวิธีการทดสอบความเที่ยงตรง |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ 1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ 1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม 2) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลองการวิเคราะห์ข้อมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ ทั้งนี้ต้องได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ (ง) วิธีการประเมิน 1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบจำลองจากค่าต่าง ๆ เช่น Precision, Recall, Accuracy รวมทั้ง Confusion, ROC และ AUC เพื่อการปรับแก้ตัวแปรและพารามิเตอร์ต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับธุรกิจและองค์กร (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. เข้าใจและบอกข้อดี ข้อเสียของการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของแบบจำลอง ในการวัดประสิทธิภาพของแบบจำลอง โดยทั่วไปมีตัววัดต่าง ๆ ดังนี้ 1) Precision หรือความเที่ยงตรง เป็นค่าที่นิยมใช้และแสดงความหมายใกล้เคียงกับความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ซึ่งเป็นการวัดความแม่นยำของแบบจำลอง โดยพิจารณาแยกทีละกรณี 2) Recall เป็นการวัดความถูกต้องของแบบจำลอง โดยพิจารณาแยกทีละกรณี 3) Accuracy เป็นการวัดความถูกต้องของแบบจำลอง โดยพิจารณารวมทุกกรณี 4) Confusion Matrix คือ ตารางแบบจัตุรัสที่นับเปรียบเทียบความถูกต้องของแบบจำลอง 5) ROC หรือ (Receiver Operating Characteristic) มาจากรากฐานเรื่อง sensitivity, specificity, false positive rate, false negative rate เป็นการตรวจสอบการพยากรณ์ได้ถูกต้องของตัวแบบด้วยสัดส่วนการพยากรณ์ถูกต้อง ภายใต้เส้นโค้ง ROC หรือที่เรียกทั่วไปว่า ROC Curve ซึ่งใช้สำหรับการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity) ของตัวแบบในการพยากรณ์ได้ถูกต้อง 6) AUC (Area under the ROC curve) คือค่าที่ถูกใช้ในการบ่งบอกความถูกต้องของการพยากรณ์ ซึ่งเป็น พื้นที่ใต้โค้ง ROC หรือที่เรียกว่า AUC ถ้าพื้นที่ใต้โค้ง ROC มีค่ามาก แสดงว่าตัวแบบนั้นมีความถูกต้องมาก 7) ความคลาดเคลื่อน (Error) เป็นการวัดเพื่อประเมินและเปรียบเทียบประสิทธิภาพแบบจำลอง เช่น ค่าผลรวมความคลาดเคลื่อนกําลังสอง (Residual Sum Of Squares: RSS) และค่าประมาณค่าเฉลี่ยของความผิดพลาดจากการพยากรณ์กําลังสอง (Mean Square Prediction Error: MSPE) ค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์ (Mean Absolute Error: MAE) หรือ Confidence และ Lift เป็นต้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมินการวัดประสิทธิภาพของแบบจำลองตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 2. เครื่องมือประเมินการเลือกเทคนิคแบบจำลองตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. ผลข้อสอบข้อเขียน 2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 3. เครื่องมือประเมินการปรับปรุงตัวแปรของแบบจำลองตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. ผลข้อสอบข้อเขียน 2. แบบฟอร์มประเมินผลการสาธิตการปฏิบัติงาน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 4. เครื่องมือประเมินการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนสารสนเทศในระหว่างการดำเนินงานตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |