หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินสถานการณ์ (Assess Situation)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-FVWH-239B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินสถานการณ์ (Assess Situation)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

107%;font-family:"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman";
mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:EN-US;mso-bidi-language:TH" lang="TH">นักวิเคราะห์ข้อมูล
(
mso-fareast-font-family:"Times New Roman";mso-ansi-language:EN-US;mso-fareast-language:
EN-US;mso-bidi-language:TH">Data Analyst)
นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (
Business Intelligence Analyst) ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล
สถาปนิกสารสนเทศ (
Information Architect)
และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (
Data Scientist)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจ ได้แก่ การประเมินทรัพยากรที่มีอยู่และทรัพยากรที่ต้องการ การตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ การประเมินความเสี่ยง และการประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ โดยสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจหรือองค์กรได้ เพื่อที่จะเตรียมรับมือ และแก้ไขเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science)  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
70102.01 ประเมินทรัพยากร 1. ระบุผลการประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ได้ 70102.01.03 120771
70102.01 ประเมินทรัพยากร 2. ระบุผลการประเมินทรัพยากรที่ต้องการได้ 70102.01.05 120772
70102.01 ประเมินทรัพยากร 3. ระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับบริบททางธุรกิจได้ 70102.01.07 120773
70102.01 ประเมินทรัพยากร 4. สรุปผลการประเมินทรัพยากรในธุรกิจได้ 70102.01.08 120774
70102.02 ตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ 1. ระบุข้อสันนิษฐานของธุรกิจได้ 70102.02.02 120775
70102.02 ตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ 2. ระบุข้อจำกัดของธุรกิจของธุรกิจได้ 70102.02.04 120776
70102.02 ตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ 3. สรุปข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจได้ 70102.02.05 120777
70102.03 ประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ 1. รวบรวมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ 70102.03.03 120778
70102.03 ประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ 2. วิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ 70102.03.04 120779
70102.03 ประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ 3. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงในธุรกิจได้ 70102.03.05 120780
70102.04 ประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ 1. ระบุที่มาของผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจได้ 70102.04.04 120781
70102.04 ประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ 2. วิเคราะห์ผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ 70102.04.05 120782
70102.04 ประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ 3. สรุปผลการประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจได้ 70102.04.06 120783

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

N/A


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงธุรกิจ

2. ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ 

3. ความสามารถในการประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจ

4. ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกำไรทางธุรกิจ

5. ความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนทางธุรกิจ


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง และภาพรวมธุรกิจ

2. ความรู้เกี่ยวกับการคาดการณ์เชิงลึกทางธุรกิจ

3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์

4. ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้ในธุรกิจ

5. ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงทางธุรกิจ

6. ความรู้เกี่ยวกับผลกำไรทางธุรกิจ

7. ความรู้เกี่ยวกับต้นทุนทางธุรกิจ



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม

    2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้

(ง) วิธีการประเมิน

    1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน

    2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินสถานการณ์ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

1)  ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการประเมินทรัพยากร การตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ การประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ การประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

    การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภทความหมาย SWOT 

   จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน และข้อได้เปรียบด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด  

   จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท  

    โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ โดยการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น  

     อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง และพยายามขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้

     การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย

     การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค การดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินการประเมินทรัพยากรตามข้อกำหนดมาตรฐาน

  1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

  2. ผลข้อสอบข้อเขียน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

2. เครื่องมือประเมินการตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

   1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

   2. ผลข้อสอบข้อเขียน

      ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

3 เครื่องมือประเมินการประเมินความเสี่ยงในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

  1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

  2. ผลข้อสอบข้อเขียน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน

4. เครื่องมือประเมินการประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน

   1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

   2. ผลข้อสอบข้อเขียน

     ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน




ยินดีต้อนรับ