หน่วยสมรรถนะ
จัดทำแผนโครงการ
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-WZDI-241B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | จัดทำแผนโครงการ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst) นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Intelligence Analyst) ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล สถาปนิกสารสนเทศ (Information Architect) และนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงาน และการวางแผนการดำเนินงานโครงการ โดยสามารถวางแผน และจัดทำแผนการดำเนินโครงการ (Produce Project Plan) ในการปรับใช้งานแบบจำลองเชิงธุรกิจในการวิเคราะห์ แก้ปัญหา และพัฒนาอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ สามารถวิเคราะห์และกำหนดความต้องการที่จำเป็นต้องใช้ในการดำเนินงานได้ เพื่อให้สามารถดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
70104.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ | 1. ระบุวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการได้ | 70104.01.04 | 120792 |
70104.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ | 2. วิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการได้ | 70104.01.05 | 120793 |
70104.01 กำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการ | 3. สรุปวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการได้ | 70104.01.06 | 120794 |
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ | 1. ระบุแนวทางกระบวนการในการดำเนินโครงการได้ | 70104.02.05 | 120795 |
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ | 2. ระบุลำดับขั้นตอนในการดำเนินโครงการได้ | 70104.02.06 | 120796 |
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ | 3. ระบุความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการได้ | 70104.02.07 | 120797 |
70104.02 กำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ | 4. สรุปขั้นตอน กระบวนการและความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการได้ | 70104.02.08 | 120798 |
70104.03 สรุปผลการจัดทำแผนโครงการ | 1. จัดทำแผนการดำเนินโครงการได้ | 70104.03.04 | 120799 |
70104.03 สรุปผลการจัดทำแผนโครงการ | 2. สรุปผลการจัดทำแผนโครงการได้ | 70104.03.05 | 120800 |
70104.03 สรุปผลการจัดทำแผนโครงการ | 3. นำเสนอสรุปผลการจัดทำแผนโครงการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้ | 70104.03.06 | 120801 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ทักษะในการวิเคราะห์แผนการดำเนินงาน 2. ทักษะในการวางแผนการดำเนินงานโครงการ 3. ทักษะในการกำหนดความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการ 4. ทักษะในการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research) 5. ทักษะในการบริหารงานโครงการ 6. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics) 7. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analytics) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยและดำเนินงาน (Operations Research) 2. ความรู้เกี่ยวกับการวางแผนการดำเนินงานโครงการ 3. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารโครงการ 4. ความรู้เกี่ยวกับความต้องการทรัพยากรในการดำเนินโครงการ 5. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์ทางสถิติทั่วไป และการวิเคราะห์เชิงบรรยาย (Statistical analysis and Descriptive analytics) 6. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative Analytics) 7. ความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ (Qualitative analytics) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม 2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการจัดทำแผนโครงการ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการจัดทำแผนโครงการ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการกำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการ และการสรุปผลการจัดทำแผนโครงการ (ข) คำอธิบายรายละเอียด แผนโครงการ หมายถึง เค้าโครงหรือแผนการดำเนินงานโครงการที่กะกำหนด และระบุถึงแนวทางในการดำเนินการ ซึ่งเป็นส่วนประกอบส่วนหนึ่งในการวางแผนพัฒนา ที่ทำให้เห็นภาพ และทิศทางการดำเนินงาน การพัฒนา รวมถึงขอบเขตของโครงการที่สามารถติดตามและประเมินผลได้ โดยโครงการเกิดจากลักษณะความพยายามที่จะจัดกิจกรรม หรือดำเนินการให้บรรจุวัตถุประสงค์ เพื่อบรรเทาหรือลดหรือขจัดปัญหา และความต้องการทั้งในสภาวการณ์ปัจจุบันและอนาคต โครงการโดยทั่วไป สามารถแยกได้หลายประเภท เช่น โครงการเพื่อสนองความต้องการ โครงการพัฒนาทั่วๆไป โครงการตามนโยบายเร่งด่วน เป็นต้น การวางแผนโครงการ (Project planning) คือ ความพยายามที่จะคาดคะเน เพื่อวางแผนกำหนดเวลาและค่าใช้จ่าย ที่จะใช้ในการดำเนินงานโครงการใดโครงการหนึ่ง รวมทั้งผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ จะรวมถึงขั้นตอนการทำงาน กิจกรรมที่จะต้องทำ เวลาที่ใช้ในแต่ละกิจกรรม รวมทั้งบุคคลากรที่เหมาะสมในแต่ละกิจกรรม โดยแต่ละโครงการควรจะระบุรายละเอียดในแผนโครงการให้ละเอียด และชัดเจน ก่อนที่จะเริ่มทำงานจริง เพื่อให้สามารถติดตามและควบคุม ให้งานหรือโครงการเป็นไปตามแผนที่วางไว้ ในตอนดำเนินการจริง ส่งผลให้สามารถดำเนินงานโครงการได้แล้วเสร็จตามแผนที่กำหนด และบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ องค์ประกอบพื้นฐานของจัดทำแผนโครงการ 1.ชื่อแผนงาน เป็นการกำหนดชื่อให้ครอบคลุมโครงการเดียวหรือหลายโครงการที่มีลักษณะงานไปในทิศทางเดียวกันเพื่อแก้ไขปัญหา และสื่อถึงวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่กำหนด 2.ชื่อโครงการ เป็นการกำหนดชื่อโครงการตามความเหมาะสม มีความหมายชัดเจน และสื่อถึงวัตถุประสงค์หลักของโครงการที่กำหนด 3.หลักการและเหตุผล เป็นการกำหนดรายละเอียดของปัญหาและความจำเป็นที่เกิดขึ้นที่จะต้องแก้ไข ตลอดจนชี้แจงถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการดำเนินงานตามโครงการ โดยถ้าโครงการนั้นเป็นโครงการที่ดำเนินการตามนโยบาย หรือสอดคล้องกับแผนพัฒนา หรือแผนอื่น ๆ ขององค์กร ต้องระบุรายละเอียดที่เกี่ยวข้องในแผนโครงการให้ชัดเจนชี้แจงด้วย 4.วัตถุประสงค์ เป็นการกำหนดเพื่อให้ทราบว่า การดำเนินงานตามโครงการนั้นมีความต้องการอะไร หรือเพื่ออะไร โดยต้องระบุวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สามารถดำเนินการหรือปฏิบัติได้ และสามารถวัดและประเมินผลได้ โดยในการทำโครงการหนึ่ง ๆ อาจจะมีวัตถุประสงค์มากกว่า 1 ข้อได้ 5.เป้าหมาย เป็นการกำหนดเกี่ยวกับแนวทางในการปฏิบัติงานหรือส่งที่ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ ภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งการระบุเป้าหมายโครงการนั้นควรระบุเป็นประเภทลักษณะ คุณภาพ หรือเชิงปริมาณ โดยต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และข้อจำกัดหรือขีดความสามารถในการดำเนิโครงการของผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่รับผิดชอบโครงการ 6.วิธีดำเนินการหรือกิจกรรม หรือขั้นตอนการดำเนินงาน คืองานหรือภารกิจที่จะต้องปฏิบัติในการดำเนินโครงการให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ในระยะการเตรียมโครงการต้องมีการรวบรวมกิจกรรมทั้งหมด และนำมาวิเคราะห์จัดลำดับความสำคัญและ เงื่อนไขที่เกี่ยวข้องว่าควรจะทำภารกิจใดก่อน-หลัง หรือพร้อม ๆ กัน เพื่อกำหนดลำดับงานหรือภารกิจทั้งหมด เพื่อให้สามารถดำเนินการโครงการได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด 7.ระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ คือการระบุระยะเวลาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ ต้องมีการระบุ วัน-เดือน-ปี ที่เริ่มต้นและเสร็จสิ้นโครงการ และระบุช่วงเวลาหรือความยาวของโครงการ เช่น 6 เดือน, 1 ปี หรือ 2 ปี เป็นต้น 8.งบประมาณ เป็นประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นของโครงการ รายละเอียดรายการค่าใช้จ่าย ยอดต้นทุนงบประมาณและแหล่งที่มา และรวมถึงการระบุทรัพยากรอื่นที่ต้องการ เช่น บุคลากร วัสดุ เครื่องมือ ฯลฯ 9. ผู้รับผิดชอบโครงการ เป็นการระบุเพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานใดเป็นเจ้าของหรือรับผิดชอบโครงการ 10.หน่วยงานที่ให้การสนับสนุน เป็นระบุแนวทางให้กับผู้ปฏิบัติงานทราบว่า ในการดำเนินการโครงการนั้น ต้องประสานงานหรือขอความร่วมมือจากองค์กรหรือหน่วยงานใด เพื่อสามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 11.การประเมินผล เป็นการระบุแนวทางการในการติดตามประเมินผลของโครงการ ซึ่งผลของการประเมินนั้นสามารถนำมาพิจารณาประกอบการดำเนินการหรือเตรียมโครงการที่คล้ายหรือเกี่ยวข้องกันต่อไป 12.ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ เป็นการระบุผลของการดำเนินงานโครงการ ว่าเมื่อโครงการนั้นเสร็จสิ้นแล้ว จะเกิดผลอย่างไร โดยระบุทั้งผลประโยชน์โดยตรงและผลกระทบของโครงการ ลักษณะโครงการที่ดี โครงการที่ดีมีลักษณะดังนี้ 1. เป็นโครงการที่สามารถแก้ปัญหา หรือพัฒนาองค์กรได้ 2. มีรายละเอียด เนื้อหาครบถ้วน ชัดเจน 3. รายละเอียดของโครงการต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โดยมีหลักการและวิธีดำเนินการที่สามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดได้ 5. รายละเอียดในโครงการมีพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอ่านทำความเข้าใจได้ และสามารถดำเนินการตามโครงการได้ 6. เป็นโครงการที่ปฏิบัติได้ และสามารถติดตามและประเมินผลได้จริง |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมินการกำหนดวัตถุประสงค์ในการดำเนินโครงการตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 2. เครื่องมือประเมินการกำหนดกระบวนการและความต้องการในการดำเนินโครงการตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 3. เครื่องมือประเมินการสรุปผลการจัดทำแผนโครงการตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |