หน่วยสมรรถนะ
ประเมินสถานการณ์
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-FVWH-239B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ประเมินสถานการณ์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
107%;font-family:"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะมีความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจ ได้แก่ การประเมินทรัพยากรที่มีอยู่และทรัพยากรที่ต้องการ การตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ การประเมินความเสี่ยง และการประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ โดยสามารถทำความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์ของธุรกิจ และสามารถประเมินสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นในธุรกิจหรือองค์กรได้ เพื่อที่จะเตรียมรับมือ และแก้ไขเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล สาขาวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
70102.01 ประเมินทรัพยากร | 1. ระบุผลการประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ได้ | 70102.01.03 | 120771 |
70102.01 ประเมินทรัพยากร | 2. ระบุผลการประเมินทรัพยากรที่ต้องการได้ | 70102.01.05 | 120772 |
70102.01 ประเมินทรัพยากร | 3. ระบุข้อมูลที่จำเป็นสำหรับบริบททางธุรกิจได้ | 70102.01.07 | 120773 |
70102.01 ประเมินทรัพยากร | 4. สรุปผลการประเมินทรัพยากรในธุรกิจได้ | 70102.01.08 | 120774 |
70102.02 ตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ | 1. ระบุข้อสันนิษฐานของธุรกิจได้ | 70102.02.02 | 120775 |
70102.02 ตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ | 2. ระบุข้อจำกัดของธุรกิจของธุรกิจได้ | 70102.02.04 | 120776 |
70102.02 ตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ | 3. สรุปข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจได้ | 70102.02.05 | 120777 |
70102.03 ประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ | 1. รวบรวมความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ | 70102.03.03 | 120778 |
70102.03 ประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ | 2. วิเคราะห์ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ | 70102.03.04 | 120779 |
70102.03 ประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ | 3. สรุปผลการประเมินความเสี่ยงในธุรกิจได้ | 70102.03.05 | 120780 |
70102.04 ประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ | 1. ระบุที่มาของผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจได้ | 70102.04.04 | 120781 |
70102.04 ประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ | 2. วิเคราะห์ผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจที่เกิดขึ้นในธุรกิจได้ | 70102.04.05 | 120782 |
70102.04 ประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ | 3. สรุปผลการประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจได้ | 70102.04.06 | 120783 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
N/A |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์เชิงธุรกิจ 2. ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ 3. ความสามารถในการประเมินความเสี่ยงทางธุรกิจ 4. ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกำไรทางธุรกิจ 5. ความสามารถในการวิเคราะห์ต้นทุนทางธุรกิจ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง และภาพรวมธุรกิจ 2. ความรู้เกี่ยวกับการคาดการณ์เชิงลึกทางธุรกิจ 3. ความรู้เกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ 4. ความรู้เกี่ยวกับทรัพยากรที่ใช้ในธุรกิจ 5. ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงทางธุรกิจ 6. ความรู้เกี่ยวกับผลกำไรทางธุรกิจ 7. ความรู้เกี่ยวกับต้นทุนทางธุรกิจ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม 2. ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1. ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการประเมินสถานการณ์ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ (ง) วิธีการประเมิน 1. พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2. พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบ ประเมินสถานการณ์ โดยในการประเมินต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) ผู้เข้ารับการประเมินสามารถแสดงความรู้ และความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการประเมินทรัพยากร การตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจ การประเมินความเสี่ยงในธุรกิจ การประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจ (ข) คำอธิบายรายละเอียด การวิเคราะห์ SWOT (SWOT Analysis) หรือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและศักยภาพเป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์สำหรับการประกอบธุรกิจ ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารรู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อนจากสภาพแวดล้อมภายใน มองเห็นโอกาสและอุปสรรคจากสภาพแวดล้อมภายนอก ตลอดจนผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจทุกประเภทความหมาย SWOT จุดแข็ง (Strengths) : จุดเด่นหรือจุดแข็ง (ข้อได้เปรียบ) เป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นข้อดีที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในบริษัท เช่น จุดแข็งด้านการเงิน และข้อได้เปรียบด้านการผลิต และด้านทรัพยากรบุคคล โดยบริษัทจะต้องใช้ประโยชน์จากจุดแข็งในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด จุดอ่อน (Weaknesses) : จุดด้อยหรือจุดอ่อน ข้อเสียเปรียบเป็นผลมาจากปัจจัยภายใน เป็นปัญหาหรือข้อบกพร่องที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายในต่าง ๆ ของบริษัท เช่น การขาดเงินทุน นโยบายและทิศทาง การบริการที่ไม่แน่นอน หรือบุคลากรที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งบริษัทจะต้องหาวิธีในการปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไปอันจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัท โอกาส (Opportunities) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นผลจากการที่สภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัทเอื้อประโยชน์ หรือส่งเสริมการดำเนินงานของบริษัท โอกาสแตกต่างจากจุดแข็งตรงที่โอกาสเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายนอก แต่จุดแข็งเป็นผลมาจากสภาพแวดล้อมภายใน ผู้ประกอบการที่ดีจะต้องแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ โดยการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมภายนอกที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ตลอดเวลา เช่น เศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยีและการแข่งขันในตลาด และใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น อุปสรรค (Threats) : เกิดจากปัจจัยภายนอก เป็นข้อจำกัดที่เกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่ส่งผลเสียต่อธุรกิจ เช่น ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น สภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางการตลาดให้สอดคล้อง และพยายามขจัดอุปสรรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ได้ การประเมินสภาพแวดล้อมภายใน การวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในบริษัททุก ๆ ด้านเพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของธุรกิจ แหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้างระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงานและทรัพยากรในการบริหาร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของบริษัทเพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลกลยุทธ์ก่อนหน้านี้ด้วย การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก ภายใต้การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอกของบริษัท ทำให้สามารถค้นหาโอกาสและอุปสรรค การดำเนินงานของบริษัทที่ได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของบริษัท เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น ระดับการศึกษา การตั้งถิ่นฐานและการอพยพของประชาชน ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น บทบัญญัติกฎหมายต่าง ๆ มติคณะรัฐมนตรี และสภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึงกรรมวิธีใหม่ ๆ และพัฒนาการทางด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและการบริการ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมินการประเมินทรัพยากรตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 2. เครื่องมือประเมินการตั้งข้อสันนิษฐานและข้อจำกัดของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 3 เครื่องมือประเมินการประเมินความเสี่ยงในธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 4. เครื่องมือประเมินการประเมินผลกำไรและต้นทุนของธุรกิจตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |