หน่วยสมรรถนะ
สร้างการนำเสนอข้อมูล
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-QYLB-253B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | สร้างการนำเสนอข้อมูล |
3. ทบทวนครั้งที่ | - / - |
4. สร้างใหม่ |
![]() |
ปรับปรุง |
![]() |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
107%;font-family:"TH SarabunPSK",sans-serif;mso-fareast-font-family:"Times New Roman"; |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
ผู้ที่ผ่านสมรรถนะนี้จะสามารถวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจและนำชุดข้อมูลมาจัดเรียงหาประเด็นสำคัญและแสดงผลในรูปแบบภาพหรือกระดานแสดงผลข้อมูลให้เห็นแนวโน้ม ทิศทาง และภาพรวม ของข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจแก้ปัญหาทางธุรกิจ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารและดิจิทัลคอนเทนต์ สาขานักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Science) |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
70306.01 ระบุความต้องการข้อมูล | 1. ระบุผู้รับชมการนำเสนอข้อมูลได้ | 70306.01.04 | 120931 |
70306.01 ระบุความต้องการข้อมูล | 2. ระบุความต้องการของผู้รับชมได้ | 70306.01.05 | 120932 |
70306.01 ระบุความต้องการข้อมูล | 3. กำหนดข้อมูลที่ตอบสนองกับความต้องการข้อมูลได้ | 70306.01.06 | 120933 |
70306.02 ร่างแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล | 1. กำหนดแนวคิดการนำเสนอให้สอดคล้องกับบริบทของข้อมูลได้ | 70306.02.04 | 120934 |
70306.02 ร่างแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล | 2. กำหนดลักษณะการนำเสนอข้อมูลได้ | 70306.02.05 | 120935 |
70306.02 ร่างแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูล | 3. คัดเลือกภาพหรือกราฟฟิกประกอบการอธิบายภาพแสดงข้อมูลได้ | 70306.02.06 | 120936 |
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล | 1. คัดเลือกเครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูลได้ | 70306.03.05 | 120937 |
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล | 2. ระบุวิธีการนำเข้าข้อมูลได้ | 70306.03.06 | 120938 |
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล | 3. ใช้คำสั่งของเครื่องมือสร้างภาพการนำเสนอได้ | 70306.03.07 | 120939 |
70306.03 ใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล | 4. สร้างการเน้นข้อมูลที่สำคัญได้ | 70306.03.08 | 120940 |
70306.04 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศ | 1. ถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศได้ | 70306.04.04 | 120945 |
70306.04 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศ | 2. สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างสร้างสรรค์ | 70306.04.05 | 120946 |
70306.04 นำเสนอข้อมูลสารสนเทศ | 3. สามารถสื่อสารผ่านสื่อสารสนเทศช่องทางต่าง ๆ ได้ | 70306.04.06 | 120947 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
1) กำหนดโจทย์และวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ 2) ประเมินความต้องการข้อมูล |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1) ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต 2) ทักษะการใช้งานโปรแกรมคำนวนแบบตาราง Spreadsheet 3) ทักษะการเขียนโค๊ดเบื้องต้น (Coding) 4) ทักษะการออกแบบ สื่อการนำเสนอ 5) ทักษะด้านการออกแบบประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) 6) ทักษะการคำนวน/คาดการณ์ และการวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1) ความรู้การใช้งานเครื่องมือสร้างภาพจากชุดข้อมูล 2) ความรู้ด้านการจัดการข้อมูล 3) ความรู้ด้านการจัดองค์ประกอบสื่อการนำเสนอ 4) ความรู้ด้านการใช้สีสัน 5) ความรู้การถ่ายทอดเนื้อหา |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) อาทิ 1) ใบรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) อาทิ 1) ใบรับรองการเข้ารับการฝึกอบรม 2) ใบประกาศนียบัตรวุฒิการศึกษา (ค) คำแนะนำในการประเมิน 1) ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการสร้าการนำเสนอข้อมูล (Data Visualization) โดยพิจารณาจากความสอดคล้องกับข้อมูล และประสิทธิภาพการนำเสนอข้อมูลแก่ผู้อื่น (ง) วิธีการประเมิน 1) พิจารณาตามหลักฐานการปฏิบัติงาน 2) พิจารณาตามหลักฐานความรู้ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตการปฏิบัติงาน และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการสร้างการนำเสนอข้อมูล รวมถึงเครื่องมือ หรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง (ก) คำแนะนำ หน่วยสมรรถนะนี้เป็นการทดสอบการสร้างการนำเสนอข้อมูล โดยในการทดสอบต้องคำนึงถึงข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้ 1) ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับบริบทของการนำข้อมูลมานำเสนอและผลกระทบหลังเผยแพร่ประเด็นสำคัญของข้อมูลนั้นๆ (Sensitive Data) 2) ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการนำเสนอประเด็นสำคัญข้อมูลที่สัมพันธ์กับตัวชี้วัดความสำเร็จทางธุรกิจ 3) ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการสร้างสื่อนำเสนอข้อมูลให้สอดคล้องกับบริบทของผู้รับสาร 4) เจ้าหน้าที่สอบควรมีความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทของข้อมูล มีทักษะในการจัดการข้อมูลและมีความชำนาญด้านการใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูล (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1) Data Visualization คือสื่อการนำเสนอประเด็นสำคัญของการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบภาพ เพื่อแสดงผลข้อมูลแทนคำอธิบายผล ทั้งนี้ยังเป็นเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ข้อมูล ทำให้จดจำ เห็นภาพรวม และคัดแยกประเด็นสำคัญของข้อมูลได้ง่ายขึ้น ได้แก่ แผนภาพ (Chart) กราฟ (Graph) การพล็อตจุด (Plots) กระดานแสดงผลข้อมูล (Dashboard) 2) การระบุความจุดประสงค์หลักของการนำเสนอข้อมูล จะเป็นตัวกำหนดถึงความต้องการข้อมูลที่จำเป็นต่อการสร้างการนำเสนอ 3) ลักษณะเครื่องมือแสดงผลข้อมูล หรือระบบปฏิบัติการวิเคราะห์ข้อมูลที่สนับระบบปฏิบัติการที่ใช้งานทั่วไป (Window, Mac, Linux ) มีดังนี้ 3.1) เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลระดับสามัญ เป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลที่มีโครงสร้าง (Structure data) และสร้างสื่อนำเสนอจากข้อมูลเชิงตาราง สามารถสร้างสมการแปลงผลข้อมูลในระดับพื้นฐานจนถึงระดับประยุกต์ระดับสูง และรองรับไฟล์รูปภาพ โดยยกตัวเครื่องมือสามัญที่จัดอยู่ในหมวดนี้ เช่น Microsoft office, Google sheet, LibreOffice. WPS Office เป็นต้น 3.2) เครื่องมือสร้างภาพนำเสนอข้อมูล (Visualize Software) เป็นเครื่องมือจัดการข้อมูลเพื่อสร้างสื่อนำเสนอข้อมูลโดยเฉพาะ สามารถนำเข้าข้อมูลเชิงตารางได้จากหลายแหล่งและจัดการเชิงฐานข้อมูลได้ รวมถึงการสร้างแผนภาพด้วยเทคนิคการสร้างข้อมูลระดับสูง โดยยกตัวอย่างซอฟแวร์ที่ได้รับความนิยมและใช้ได้ฟรี (Freeware) ได้แก่ Power BI, Tableau, Fusion chart, Qlikview, Highcharts , Datawrapper , Plotly , Sisense เป็นต้น 3.3) เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล ปัจจุบันเครื่องมือวิเคราะห์ผลมีฟังก์ชั่นแสดงภาพผลการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นให้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลเข้าใจภาพรวมของข้อมูล ผู้ใช้เครื่องมือจะต้องเข้าใจวิธีใช้งานและคุณสมบัติของเครื่องมือจึงสามารถประยุกต์วิธีจัดการข้อมูลและสร้างลักษณะเครื่องมือสร้างภาพแสดงข้อมูลระดับประยุกต์ได้ เครื่องมือวิเคราะห์ที่สามารถทำสื่อแสดงผลข้อมูล มีทั้งโปรแกรมสำเร็จรูปและภาษาทางคอมพิวเตอร์ โดยเครื่องมือที่ได้รับความนิยม เช่น RapidMiner, Python, Language R, Java, language C# เป็นต้น 4) เทคนิคการสร้างภาพข้อมูล หมายถึงการใช้คำสั่งการสร้างภาพข้อมูลระดับประยุกต์ จากคำสั่งหลายๆส่วนเพื่อสร้างการนำตามวัตถุประสงค์ของการนำเสนอ 4.1) เทคนิคการจัดการข้อมูลเพื่อนำเสนอข้อมูลเฉพาะเจาะจง เช่น การจัดเรียงข้อมูล (Sort) และคัดกรองกลุ่มข้อมูล (Filter) เป็นต้น 4.2) เทคนิคการใช้ภาพนำเสนอข้อมูลด้วยค่าทางทางสถิติ เช่น ผลรวม ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน เป็นต้น 4.3) เทคนิคการสร้างภาพนำเสนอซ้อนกัน (Dual Axis) เป็นการนำภาพการนำเสนอ ซ้อนทับกันเพื่อเปรียบเทียบหรือให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 5) การออกแบบสื่อการนำเสนอข้อมูล (Mood and tone) ภาพข้อมูลที่นำเสนอข้อมูลนอกจากจะช่วยให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจข้อมูลนั้นแล้ว การจัดองค์ประกอบของสื่อจะช่วยผู้รับข้อมูลทำความเข้าใจประเด็นสำคัญจากภาพแสดงข้อมูลนั้นได้ รวมถึงเป็นการชักจูงความสนใจของผู้รับสารให้เกิดประสบการณ์ ความรู้สักร่วม กับบริบทของข้อมูลนั้นๆ ซึ่งมีปัจจัยสำคัญพิจารณาดังนี้ 5.1) ใจความของข้อมูล ประเด็นที่ต้องการนำเสนอจากข้อมูล ที่มาจากการกำหนดความต้องการทางธุรกิจหรือเป้าหมายการใช้ข้อมูล เพื่อเทียบความสอดคล้องระหว่างใจความของข้อมูลกับปัจจัยทางธุรกิจ หรือประสบการณ์ของผู้รับสาร 5.2) ลำดับการนำเสนอ การเรียบเรียงข้อมูลตามความสำคัญเพื่อให้ผู้รับสารสามารถทำความเข้าใจข้อมูลได้มากที่สุด เช่น การนำเสนอนิยามของข้อมูลเพื่อให้ผู้รับสารเข้าใจบริบทของข้อมูลแล้วจึงนำเสนอประเด็นสำคัญจากข้อมูลนั้นๆ 5.3) สีของสีการนำเสนอ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลกับการรับสารจากภาพนำเสนอข้อมูลในหลายมิติ ในการเลือกสี เป็นขั้นตอนเริ่มต้นเพื่อกำหนดอารมณ์ของสื่อให้สอดรับกับบริบทของวัตถุประสงค์ของการนำเสนอข้อมูล มีขั้นตอนพิจารณาการใช้สีที่สำคัญ เช่น การใช้สีเพื่อเน้น Key massage หมายถึงการเลือกสีเพื่อสร้างจุดดึงดูดสายตา หรือ เน้นประเด็นสำคัญของข้อมูล โดยเลือกสีให้ตัดกันอย่างชัดเจน ทั้งในรูปแบบการไล่ระดับเฉดสี การใช้สีที่มีความเข้ม (Saturation) สูง ตัดกับสีโทนอ่อน 5.4) การใช้ตัวอักษร อธิบายข้อมูล จัดลำดับความสำคัญของการนำเสนอข้อมูลส่วนที่สำคัญ นำเสนอได้ตรงประเด็น เช่น การเน้นขนาดตัวอักษร การใช้สีตัวอักษร การเลือกชนิดตัวอักษรและฟอนต์ เป็นต้น |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. เครื่องมือประเมินการระบุความต้องการข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน 2 เครื่องมือประเมินการออกแบบองค์ประกอบการนำเสนอข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน .3 เครื่องมือประเมินการใช้เครื่องมือสร้างการนำเสนอข้อมูลตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน .4 เครื่องมือประเมินการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศตามข้อกำหนดมาตรฐาน 1. แบบฟอร์มประเมินผลการการสาธิตการปฏิบัติงาน 2. ผลข้อสอบข้อเขียน ดูรายละเอียดจากคู่มือประเมิน |