หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เอกสารทางเทคนิค

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-XUFH-272B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เอกสารทางเทคนิค

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Intelligence Analyst)

ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล สถาปนิกสารสนเทศ (Information Architect)

นักเขียนเอกสารทางเทคนิค

 


1 1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1 2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
1 2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล
1 2522 ผู้บริหารระบบงานคอมพิวเตอร์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    หน่วยสมรรถนะหน่วยนี้ จะเน้นการมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการสร้างเอกสารทางเทคนิคที่มีเนื้อหาชัดเจนเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้กลุ่มเป้าหมาย สามารถทำความเข้าใจในหลักการและวิธีการในการเขียนเอกสารทางธุรกิจ และนำความรู้จากเนื้อหาในเอกสารไปใช้ในการทำงานได้ โดยทักษะนี้เหมาะสำหรับบุคคลที่ทำงานในฐานะนักเขียนทางเทคนิค นักออกแบบ นักพัฒนาและพนักงานให้ความช่วยเหลือ ที่จำเป็นต้องใช้ในการจัดทำเอกสารสนับสนุนทางเทคนิคของตนเอง มีความรู้ด้านทฤษฎีการเขียนเอกสารทางเทคนิค สามารถอธิบายแนวความคิด องค์ประกอบและชนิดของเอกสารทางเทคนิค และจัดทำเอกสารทางเทคนิคได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ที่มีความรู้ทางด้านธุรกิจและความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และครอบคลุมในทุกสาขาธุรกิจที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจนักจัดการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
ITC21 เทคนิคการเขียนเอกสารทางธุรกิจ (Business Document Writing Techniques) 1.1 สามารถอธิบายประเด็นสำคัญและประเด็นทางเทคนิคของการเขียนแผนธุรกิจ การรายงาน และการนำเสนอ (Able to explain the key and the technical point of writing business plan, report, and proposal) ITC21.05 120941
ITC21 เทคนิคการเขียนเอกสารทางธุรกิจ (Business Document Writing Techniques) 1.2 สามารถอธิบายถึงประเด็นสำคัญของการเขียนเอกสารทางการได้ (เช่น การบันทึก/การปฏิบัติ เป็นต้น) (Able to explain the key point of writing an official document (e.g. record/action copy)) ITC21.06 120942
ITC21 เทคนิคการเขียนเอกสารทางธุรกิจ (Business Document Writing Techniques) 1.3 สามารถอธิบายหลักการและประเด็นสำคัญของการเขียนรายงานการประชุมและการเขียนอีเมลได้ (Able to explain the principle and the key point of writing the minutes and the email) ITC21.07 120943
ITC21 เทคนิคการเขียนเอกสารทางธุรกิจ (Business Document Writing Techniques) 1.4 สามารถอธิบายทฤษฎีการเขียน spreadsheet ได้ (Able to explain the method of writing the spreadsheets) ITC21.08 120944
ITC22 ทฤษฎีการเขียนเอกสารทางเทคนิค (Methods of Writing Technical Documents) 2.1 สามารถอธิบายแนวความคิด องค์ประกอบและชนิดของเอกสารทางเทคนิคได้ (Able to explain concept, elements and types of technical documents) ITC22.03 120948
ITC22 ทฤษฎีการเขียนเอกสารทางเทคนิค (Methods of Writing Technical Documents) 2.2 สามารถจัดทำเอกสารทางเทคนิคได้ (Able to make a technical document) ITC22.04 120949

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถใช้ Software ด้านเอกสาร และการคำนวณ เช่น MS Word, MS Excel



2. ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์ประมวลผลคำ



3. ทักษะการใช้ซอฟต์แวร์ Spreadsheet



4. ทักษะการใช้ E-mail เพื่อการติดต่อสื่อสาร



5. ทักษะการตีความมาตรฐานและข้อกำหนดของอุตสาหกรรม



6. ทักษะการวิเคราะห์ความต้องการของผู้อ่าน



7. ทักษะการกำหนดเนื้อหาของคู่มือที่จำเป็นสำหรับกลุ่มเป้าหมาย



8. ทักษะการกำหนดเนื้อหา รูปแบบและเครื่องมือที่เหมาะสม



9. ทักษะการจัดทำแผนธุรกิจ



10. ทักษะการจัดทำเอกสารร้องขอข้อมูลสำหรับพิจารณากำหนดคุณสมบัติ



11. ทักษะการจัดทำเอกสารร้องขอข้อเสนอ (Request for Proposal)



12. ทักษะการจัดทำเอกสารข้อเสนอ (Proposal)



13. ทักษะการจัดทำเอกสาร requirement traceability matrix



14. ทักษะการจัดทำเอกสาร รายงานการวิเคราะห์ (Analytical reports)



15. ทักษะการจัดทำเอกสาร Design Description และ Test Design Specification



16. ทักษะการจัดทำเอกสารจัดทำคู่มือผลิตภัณฑ์ (Manual)



17. ทักษะการจัดทำรายงานปิดโครงการ (Project Completion Report)



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. สามารถระบุคุณสมบัติและเนื้อหาของสิ่งที่ผู้อ่านต้องรู้ได้อย่างชัดเจน



2. มีความรู้ความเข้าใจในการเขียนเอกสารทางธุรกิจ



3. มีความรู้เกี่ยวกับหลักการออกแบบคู่มือการใช้งานทางธุรกิจ



4. มีความรู้ที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานด้านเทคนิคที่เกี่ยวข้อง



5. มีความรู้ที่เกี่ยวกับลักษณะเฉพาะและชนิดของเอกสารทางด้านเทคนิค



6. มีความรู้ในส่วนประกอบและหลักการของการเขียนแผนธุรกิจ



7. มีความรู้เกี่ยวการร้องขอข้อมูลสำหรับพิจารณากำหนดคุณสมบัติ (Request for Information)



8. มีความรู้เกี่ยวกับการร้องขอข้อเสนอ (Request for Proposal)



9. มีความรู้เกี่ยวกับการร่างข้อเสนอ (Proposal)



10. มีความรู้เกี่ยวกับ Requirement Traceability Matrix



11. มีความรู้เกี่ยวกับรายงานการวิเคราะห์ (Analytical reports)



12. มีความรู้เกี่ยวกับ Design Description และ Test Design Specification



13. มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำคู่มือผลิตภัณฑ์ (Manual)



14. มีความรู้เกี่ยวกับรายงานปิดโครงการ (Project Completion Report)



15. มีความรู้เกี่ยวกับวิธีการเขียนคำอธิบายในเอกสารด้านเทคนิค



 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



   1. แฟ้มบันทึกตัวอย่างเอกสารด้านเทคนิคที่เคยเขียนไว้



  2. ผลของการบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน



  3. ผลบันทึกจากความคิดเห็นของผู้ใช้ ที่ได้อ่านเอกสารทางเทคนิคที่ผู้เข้ารับการประเมินเขียน



  4. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



  1. ผลจากการสัมภาษณ์และหรือผลจากการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบ



  2. ผลการทดสอบความรู้โดยใช้กรณีศึกษา



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



    ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



วิธีการประเมิน



  1. เจ้าหน้าที่ต้องประเมินประสบการณ์การปฏิบัติงานของผู้เข้าทดสอบ โดยใช้แบบทดสอบด้วยการสัมภาษณ์หรือเอกสารอ้างอิงที่ผ่านการอบรมในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการเขียนเอกสารทางธุรกิจ และสรุปผลการประเมินตามแบบฟอร์มที่กำหนด



  2. เจ้าหน้าที่ต้องประเมินประวัติผู้เข้ารับการประเมินว่ามีความรู้ความเข้าใจในการเขียนเอกสารทางธุรกิจ หรือผ่านการอบรมในด้านการเขียนเอกสารทางธุรกิจ และสรุปผลการประเมินตามแบบฟอร์มที่กำหนด



  3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสอบข้อเขียนเพื่อทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการเขียนเอกสารทางธุรกิจ (Business Writing Document Techniques)



  4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสอบข้อเขียนเพื่อทดสอบความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับทฤษฎีการเขียนเอกสารทางเทคนิค (Methods of Writing Technical Documents)



  5. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องจัดทำกรณีศึกษาที่กำหนด



  6. ผู้ที่ผ่านการประเมินในข้อที่ 1 และข้อที่ 2 ถึงจะมีสิทธิในการประเมินในข้อที่ 3 , 4 และ 5



  7. ผู้ที่จะผ่านการประเมินจะต้องมีคะแนนในข้อที่ 3 , 4 และ 5 จะต้องมีคะแนนมากกว่าร้อยละ 80 ของคะแนนในแต่ละส่วน



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

    ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้ความเข้าใจในการเขียนเอกสารทางธุรกิจ รวมถึงเอกสารทางธุรกิจประเภทต่างๆ 



(ก) คำแนะนำ 



   1. ผู้เข้ารับการประเมินจะต้องแสดงให้ผู้ประเมินเห็นว่า มีทักษะและความสามารถในการเขียนแผนธุรกิจ การเขียนรายงาน และการนำเสนออย่างชัดเจน (Clear Conclusion)



   2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอธิบายประเภทของเอกสารทางธุรกิจได้ รวมถึงหลักการและประเด็นสำคัญของการเขียนเอกสารทางเทคนิคได้ 



   3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องสามารถอธิบายองค์ประกอบและวิธีการเขียนเอกสารทางเทคนิคได้ 



   4. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถสรุปข้อมูลที่มีปริมาณมากให้เป็น One-page report ได้ 



   5. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเขียนอีเมล์อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสื่อสารทางเทคนิคได้ 



   6. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถสรุปข้อมูลด้วยการใช้เครื่องมือในซอฟต์แวร์ spreadsheet ได้



   7. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายหลักการใช้ Pivot Table ได้ 



   8. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายหลักการใช้ Numbering ได้



   9. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถอธิบายหลักการใช้ ‘IF’ ได้



   10. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถเขียนบันทึกการประชุม ได้ 



   11. ผู้เข้ารับการประเมินสามารถจัดทำเอกสารทางเทคนิคได้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



   1. เขียนแผนธุรกิจตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย 



   2. สรุปรายงานการประชุมจากคลิปเสียงที่เป็นโจทย์



   3. จัดทำรายงานการนำเสนอสินค้าและบริการตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย



   4. สามารถตอบอีเมล์ เมื่อลูกค้าไม่พอใจสินค้าหรือบริการที่ได้รับไปยังลูกค้าได้อย่างเหมาะสม



   5. จัดทำรายงานด้วย Pivot Table จากฐานข้อมูลตัวอย่าง



   6. จัดทำเอกสารโดยมีการกำหนด version และสร้าง Template เพื่อใช้ในการปรับปรุงในครั้งต่อๆไป



   7. จัดทำคู่มือการใช้งานซอฟต์แวร์ที่อยู่ในมือถือตามโจทย์ที่ได้รับมอบหมาย



   8. เอกสารทางเทคนิค หมายถึง เอกสารร้องขอข้อมูลสำหรับพิจารณากำหนดคุณสมบัติ (Request for Information) , เอกสารการร้องขอข้อเสนอ (Request for Proposal) , เอกสารข้อเสนอ (Proposal) , เอกสาร Requirement Traceability Matrix , รายงานการวิเคราะห์ (Analytical reports) , เอกสาร Design Description , เอกสาร Test Design Specification , คู่มือผลิตภัณฑ์ (Manual) และ รายงานปิดโครงการ (Project Completion Report)



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย เทคนิคการเขียนเอกสารทางธุรกิจ ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. การสอบข้อเขียนแบบปรนัย

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 

3. แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถยะย่อย ทฤษฎีการเขียนเอกสารทางเทคนิค ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. การสอบข้อเขียนแบบปรนัย

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์ 

3. แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงาน

 



 



 


ยินดีต้อนรับ