หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-TNLQ-271B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)


นักวิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ (Business Intelligence Analyst) 



ผู้ปฏิบัติงานด้านวิศวกรรมข้อมูล สถาปนิกสารสนเทศ (Information Architect)




1 1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
1 2519 นักวิเคราะห์และพัฒนาซอฟต์แวร์และโปรแกรมประยุกต์ ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
1 2521 นักออกแบบและผู้บริหารฐานข้อมูล
1 2522 ผู้บริหารระบบงานคอมพิวเตอร์

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
    มีความเข้าใจในปัญหาทางธุรกิจ IT ขององค์กรและสามารถสื่อสารให้คนทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กรเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน และมีจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ ตลอดจนนำเสนอวิธีแก้ปัญหาและสื่อสารการแก้ปัญหานั้นไปยังแต่ละภาคส่วนของธุรกิจ พร้อมกำหนดบทบาทของแต่ละฝ่ายที่ต้องดำเนินการร่วมกันเพื่อให้ปัญหาทางธุรกิจ IT ลุล่วงไปได้ด้วยดี

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   สาขาวิชาชีพเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ที่มีความรู้ทางด้านธุรกิจและความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และครอบคลุมในทุกสาขาธุรกิจที่มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน  

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
นักจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับธุรกิจนักจัดการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
ITC11 การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจโดยทั่วไป (General Business Communication) 1.1 สามารถอธิบายการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจได้ (Able to explain business communication) ITC11.05 120924
ITC11 การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจโดยทั่วไป (General Business Communication) 1.2 สามารถอธิบาย situational understanding method ซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ (Able to explain situational understanding method which is most important in business communication) ITC11.06 120925
ITC11 การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจโดยทั่วไป (General Business Communication) 1.3 สามารถอธิบายได้ว่าจะสามารถชี้แจงและโน้มน้าวผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร (Able to explain how to explain and persuade stakeholders) ITC11.07 120926
ITC11 การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจโดยทั่วไป (General Business Communication) 1.4 สามารถอธิบายได้ว่าจะลดข้อผิดพลาดในกระบวนการติดต่อสื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร (Able to explain how to reduce communication errors with stakeholders) ITC11.08 120927
ITC12 เทคนิคการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ (Business Problem Solving Techniques) 2.1 สามารถอธิบายถึงการกำหนดนิยามการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ความจำเป็นและวัฏจักรกระบวนการแก้ไขปัญหา (Able to explain the business problem solving definition, necessity and problem solving process cycle) ITC12.04 120928
ITC12 เทคนิคการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ (Business Problem Solving Techniques) 2.2 สามารถอธิบายการวิเคราะห์สาเหตุและการคิดเชิงกลยุทธ์สำหรับการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจได้ (Able to explain causal analysis and strategic thinking for solving business problem) ITC12.05 120929
ITC12 เทคนิคการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ (Business Problem Solving Techniques) 2.3 สามารถอธิบายหลักการความคิดสร้างสรรค์และวิธีการประชุมทางธุรกิจเพื่อแก้ไขปัญหาธุรกิจได้ (Able to explain the principle of creative thinking and business meeting methods for solving business problems) ITC12.06 120930

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่ระบุ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. แยกแยะประเภทของปัญหาทางธุรกิจ IT



2. กำหนดวิธีการประชุมที่เหมาะสมเพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจในแต่ละปัญหาได้



3. สามารถเลือกเทคนิคการแก้ปัญหาภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดได้



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เรื่องขั้นตอนการแก้ปัญหาทางธุรกิจของ McKinsey



2. ความรู้เรื่อง MECE



3. ความรู้เรื่อง Six Thinking Hats



4. ความรู้เรื่องเทคนิค SCAMPER 



5. ความรู้เรื่อง Theory of Inventive Problem Solving



6. ความรู้เรื่อง Must-Want Matrix



7. ความรู้เรื่อง Pay-off Matrix



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



    N/A



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



  1. ผลจากการทดสอบความรู้โดยแบบทดสอบ



  2. ผลการสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



   ผู้ประเมินตรวจประเมินเกี่ยวกับการนำแนวโน้มใหม่ใน IT สู่การปฏิบัติ โดยพิจารณาจากร่องรอยหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้



วิธีการประเมิน



1. ประเมินความรู้ด้วยการสอบข้อเขียนแบบปรนัย



2. ประเมินความรู้ด้วยการสัมภาษณ์



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

   ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ 



   ในการปฎิบัติงานให้คำนึงถึงปัญหาของธุรกิจ IT และกระบวนการในการค้นหาไอเดียและคัดเลือกวิธีการปัญหามาลงมือทำจริง เพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาให้ถูกประเภทและตรงจุด



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. การค้นหาปัญหาทางธุรกิจ IT



2. การระบุขั้นตอนการแก้ปัญหาทางธุรกิจ IT



3. การจัดลำดับความสำคัญของปัญหาทางธุรกิจ IT



4. การวิเคราะห์ปัญหาและองค์ประกอบของปัญหาทางธุรกิจ IT



5. การสรุปวิธีการแก้ปัญหาจากไอเดียทั้งหมด



 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่ระบุ

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถนะย่อย การติดต่อสื่อสารทางธุรกิจโดยทั่วไป ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. การสอบข้อเขียนแบบปรนัย

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

3. แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงาน



18.2 เครื่องมือประเมินหน่วยสมรรถยะย่อย เทคนิคการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ ตามข้อกำหนดมาตรฐาน

1. การสอบข้อเขียนแบบปรนัย

2. แบบฟอร์มประเมินผลการสัมภาษณ์

3. แบบฟอร์มแฟ้มสะสมผลงาน

 



 


ยินดีต้อนรับ