หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยภายใต้โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-NGFY-146B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยภายใต้โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างติดตั้งสายสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถ รวบรวม แจกแจงข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน สามารถสวมใส่ ติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเหมาะสมกับสภาพการทำงาน 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20604.01 อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 1.1 อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 20604.01.01 120337
20604.01 อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานด้านโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 1.2 อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ทางด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน 20604.01.02 120338
20604.02 สวมใส่และใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานด้านโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.1 เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 20604.02.01 120334
20604.02 สวมใส่และใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานด้านโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.2 สวมใส่และใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน 20604.02.02 120335
20604.02 สวมใส่และใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานด้านโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.3 ติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัย 20604.02.03 120336

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานติดตั้งโครงข่ายภายในอาคาร



2. สามารถสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน



2. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



3. ความรู้เกี่ยวกับการสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



4. ความรู้เกี่ยวกับอัตรายจากไฟฟ้า เพลิงไหม้



 

14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



          ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึง การเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานติดตั้งโครงข่ายหลักโทรคมนาคมการสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. เครื่องมือ อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานติดตั้งระบบโครงข่ายหลักโทรคมนาคม  เช่น ร้องเท้าป้องกันการกระแทก สายรัดตัว หมวกนิรภัย แว่นตา ถุงมือ เป็นต้น



          2. การสวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานเช่น การสวมใส่ร้องเท้าป้องกัน  การกระแทก สายรัดตัว หมวกนิรภัย แว่นตา เป็นต้น



          3. อันตรายจากการปฏิบัติงาน เช่น กระแสไฟฟ้า เพลิงไฟที่อาจเกิดขึ้น การตกจากที่สูง การปฐม  พยาบาลเบื้องต้น เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



          1. สมรรถนะ 20604.01 อธิบายข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          2. สมรรถนะ 20604.02 สวมใส่ติดตั้งและใช้งานอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ