หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ตามระยะเวลา

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-XCVJ-144B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ตามระยะเวลา

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างติดตั้งสายสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถดำเนินการบำรุงรักษาของระบบสายส่งสัญญาณโครงข่ายภายในอาคาร ตามแผนการดำเนินการ (schedule plan) ที่กำหนดไว้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20602.01 ระบุข้อกำหนดการบำรุงรักษาตามระยะเวลาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 1.1 แยกรายละเอียดของงานตามข้อกำหนด TOR หรือแผนดำเนินการที่ให้มา 20602.01.01 120318
20602.01 ระบุข้อกำหนดการบำรุงรักษาตามระยะเวลาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 1.2 วิเคราะห์รายละเอียดของงานตามข้อกำหนด TOR หรือแผนดำเนินการที่ให้มา 20602.01.02 120319
20602.02 จัดทำเอกสารในการบำรุงรักษาตามระยะเวลาของโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.1 กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละประเภทงานที่ได้จากการจำแนกงานจากข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการที่ให้มา 20602.02.01 120320
20602.02 จัดทำเอกสารในการบำรุงรักษาตามระยะเวลาของโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.2 จัดทำแผนรองรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติงาน 20602.02.02 120321
20602.03 กำหนดแผนการบำรุงรักษาตามระยะเวลาของโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 3.1 กำหนดช่วงเวลาในการเข้าทำการบำรุงรักษาตามที่ระบุในข้อกำหนดหรือแผนการดำเนินการ 20602.03.01 120322
20602.03 กำหนดแผนการบำรุงรักษาตามระยะเวลาของโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 3.2 วิเคราะห์ช่วงเวลาในการเข้าทำการบำรุงรักษาตามที่ระบุในข้อกำหนดหรือแผนการดำเนินการ 20602.03.02 120323
20602.04 ดำเนินการบำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมตามแผนการดำเนินการ 4.1 จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์สำรองสำหรับเข้าดำเนินการ 20602.04.01 120324
20602.04 ดำเนินการบำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมตามแผนการดำเนินการ 4.2 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนเริ่มดำเนินการ 20602.04.02 120325
20602.04 ดำเนินการบำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมตามแผนการดำเนินการ 4.3 ดำเนินการบำรุงรักษาตามเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติการ 20602.04.03 120326
20602.04 ดำเนินการบำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมตามแผนการดำเนินการ 4.4 จัดเตรียมเอกสารแสดงแผนสำรองและแผนการแก้ไขกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 20602.04.04 120327
20602.05 บันทึกผลการทำงาน และสรุปรายงานผลการบำรุงรักษา 5.1 บันทึกค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ก่อนการบำรุงรักษาตามระยะ 20602.05.01 120328
20602.05 บันทึกผลการทำงาน และสรุปรายงานผลการบำรุงรักษา 5.2 บันทึกค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง ทุกขั้นตอนของการบำรุงรักษาตามระยะที่ระบุใน TOR 20602.05.02 120329

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงรายการ (Checklist)ที่บันทึกข้อมูลผลการทำบำรุงรักษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวัด, อุปกรณ์ที่จำเป็นในงานไมโครเวฟ

  2. ความรู้เกี่ยวกับสเปค, ค่ามาตรฐานของอุปกรณ์ในงานนั้นๆ

  3. ความรู้เกี่ยวกับ Network Configuration, Topology, การวัด/อ่านค่าที่จำเป็นในระบบผ่านทาง NMS

  4. ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสื่อสารไมโครเวฟ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

 (ก) คำแนะนำ 



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. เครื่องมือ อะไหล่ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในงานบำรุงรักษานี้ให้เตรียมตามเอกสารการใช้ทรัพยากรที่ระบุไว้แล้ว ได้แก่ บันได ไขขวง ประแจ เครื่องวัดสัญญาณ อะไหล่ของอุปกรณ์ เครื่องรับ/ส่งสัญญาณไมโครเวฟ สายอากาศ สายนำสัญญาณเป็นต้น



          2. การประสานงาน จะติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานตามที่ระบุไว้จากเอกสารที่ได้ทำไว้แล้ว



          3. ขั้นตอนปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการทำการตรวจสอบและวัดค่าพารามิเตอร์ ในระหว่างอุปกรณ์ทำงานอยู่



          4. เอกสารแผนดำเนินการสำรองหรือแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉิน จะเป็นขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหากเกดข้อผิดพลาดในระหว่างทำงาน ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



          1. สมรรถนะย่อย 20602.01 ระบุข้อกำหนดการบำรุงรักษาตามระยะเวลาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          2. สมรรถนะย่อย 20602.02 จัดทำเอกสารในการบำรุงรักษาตามระยะเวลาของโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          3. สมรรถนะย่อย 20602.03 กำหนดแผนการบำรุงรักษาตามระยะเวลาของโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          4. สมรรถนะย่อย 20602.04 ดำเนินการบำรุงรักษาโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมตามแผนการดำเนินการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          5. สมรรถนะย่อย 20602.05 บันทึกผลการทำงาน และสรุปรายงานผลการบำรุงรักษา ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



 


ยินดีต้อนรับ