หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-DAOD-143B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างติดตั้งสายสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถสำรวจพื้นที่  เส้นทางในการติดตั้ง  เตรียมการติดตั้ง  ติดตั้งสายส่งสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมและทดสอบคุณภาพสัญญาณโครงข่ายใยแก้ว

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20601.01 อ่านแบบและศึกษาคู่มือการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 1.1 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมเพื่อใช้ในการติดตั้ง 20601.01.01 120191
20601.01 อ่านแบบและศึกษาคู่มือการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 1.2 วิเคราะห์เบื้องต้นสำหรับการอ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 20601.01.02 120192
20601.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.1 เลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้ 20601.02.01 120206
20601.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.2 เลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการติดตั้ง 20601.02.02 120207
20601.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 2.3 เตรียมอุปกรณ์ ระบบการจ่ายไฟและสื่อนำสัญญาณที่ใช้ในการติดตั้ง 20601.02.03 120208
20601.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 3.1 จัดลำดับขั้นตอนการติดตั้ง 20601.03.01 120234
20601.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 3.2 จัดกำลังคนและมอบหมายงาน 20601.03.02 120235
20601.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 3.3 เลือกวัสดุอุปกรณ์สายนำสัญญาณเพื่อจ่ายให้กำลังคนในแต่ละขั้นตอน 20601.03.03 120236
20601.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 4.1 จัดเตรียมเครื่องมือ และอุปกรณ์สำรอง สำหรับเข้าดำเนินการ 20601.04.01 120261
20601.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 4.2 ทำการติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายนำสัญญาณ 20601.04.02 120262
20601.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 5.1 เปิดอุปกรณ์ให้ทำงาน 20601.05.01 120279
20601.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 5.2 ตั้งค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามค่าเริ่มต้น 20601.05.02 120280
20601.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 5.3 ปรับค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ 20601.05.03 120281
20601.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 6.1 ใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมวิเคราะห์การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 20601.06.01 120284
20601.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 6.2 ทำการทดสอบตามหัวข้อที่ได้ออกแบบและกำหนดไว้ 20601.06.02 120285
20601.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม 6.3 ทำการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาเพื่อให้ โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลมทำงาน 20601.06.03 120286
20601.07 บันทึกและสรุปรายงานผล 7.1 บันทึกค่าพารามิเตอร์ในแต่ละขั้นตอนการติดตั้ง 20601.07.01 120287
20601.07 บันทึกและสรุปรายงานผล 7.2 บันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอนเป็นลายลักษณ์อักษร 20601.07.02 120288

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการกำหนดเส้นทางเดินสาย

  2. ทักษะการเขียนแบบและประมาณการติดตั้ง

  3. ความสามารถในการวางแผน หาแนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรคในการติดตั้ง

  4. ทักษะการใช้บันได เช่น การยกลงจากรถ การยกขึ้นยกลง การเคลื่อนย้าย การพาด การขึ้น การยืนปฏิบัติงาน การลง การเก็บ เป็นต้น

  5. ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูงและใกล้สายไฟฟ้า

  6. ทักษะการติดตั้งสายกระจายใยแก้วนำแสง

  7. ทักษะการเดินสายภายในอาคาร

  8. ทักษะการเข้าหัวคอนเนคเตอร์แต่ละประเภท

  9. ทักษะการใช้เครื่องมือ Optical Power Meter หรือ PON Power Meter วัดกำลังแสงและการสูญเสียของสัญญาณแสง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับการอ่านรหัสตู้พักปลายทาง (ODP: Optical Distribution Point)

  2. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้ง

  3. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการเดินสายภายใน

  4. ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการติดตั้งสายกระจายใยแก้วนำแสง

  5. ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง

  6. ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

  7. ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและข้อกำหนดของสายกระจายใยแก้วนำแสง

  8. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดหัวคอนเนคเตอร์

  9.  ความรู้เกี่ยวกับการใส่และถอดหัวคอนเนคเตอร์แต่ละชนิด

  10. ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการเผื่อสาย

  11.  ความรู้เกี่ยวกับกำหนดการโค้งงอของสายกระจายใยแก้วนำแสง

  12. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัดกำลังและการสูญเสียของสัญญาณแสง

  13. ความรู้เกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าการสูญเสียของสัญญาณแสง และวิเคราะห์ประเมินคุณภาพสัญญาณ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



          2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ปัญหาและอุปสรรคอาจแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ ระยะทางสาย และลักษณะของบ้านลูกค้าส่งผลต่อระยะเวลาติดตั้ง

  2. วัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ เช่น Hook Bolt, Drop Wire Clamp, Span Clamp เป็นต้น

  3. สายกระจายใยแก้วนำแสงอาจถูกติดตั้งจนถึงกล่องพักสาย (TB: Terminal Box) หรือถึงอุปกรณ์ปลายทาง (ONT: Optical Network) แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละผู้ให้บริการ

  4. วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ เช่น Hook Bolt, Drop Wire Clamp, Span Clamp, Connector เป็นต้น

  5. เครื่องมือที่ใช้ เช่น คีม ประแจเลื่อน มีด เครื่องมือเข้าหัวคอนเนคเตอร์ เป็นต้น

  6. สวมใส่และติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพการทำงาน และเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

  7. กำหนดจุดปล่อยสาย มีผลให้การทำงานสะดวก ปลอดภัย และโอกาสที่สายจะเกิดเสียหายลดลง

  8. ความเสียหายจากการลากสายได้แก่ แรงดึงที่เกินกว่าข้อกำหนดของผู้ผลิต รัศมีการโค้งงอของสายต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดของผู้ผลิต การถูกเสียดสี กดทับ หักงอ บิดตัว เป็นต้น

  9. อุปกรณ์จับยึด เช่น Hook Bolt, Drop Wire Clamp, Span Clamp เป็นต้น และอาจถูกติดตั้งใหม่หรือใช้ของที่ติดตั้งอยู่เดิมก็ได้ ตามสภาพหน้างาน

  10. เทคนิคและรูปแบบการเดินสายภายในบ้านอาจแตกต่างกันไปตามสภาพหน้างาน และมาตรฐานของผู้ให้บริการเช่น การเดินลอย ใช้ราง หรือร้อยท่อ เป็นต้น

  11. อุปกรณ์ทำความสะอาดอาจจะเป็น Optical Fiber Connector Cleaner หรือใช้ Isopropyl Alcohol หรือ Ethyl Alcohol > 95% ทำความสะอาด

  12. เผื่อสายกระจายใยแก้วนำแสงที่ปลายทั้งสองด้านตามมาตรฐานผู้ผลิตอุปกรณ์ หรือตามมาตรฐานผู้ให้บริการ

  13. เข้าหัวคอนเนคเตอร์ที่ปลายสายกระจายใยแก้วนำแสงทั้งสองด้านตามชนิด เช่น SC/UPC SC/APC เป็นต้น และวิธีที่กำหนด เช่น

    •      วิธีที่ 1: ใช้ FA (Field Assembly) Connector

    •      วิธีที่ 2: ใช้ Splice-On Connector

    •      วิธีที่ 3: ใช้ Pigtail Fusion Splicing



  14. วัดกำลังแสงจาก OLT ทั้งที่จุดต้นทางและปลายทางของสายกระจายใยแก้วนำแสง โดยต้นทาง วัดกำลังแสงที่ออกจากพอร์ตที่กำหนดในตู้พักปลายทาง และที่ปลายทางวัดกำลังแสงที่ปลายสายกระจายใยแก้วนำแสงที่เข้าหัวคอนเนคเตอร์แล้วโดยใช้ Optical Power Meter

  15. วัดการสูญเสียของสัญญาณแสงของสายกระจายใยแก้วนำแสง โดยรวมคอนเนคเตอร์ทั้งสองด้าน

  16. กำลังแสงที่ตู้พักปลายทางและที่บ้านลูกค้าต้องมีค่าไม่ต่ำกว่าที่ผู้ให้บริการกำหนด

  17. ค่าการสูญเสียของสัญญาณแสงของสายกระจายใยแก้วนำแสงที่วัดได้ต้องไม่เกินกว่าค่าที่คำนวณ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



          1. สมรรถนะย่อย 20601.01 อ่านแบบและศึกษาคู่มือการติดตั้งโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          2. สมรรถนะย่อย 20601.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          3. สมรรถนะย่อย 20601.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์ โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          4. สมรรถนะย่อย 20601.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณโครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          5. สมรรถนะย่อย 20601.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          6. สมรรถนะย่อย 20601.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์โครงข่ายใยแก้วนำแสงโดยอาศัยลม ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          7. สมรรถนะย่อย 20601.07 บันทึกและสรุปรายงานผล ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



 


ยินดีต้อนรับ