หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปรับปรุงแก้ไขระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-MTBN-139B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปรับปรุงแก้ไขระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างติดตั้งสายส่งสัญญาณระบบโทรคมนาคมในที่สูง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถรับแจ้ง  รวบรวมความผิดปกติของระบบสื่อสัญญาณโทรคมนาคม เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนดำเนินการของระบบสื่อสัญญาณโทรคมนาคม ดำเนินการแก้ไขเหตุเสียของระบบสื่อสัญญาณโทรคมนาคมจนสำเร็จลุล่วง บันทึกและสรุปรายงานผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20403.01 รับแจ้งและรวบรวมความผิดปกติของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 1.1 บันทึกข้อมูลความผิดปกติในระบบที่ได้รับแจ้งพร้อมทั้งรายงาน 20403.01.01 120059
20403.01 รับแจ้งและรวบรวมความผิดปกติของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 1.2 รวบรวมข้อมูลความผิดปกติก่อนนำไปบันทึก 20403.01.02 120060
20403.02 รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติของสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมจากข้อมูลที่ได้รับแจ้ง 2.1 บันทึกสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติในระบบที่ได้รับแจ้งพร้อมทั้งรายงาน 20403.02.01 120061
20403.02 รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติของสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมจากข้อมูลที่ได้รับแจ้ง 2.2 รู้เกี่ยวกับข้อมูลสาเหตุที่อาจจะทำให้เกิดความผิดปกติในระบบ 20403.02.02 120062
20403.03 เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 3.1 เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์จากผลการวิเคราะห์เหตุผิดปกติที่ได้บันทึกไว้ 20403.03.01 120063
20403.03 เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 3.2 เตรียมขั้นตอนการแก้ไขปัญหาให้สอดคล้องกับการวิเคราะห์สาเหตุ 20403.03.02 120064
20403.03 เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 3.3 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาจากเอกสารข้อมูล 20403.03.03 120065
20403.04 ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงความเสียหายที่เกิดขึ้นของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 4.1 ปฏิบัติตามขั้นตอนการแก้ไขความผิดปกติที่ได้เตรียมการไว้และอยู่ในระยะเวลาที่กำหนด 20403.04.01 120071
20403.04 ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงความเสียหายที่เกิดขึ้นของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 4.2 ทดสอบการใช้บริการหลังการแก้ไข 20403.04.02 120072
20403.04 ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงความเสียหายที่เกิดขึ้นของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 4.3 แจ้งผู้เกี่ยวข้องหลังการแก้ไขสำเร็จ 20403.04.03 120073
20403.05 บันทึกผลการทำงานและรายงานผลการบำรุงรักษา 5.1 บันทึกข้อมูลความผิดปกติในระบบที่ได้รับแจ้งรายงาน 20403.05.01 120074
20403.05 บันทึกผลการทำงานและรายงานผลการบำรุงรักษา 5.2 จัดทำรายงานการแก้ไขปัญหา 20403.05.02 120075
20403.05 บันทึกผลการทำงานและรายงานผลการบำรุงรักษา 5.3 ติดตามงานแก้ไขปัญหา 20403.05.03 173678

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงรายการ (Checklist) ที่บันทึกข้อมูลผลการทำบำรุงรักษา

2.    ความสามารถในการอ่านคู่มือที่เกี่ยวข้อง

3.    ทักษะการแก้ปัญหาหน้างาน

4.    ทักษะการสื่อสารกับลูกค้า 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานด้าน Microsoft office หรือโปรแกรมที่เกี่ยวข้อง

2.    ความรู้เกี่ยวกับการแบ่งระดับความสำคัญของปัญหา

3.    ความรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดและการใช้งานเครื่องมือวัด

4.    ความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าเริ่มต้นสำหรับเครื่องมือต่างๆ 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ  ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



          ไม่มี



(ข) อธิบายรายละเอียด



1.    ข้อมูลเกี่ยวกับความผิดปกติในระบบที่ได้รับแจ้งและ/หรือรายงาน ได้แก่ อาการเสียเบื้องต้น สัญญาณเตือน เป็นต้นโดยแจ้งผ่านระบบสื่อสารได้แก่ email, SMS,  โทรศัพท์ เป็นต้น

2.    เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์และอะไหล่ ได้แก่ เครื่องมือเข้าหัวคอนเนคเตอร์, Power meter, Repeater, Power supply, สายเชื่อมต่อ,หัวคอนเนคเตอร์ เป็นต้น

3.    ผู้ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้ดูแลระบบ หน่วยงานดูแลสถานที่ ผู้อนุมัติแผนดำเนินการ เป็นต้น

4.    ขั้นตอนการแก้ไขความผิดปกติได้แก่ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ ตรวจสอบคุณลักษณะของตัวอุปกรณ์ ตรวจสอบพารามิเตอร์หรือการตั้งค่าของตัวอุปกรณ์ ตรวจสอบทางกายภาพของตัวอุปกรณ์สายนำสัญญาณ การตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัด เป็นต้น

5.    แก้ไขความผิดปกติ เช่น แก้ไขระบบจ่ายไฟฟ้า แก้ไขความบกพร่องของสายนำสัญญาณ แก้ไขระบบกำลังส่งสัญญาณของอุปกรณ์ เป็นต้น 

6.    ระยะเวลาตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในใบรับแจ้งได้แก่ ระยะเวลาในการแก้ไข ระยะเวลาในการทดสอบระบบ

7.    การทดสอบการทำงานของอุปกรณ์หรือระบบภายหลังการแก้ไขความผิดปกติ เช่น คุณภาพการรับส่งสัญญาณ กำลังส่งขาออก ความไวในการรับสัญญาณของเครื่องรับ อัตราการผิดพลาดในการรับส่งข้อมูล เป็นต้น

8.    ภาพก่อนดำเนินการติดตั้ง และหลังดำเนินการนั้นจะบันทึกด้วยกล้อง digital จับในส่วนที่สำคัญในขั้นตอนนั้นๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภาพขณะทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์ สายนำสัญญาณ เป็นต้น

9.    ค่าพารามิเตอร์ในแต่ละขั้นตอนการติดตั้ง จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล Microsoft office เช่น ค่ากำลังงานของภาครับ ระดับสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน เป็นต้น

10.    ผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอน จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล Microsoft office เป็นต้น

11.    ค่าที่แสดงจากเครื่องมือวัดได้แก่ ภาพกราฟ, ตารางแสดงค่ากำลัง, ค่า Signal to noise ratio S/N เป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



1. สมรรถนะย่อย 20403.01 รับแจ้งและรวบรวมความผิดปกติของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน

2. สมรรถนะย่อย 20403.02 รู้เบื้องต้นเกี่ยวกับความผิดปกติของสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมจากข้อมูลที่ได้รับแจ้ง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน

3. สมรรถนะย่อย 20403.03 เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ และประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

4. สมรรถนะย่อย 20403.04 ดำเนินการแก้ไขปรับปรุงความเสียหายที่เกิดขึ้นของระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

5. สมรรถนะย่อย 20403.05 บันทึกผลการทำงานและรายงานผลการบำรุงรักษา ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



 


ยินดีต้อนรับ