หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-UBIK-137B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างติดตั้งสายส่งสัญญาณระบบโทรคมนาคมในที่สูง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถสำรวจพื้นที่ เส้นทางในการติดตั้ง เตรียมการติดตั้ง ติดตั้งสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ต่อคอนเนคเตอร์ เข้าหัวคอนเนคเตอร์ และทดสอบคุณภาพสัญญาณ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20401.01 ศึกษาเอกสารประกอบการติดตั้งสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 1.1 สามารถอ่านแบบการติดตั้งระบบ สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 20401.01.01 120002
20401.01 ศึกษาเอกสารประกอบการติดตั้งสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 1.2 เข้าใจเอกสารประกอบการติดตั้งระบบสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 20401.01.02 120003
20401.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 2.1 เลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง 20401.02.01 120004
20401.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 2.2 เลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการติดตั้ง 20401.02.02 120005
20401.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 2.3 เตรียมอุปกรณ์ในการใช้งาน รวมถึงจำแนกระบบการจ่ายไฟและสื่อนำสัญญาณที่ใช้ในการติดตั้ง 20401.02.03 120006
20401.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 3.1 จัดลำดับขั้นตอนการติดตั้ง 20401.03.01 120012
20401.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 3.2 แบ่งหน้าที่ตามกำลังคนที่ได้รับมอบหมายงาน 20401.03.02 120013
20401.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 3.3 เลือกวัสดุอุปกรณ์ให้ถูกต้อง เช่น สายนำสัญญาณ ฯลฯ เพื่อแบ่งจ่ายให้บุคคลากรที่รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอน 20401.03.03 120014
20401.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 4.1 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายนำสัญญาณ 20401.04.01 120019
20401.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 4.2 กำหนดการเผื่อของสายนำสัญญาณและสายไฟฟ้า 20401.04.02 120020
20401.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 5.1 เปิดอุปกรณ์ให้ทำงาน 20401.05.01 120025
20401.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 5.2 ตั้งค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามค่าเริ่มต้น 20401.05.02 120026
20401.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 5.3 ปรับค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ 20401.05.03 120027
20401.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 6.1 ใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมวิเคราะห์การติดต่อสื่อสารของอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคม 20401.06.01 120032
20401.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 6.2 ทำการทดสอบตามหัวข้อที่ได้กำหนดไว้ 20401.06.02 120033
20401.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง 6.3 สามารถเข้าใจและแก้ไขปัญหาเพื่อให้สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมทำงาน 20401.06.03 120034
20401.07 บันทึกและสรุปรายงานผล 7.1 บันทึกค่าพารามิเตอร์ในแต่ละขั้นตอนการติดตั้ง 20401.07.01 120035
20401.07 บันทึกและสรุปรายงานผล 7.2 บันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอนเป็นลายลักษณ์อักษร 20401.07.02 120036

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ทักษะในการกำหนดเส้นทางเดินสาย

2.    ความสามารถในการวางแผน หาแนวทางแก้ปัญหาและอุปสรรคในการติดตั้ง

3.    ทักษะการใช้บันได เช่น การยกลงจากรถ การยกขึ้นยกลง การเคลื่อนย้าย การพาด การขึ้น การยืนปฏิบัติงาน การลง การเก็บ เป็นต้น 

4.    ทักษะความปลอดภัยในการปฏิบัติงานบนที่สูงและข้อควรระวังกรณีใกล้สายไฟฟ้า

5.    ทักษะการติดตั้งสายใยแก้วนำแสงและการเก็บ

6.    ทักษะการเข้าหัวคอนเนคเตอร์แต่ละประเภท

7.    ทักษะการใช้เครื่องมือ Optical Power Meter หรือ PON Power Meter และ OTDR วัดกำลังแสงและการสูญเสียของสัญญาณแสง 

8.    ทักษะการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสง และการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับการอ่านรหัสตู้พักปลายทาง (ODP: Optical Distribution Point)

2.    ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการติดตั้งสายใยแก้วนำแสง

3.    ความรู้เกี่ยวกับวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง

4.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

5.    ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและข้อกำหนดของสายใยแก้วนำแสง

6.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการทำความสะอาดหัวคอนเนคเตอร์

7.     ความรู้เกี่ยวกับการใส่และถอดหัวคอนเนคเตอร์แต่ละชนิด

8.    ความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการเผื่อสาย

9.     ความรู้เกี่ยวกับกำหนดการโค้งงอของสายใยแก้วนำแสง

10.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการวัดกำลังและการสูญเสียของสัญญาณแสง

11.     ความรู้เกี่ยวกับวิธีการอ่านค่าการสูญเสียของสัญญาณแสง และวิเคราะห์ประเมินคุณภาพสัญญาณ

12.    ความรู้เกี่ยวกับการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสง และการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อ

13.    ความรู้เกี่ยวกับระบบสายไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

          ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ  ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง



(ก) คำแนะนำ



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



1.    ปัญหาและอุปสรรคอาจแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ ระยะทางสาย และลักษณะของบ้านลูกค้าส่งผลต่อระยะเวลาติดตั้ง

2.    สายใยแก้วนำแสงอาจถูกติดตั้งจนถึงกล่องพักสาย (TB: Terminal Box) หรือถึงอุปกรณ์ปลายทาง (ONT: Optical Network Terminal) แล้วแต่ข้อกำหนดของแต่ละผู้ให้บริการ

3.    วัสดุ อุปกรณ์ ที่ใช้ เช่น Hook Bolt, Drop Wire Clamp, Span Clamp, Connector เป็นต้น ซึ่งอาจถูกติดตั้งใหม่หรือใช้ของที่ติดตั้งอยู่เดิมก็ได้ ตามสภาพหน้างาน

4.    เครื่องมือช่างที่ใช้ เช่น คีม มีด เครื่องมือเข้าหัวคอนเนคเตอร์ เครื่องเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น

5.    สวมใส่และติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัยที่จำเป็นในการปฏิบัติงานอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพการทำงาน และเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการ ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

6.    กำหนดจุดปล่อยสาย มีผลให้การทำงานสะดวก ปลอดภัย และโอกาสที่สายจะเกิดความเสียหายลดลง

7.    การพาดสายและการประเมินระยะระหว่างเสาบนที่สูง รวมถึงการยึดสายใยแก้วนำแสงให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

8.    ความเสียหายจากการลากสายได้แก่ แรงดึงที่เกินกว่าข้อกำหนดของผู้ผลิต รัศมีการโค้งงอของสายต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดของผู้ผลิต การถูกเสียดสี กดทับ หักงอ บิดตัว เป็นต้น

9.    อุปกรณ์ทำความสะอาดอาจจะเป็น Optical Fiber Connector Cleaner หรือใช้ Isopropyl Alcohol หรือ Ethyl Alcohol > 95% ทำความสะอาด

10.    เผื่อสายกระจายใยแก้วนำแสงที่ปลายทั้งสองด้านตามมาตรฐานผู้ผลิตอุปกรณ์ หรือตามมาตรฐานผู้ให้บริการ 

11.    เข้าหัวคอนเนคเตอร์ที่ปลายสายใยแก้วนำแสงทั้งสองด้านตามชนิด เช่น SC/UPC SC/APC เป็นต้น และวิธีการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสงที่กำหนด เช่น 

    วิธีที่ 1: ใช้ FA (Field Assembly) Connector

    วิธีที่ 2: ใช้ Splice-On Connector 

    วิธีที่ 3: ใช้ Pigtail Fusion Splicing

12.    วัดกำลังแสงจาก OLT ทั้งที่จุดต้นทางและปลายทางของสายใยแก้วนำแสง โดยต้นทาง วัดกำลังแสงที่ออกจากพอร์ตที่กำหนดในตู้พักปลายทาง และที่ปลายทางวัดกำลังแสงที่ปลายสายใยแก้วนำแสงที่เข้าหัวคอนเนคเตอร์แล้วโดยใช้ Optical Power Meter

13.    วัดการสูญเสียของสัญญาณแสงของสายใยแก้วนำแสง โดยรวมคอนเนคเตอร์ทั้งสองด้าน

14.    กำลังแสงที่ตู้พักปลายทางและที่บ้านลูกค้าต้องมีค่าไม่ต่ำกว่าที่ผู้ให้บริการกำหนด

15.    ค่าการสูญเสียของสัญญาณแสงของสายใยแก้วนำแสงที่วัดได้ต้องไม่เกินกว่าค่าที่กำหนดไว้ในแบบ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



1. สมรรถนะย่อย 20401.01 ศึกษาเอกสารประกอบการติดตั้งสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน 

2. สมรรถนะย่อย 20401.02 จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

3. สมรรถนะย่อย 20401.03 จัดเรียงลำดับขั้นตอนที่ใช้ในการติดตั้งอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน

4. สมรรถนะย่อย 20401.04 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์และสื่อนำสัญญาณสายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

5. สมรรถนะย่อย 20401.05 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

6. สมรรถนะย่อย 20401.06 ทดสอบการทำงานและเตรียมความพร้อมของอุปกรณ์สายส่งสัญญาณโทรคมนาคมในที่สูง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

7. สมรรถนะย่อย 20401.07 บันทึกและสรุปรายงานผล ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ

 



 


ยินดีต้อนรับ