หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการจราจรข้อมูลโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-RZBB-160B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการจราจรข้อมูลโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักเทคโนโลยีวางโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถบริหารจัดการจราจรข้อมูล (Traffic Management) กำหนดขนาด มาตรฐาน คุณภาพ ของช่องทางจราจรพร้อมกับมีการตรวจสอบเป็นประจำรวมทั้งมีการปรับเส้นทางตามสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อโครงข่ายเพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพตามที่กำหนดและจัดทำรายงานนำเสนอข้อคิดเห็นและข้อวิเคราะห์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
23103.01 วางแผนช่องทางการจราจรของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 1.1 สามารถวางแผนช่องทางการจราจร (Traffic) โครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 23103.01.01 120563
23103.01 วางแผนช่องทางการจราจรของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 1.2 สามารถกำหนดเส้นทางจราจร 23103.01.02 120564
23103.02 จัดการจราจรของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ 2.1 สามารถกำหนดช่องทางการจราจร โครงข่ายสายใยแก้วนำแสงตามมาตรฐาน 23103.02.01 120565
23103.02 จัดการจราจรของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ 2.2 สามารถจัดการเส้นทางจราจร 23103.02.02 120566
23103.03 ตรวจสอบและทดสอบคุณภาพของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 3.1 ตรวจสอบเส้นทางการจราจรให้เป็นไปตามกำหนด 23103.03.01 120567
23103.03 ตรวจสอบและทดสอบคุณภาพของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง 3.2 ทดสอบคุณภาพช่องการจราจรให้เป็นไปตามที่กำหนด 23103.03.02 120568
23103.04 บริหารจัดการช่องทางการจราจรให้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด 4.1 ปรับเส้นทางการจราจร 23103.04.01 120576
23103.04 บริหารจัดการช่องทางการจราจรให้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด 4.2 ขยายเส้นทางการจราจร 23103.04.02 120577
23103.04 บริหารจัดการช่องทางการจราจรให้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด 4.3 บริหารจัดการอัตราการส่งถ่ายข้อมูล (Bandwidth) และเส้นทางการจราจร 23103.04.03 120578

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

          1. การใช้เครื่องมือวัด โปรแกรม และอุปกรณ์ที่จำเป็นในงานบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงโครงข่ายหลักโทรคมนาคม เช่น Diagnostic tool, Protocol Analyzer



          2. การจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Work Instruction)



          3. การจัดทำเอกสารแสดงแผนงานสำรองและแก้ไขกรณีฉุกเฉินในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงาน



          4. การวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา



          5. การตัดสินใจในการแก้ไขเหตุการณ์วิกฤต

(ข) ความต้องการด้านความรู้

          1. ความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่ใช้ในงานบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงโครงข่ายหลักโทรคมนาคม  เช่น Protocol Analyzer



          2. ความรู้เกี่ยวกับสเปคของอุปกรณ์ในโครงข่ายหลักโทรคมนาคม 



          3. ความรู้เกี่ยวกับ Network Topology และ Network Configuration



          4. ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติการโครงข่ายหลักโทรคมนาคม



          5. ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมจัดการเอการ เช่น MS Office เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ผลจากการทดสอบ

  2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน




  1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ

  2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ ผลจากการสัมภาษณ์ ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ผู้เข้าทดสอบควรคำนึงถึง เครื่องมือวัด โปรแกรม และอุปกรณ์ที่จำเป็นในงานบำรุงรักษาเชิงปรับปรุงโครงข่ายหลักโทรคมนาคม เช่น Diagnostic tool, Protocol Analyzer จัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนการแก้ไขปัญหา (Work Instruction) การปฏิบัติการโครงข่ายหลักโทรคมนาคม วิเคราะห์สาเหตุปัญหาในกรณีต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้น



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. คำนวณหาขนาดช่องการจราจร core network เพื่อให้คุณภาพช่องการจราจรจามที่กำหนด



          2. กำหนดมาตรฐานของช่องจราจรเพื่อควบคุมคุณภาพ การเชื่อมต่อ และการทำงานประสานกันของอุปกรณ์ core network



          3. ออกแบบเส้นทางการจราจร



          4. กำหนดหลักการการจราจร routing principle



          5. กำหนดเส้นทางการจราจร configuration



          6. เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ สำหรับการตรวจสอบคุณภาพของเส้นทางการจราจร



          7. เตรียมเอกสารและรายละเอียดของแบบที่กำหนด



          8. ทำการตรวจสอบเส้นทางจราจรและคุณภาพ



          9. บันทึกผลการติดตามคุณภาพโครงข่าย core network เช่น traffic management tool (MRTG)



          10. บันทึกผลการตรวจสอบ วิเคราะห์ และเสนอแนะ เพื่อแก้ไข ปรับปรุง



          11. จัดเตรียมรายละเอียด มาตรฐานและคุณภาพที่กำหนดของเส้นทางจราจร



          12. ทำความเข้าใจผลการวิเคราะห์และตรวจสอบ



          13. ทำการปรับเส้นทางการจราจรให้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด



          14. ติดตามผลการปรับเส้นทางการจราจรให้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด



          15. บันทึกผลก่อนดำเนินการ และหลังดำเนินการจัดเส้นทาง การจราจร เช่น สภาพการจราจร ปริมาณจราจรค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นการจัดเส้นทางและการทดสอบจะบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word) เช่น ค่า IP address, Port number, Routing configuration, Technical numbering เป็นต้น



          16. ผลลัพธ์ที่จากการจัดเส้นทาง การวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอน จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word) เป็นต้น



          17. ค่าสถิติที่แสดงจากการติดตามคุณภาพโครงข่าย core network



          18. จัดรวบรวมข้อมูล จากข้อ 15-17 มาจัดทำเป็นรูปเล่มเอกสารเพื่อการจัดเก็บ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 



          1. สมรรถนะย่อย 23103.01 วางแผนช่องทางการจราจรของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          2. สมรรถนะย่อย 23103.02 จัดการจราจรของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ให้มีคุณภาพและตรงกับความต้องการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          3. สมรรถนะย่อย 23103.03 ตรวจสอบและทดสอบคุณภาพของโครงข่ายสายใยแก้วนำแสง ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          4. สมรรถนะย่อย 23103.04 บริหารจัดการช่องทางการจราจรให้ได้ตามมาตรฐานและคุณภาพที่กำหนด ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



 


ยินดีต้อนรับ