หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ประยุกต์ (Advance)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-EOBG-122B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ประยุกต์ (Advance)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพนักเทคโนโลยีสื่อสัญญาณโทรคมนาคมด้านระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Radio base station: RBS)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถอ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์ของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตามขั้นตอน (Setup & Commissioning) ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพของสัญญาณ และปรับแต่งค่าของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ให้ได้ตามค่าที่กำหนดหรือค่าที่คำนวณ และบันทึกและสรุปรายงานผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2153 วิศวกรโทรคมนาคม1330 ผู้จัดการด้านการบริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20204.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.1 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 20204.01.01 119809
20204.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.2 สามารถติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์ เคลื่อนที่ 20204.01.02 119810
20204.02 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์ของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Setup & Commissioning) 2.1 เปิดอุปกรณ์ให้ทำงาน 20204.02.01 119811
20204.02 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์ของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Setup & Commissioning) 2.2 ตั้งค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามค่าเริ่มต้น 20204.02.02 119812
20204.02 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์ของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Setup & Commissioning) 2.3 ปรับแต่งทิศทางของสายอากาศ 20204.02.03 119813
20204.03 ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพของสัญญาณ และปรับแต่งค่าของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.1 เลือกใช้เครื่องมือวัด ทำการวัดคุณภาพของสัญญาณ 20204.03.01 119814
20204.03 ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพของสัญญาณ และปรับแต่งค่าของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.2 ปรับแต่งคุณภาพสัญญาณ ทั้งฝั่งด้านส่งและรับสัญญาณให้ 20204.03.02 119815
20204.03 ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพของสัญญาณ และปรับแต่งค่าของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.3 ทำการปรับแต่งกำลังของเครื่องส่งเพื่อให้ภาครับ รับค่าสัญญาณ 20204.03.03 119816
20204.04 บันทึกและสรุปรายงานผล 4.1 ทำการบันทึกภาพก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการ 20204.04.01 119817
20204.04 บันทึกและสรุปรายงานผล 4.2 ทำการบันทึกค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นตอนการติดตั้ง 20204.04.02 119818
20204.04 บันทึกและสรุปรายงานผล 4.3 ทำการบันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอนเป็นลายลักษณ์อักษร 20204.04.03 119819
20204.04 บันทึกและสรุปรายงานผล 4.4 ทำการจัดเก็บภาพแสดงค่าต่าง ๆ ที่ได้จากเครื่องมือวัดในรูปเอกสาร และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 20204.04.04 119820

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงรายละเอียดการถอดแบบระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่กำหนดให้

  2. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงค่าพารามิเตอร์ที่นำออก  (Export) มาจากอุปกรณ์ที่ทำการติดตั้งเช่นรูปแบบเอกสาร รูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์

  3. ทักษะการใช้เครื่องมือวัดความแรงของสัญญาณ Power meter, Spectrum analyzer, VSWR meter Propagation Inter modulation measurement และเครื่องทดสอบความแรงของสัญญาณตามระยะทางที่เคลื่อนที่

  4. ทักษะการตั้งค่าที่อุปกรณ์เครื่องรับเครื่องส่งและสายอากาศ

  5. ความสามารถในการจัดทำเอกสารรายงานส่งมอบงานที่รวบรวม ได้แก่ ภาพการดำเนินการ,ค่าพารามิเตอร์,ค่าแสดงคุณภาพสัญญาณ,แบบการติดตั้ง,ใบแสดงปริมาณงาน เพื่อการตรวจรับงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า, สัญลักษณ์ทางเรขาคณิต,สัญลักษณ์ทางเครื่องกล,สัญลักษณ์ทางวิศวกรรมสื่อสารโทรคมนาคม,สัญลักษณ์ทางโยธาที่มีใช้ในแบบ เป็นต้น

  2. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-สื่อสาร , ศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล ,ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น

  3. ความรู้เกี่ยวกับมาตราส่วนในระบบเมตริก , มาตราส่วนในระบบ SI, ตัวเลขในระบบอารบิกและโรมัน ,ระบบเลขฐาน ต่าง ๆ ที่จำเป็น (เลขฐาน 2,8,10,16 ) เป็นต้น

  4. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะการทำงานของเครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทำการติดตั้ง

  5. ความรู้เกี่ยวกับการตั้งค่าพารามิเตอร์(Setup & Commissioning)เครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่

  6. มีความรู้เกี่ยวกับสายอากาศ ที่ใช้ในระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ทำการติดตั้ง

  7. ความรู้ทางภาคทฤษฎีในเนื้อหาเกี่ยวกับวิศวกรรมระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นในการคำนวณความแรงของระดับสัญญาณที่ใช้งาน พิจารณาร่วมกับสถานที่หรือระยะทางที่ติดตั้งเครื่องรับและเครื่องส่ง

  8. ความรู้เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์และ Internet

  9. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะของสายอากาศ

  10. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดค่าความแรงของสัญญาณ Power meter/Spectrum Analyzer

  11. ความรู้เกี่ยวกับการคำนวณค่าความแรงของสัญญาณ

  12. ความรู้ทางภาคทฤษฎีในเนื้อหาเกี่ยวกับวิศวกรรมระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เช่นในการคำนวณความแรงของระดับสัญญาณที่ใช้งาน พิจารณาร่วมกับสถานที่หรือระยะทางที่ติดตั้งเครื่องรับและเครื่องส่ง

  13. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word file)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



          2. ผลจากสัมภาษณ์



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ ผลจากการสัมภาษณ์ ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี



 

15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. แบบที่ใช้ติดตั้งและคู่การติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำหนดให้นั้น ประกอบด้วย



                    1.1 สัญลักษณ์  ได้แก่ สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า, สัญลักษณ์ทางเรขาคณิต, สัญลักษณ์ทางเครื่องกล, สัญลักษณ์ทางวิศวกรรมสื่อสารโทรคมนาคม,สัญลักษณ์ทางโยธา เป็นต้น



                    1.2 ศัพท์ทางเทคนิค ได้แก่  ศัพท์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-สื่อสาร, ศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล, ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น



                    1.3 มาตราส่วน ได้แก่ มาตราส่วนในระบบเมตริก , มาตราส่วนในระบบ SI, ตัวเลขในระบบอารบิกและโรมัน, ระบบเลขฐาน ต่าง ๆ ที่จำเป็น (เลขฐาน 2, 8, 10, 16) เป็นต้น



          2. คู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายถึงคู่มือการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นต้น



          3. ทำการตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนเปิดใช้งานและลำดับขั้นตอนของการเปิดอุปกรณ์ที่กำหนดไว้ โดยอุปกรณ์ไม่เสียหายและทำงานได้ปกติ



          4. ทำตั้งค่าพารามิเตอร์ของอุปกรณ์ต่าง ๆ ตามค่าเริ่มต้น ตามคู่มือการติดตั้งหรือข้อมูลที่กำหนดมาให้ได้ครบถ้วน



          5. ทำการตรวจสอบและทดสอบสัญญาณเตือน(Alarm)ที่เกิดขึ้น ตามคุณสมบัติของเครื่องให้เป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิต



          6. เครื่องมือวัดคุณภาพของสัญญาณได้แก่ Power meter spectrum analyzer ใช้ทำการวัดค่าความแรงสัญญาณของภาคส่ง โดยแสดงค่ากำลังสัญญาณ (power), Signal to noise ratio (S/N) ใช้ทำการทดสอบคุณภาพสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน และ VSWR meter ใช้ทดสอบค่าการสะท้อนของคลื่น, Propagation Inter modulation measurement ใช้ทดสอบการรบกวนของสัญญาณ,เครื่องทดสอบความแรงของสัญญาณตามระยะทางที่เคลื่อนที่ (Drive test) แสดงผลทางหน้าจอหรือพิมพ์ผลลัพธ์ออกมาเป็นต้น



          7. ปรับแต่งสายอากาศโดยทำการปรับแต่งมุมของสายอากาศ หรือขยับตำแหน่ง จุดที่ติดตั้ง เพื่อให้ได้คุณภาพสัญญาณตามค่าทีเหมาะสมตามที่กำหนดหรือจากผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ



          8. กำลังของสัญญาณที่เครื่องส่ง จะต้องส่งได้แรงพอที่เครื่องรับ สามารถรับค่าความแรงของสัญญาณ แล้วได้คุณภาพของสัญญาณเหมาะสมที่สุด ตามค่าที่กำหนดหรือจากผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ



          9. ภาพก่อนดำเนินการติดตั้ง และหลังดำเนินการนั้นจะบันทึกด้วยกล้อง digital จับในส่วนที่สำคัญในขั้นตอนนั้นๆเช่น สภาพพื้นที่ ภาพขณะทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์ สายนำสัญญาณ สายอากาศ เป็นต้น



          10. ค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นการติดตั้งจะบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล excel file, word เช่นค่า กำลังส่งสัญญาณของเครื่องส่ง ค่าความไวในการรับของเครื่องรับ ระดับสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน เป็นต้น



          11. ผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอน จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล excel file, word เป็นต้น



          12. ค่าที่แสดงจากเครื่องมือวัดได้แก่ ภาพกราฟ, ตารางแสดงค่ากำลัง,ค่า Signal to noise ratio S/N ค่าการสะท้อนกำลังงานที่ขั้วของสายอากาศ เป็นต้น



          13. จัดรวบรวมข้อมูล จากข้อ 1-4 มาจัดทำเป็นรูปเล่มเอกสารส่งมอบงานต้องมีใบสรุปปริมาณงาน เพื่อการตรวจรับงานประกอบด้วย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้



          1. สมรรถนะย่อย 20204.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          2. สมรรถนะย่อย 20204.02 เปิดใช้งานระบบและตั้งค่าพารามิเตอร์ของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ (Setup & Commissioning) ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          3. สมรรถนะย่อย 20204.03 ใช้เครื่องมือวัดคุณภาพของสัญญาณ และปรับแต่งค่าของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



          4. สมรรถนะย่อย 20204.04 บันทึกและสรุปรายงานผล ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ แบบสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ