หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาตามระยะเวลาระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ประยุกต์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-SJLE-124B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาตามระยะเวลาระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ประยุกต์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างสื่อสัญญาณโทรคมนาคมด้านระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Radio base station: RBS)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถพิจารณาข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการและบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา (Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ กำหนดช่วงเวลาในการบำรุงรักษาตามขอบเขตที่กำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ดำเนินการบำรุงรักษาของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามแผนการดำเนินการ (Schedule plan) ที่กำหนดไว้และบันทึกการทำงานและสรุปรายงานผล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20206.01 พิจารณาข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการและบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 1.1 ทำการแยกรายละเอียดของงานตามข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการได้ 20206.01.01 119825
20206.01 พิจารณาข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการและบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน 1.2 บริหารจัดการความเสี่ยงของระบบตามข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการได้ 20206.01.02 119826
20206.02 จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา(Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 2.1 กำหนดขั้นตอนหรือวิธีการปฏิบัติงาน (Work instruction) ในแต่ละประเภทงานที่ได้จากการจำแนกงานจากข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการได้ 20206.02.01 119827
20206.02 จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา(Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 2.2 จัดทำเอกสารระบุการใช้ทรัพยากรในแต่ละประเภทงานที่ได้จากการจำแนกงานจากข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการได้ 20206.02.02 119828
20206.02 จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา(Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 2.3 จัดทำแผนรองรับและแผนสำรองกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินในแต่ละขั้นตอนในการปฏิบัติงาน 20206.02.03 119829
20206.02 จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา(Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 2.4 จัดทำเอกสารที่ระบุผู้ที่ต้องประสานงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง ในการทำงานแต่ละขั้นตอนจากข้อ 1 20206.02.04 119830
20206.02 จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา(Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 2.5 จัดทำเอกสารบันทึกการตรวจสอบอุปกรณ์ (Check lists) และค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ให้เหมาะสมครบถ้วนตามข้อกำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 20206.02.05 119831
20206.03 กำหนดช่วงเวลาในการบำรุงรักษาตามขอบเขตที่กำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.1 อ่านเอกสารบันทึกการตรวจสอบอุปกรณ์และค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ ในการบำรุงรักษาให้เข้าใจ 20206.03.01 119832
20206.03 กำหนดช่วงเวลาในการบำรุงรักษาตามขอบเขตที่กำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.2 กำหนดจำนวนครั้งและช่วงเวลาในการเข้าทำการบำรุงรักษาตามขอบเขตที่กำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการ 20206.03.02 119833
20206.04 ดำเนินการบำรุงรักษาของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามแผนการดำเนินการ (schedule plan) ที่กำหนดไว้ 4.1 จัดเตรียมเครื่องมือ อะไหล่ และอุปกรณ์สำหรับเข้าดำเนินการได้ 20206.04.01 119834
20206.04 ดำเนินการบำรุงรักษาของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามแผนการดำเนินการ (schedule plan) ที่กำหนดไว้ 4.2 ประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก่อนเริ่มดำเนินการได้ 20206.04.02 119835
20206.04 ดำเนินการบำรุงรักษาของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามแผนการดำเนินการ (schedule plan) ที่กำหนดไว้ 4.3 ดำเนินการบำรุงรักษาตามเอกสารขั้นตอนการปฏิบัติการได้ (work instruction) 20206.04.03 119836
20206.04 ดำเนินการบำรุงรักษาของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามแผนการดำเนินการ (schedule plan) ที่กำหนดไว้ 4.4 จัดเตรียมเอกสารแสดงแผนสำรองและแผนการแก้ไขกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินได้ 20206.04.04 119837
20206.05 บันทึกการทำงานและสรุปรายงานผล 5.1 บันทึกภาพก่อนดำเนินการและหลังดำเนินการได้ 20206.05.01 119838
20206.05 บันทึกการทำงานและสรุปรายงานผล 5.2 บันทึกค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นตอนการติดตั้งได้ 20206.05.02 119839
20206.05 บันทึกการทำงานและสรุปรายงานผล 5.3 บันทึกผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอนเป็นลายลักษณ์อักษรได้ 20206.05.03 119840
20206.05 บันทึกการทำงานและสรุปรายงานผล 5.4 ทำการจัดเก็บภาพแสดงค่าต่างๆ ที่ได้จากเครื่องมือวัดในรูปเอกสาร และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ 20206.05.04 119841

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงแจกแจงรายละเอียดของงานที่แยกออกมาจาก TOR ที่กำหนดให้

  2. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงขั้นตอนการบำรุงรักษา (work instruction)

  3. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงการใช้ทรัพยากรในงานบำรุงจากการข้อกำหนดใน TORหรือแผนการดำเนินการ

  4. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงแผนงานสำรองและแก้ไขกรณีฉุกเฉินในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงาน

  5. ความสามารถในการจัดทำเอกสาร Checklist ที่ได้บันทึกผลการบำรุงรักษา

  6. ความสามารถในการจัดตารางแสดงเวลาการดำเนินการและกิจกรรมในการดำเนินการ (Schedule Plan)

  7. ความสามารถในการจัดทำเอกสารรายงานส่งมอบงานที่รวบรวม ได้แก่ ภาพการดำเนินการ,ค่าพารามิเตอร์, ค่าแสดงคุณภาพสัญญาณ,แบบการติดตั้ง,ใบแสดงปริมาณงาน เพื่อการตรวจรับงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่

  2. ความรู้เกี่ยวกับสายอากาศ สายนำสัญญาณ

  3. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการโครงการ

  4. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการความเสี่ยง (Risk analysis)

  5. ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำหรับจัดการโครงการเช่นMicrosoft project เป็นต้น

  6. ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมจัดการข้อมูล เช่น spread sheet(excel) เป็นต้น

  7. ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word file)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

    หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. ข้อกำหนด TOR (Term of requirement) คือ ข้อกำหนดที่ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบดูอุปกรณ์ที่จะทำการบำรุงรักษานั้น ๆ เป็นผู้ร่างข้อกำหนดนี้ขึ้นมาเพื่อเป็นการกำหนดขอบเขตของงานบำรุงรักษา ที่ต้องการให้ดำเนินการว่า ผู้ที่จะทำการรับงานบำรุงรักษาจะต้องมีคุณสมบัติพร้อมสำหรับปฏิบัติงานให้ครบตามจำนวนของอุปกรณ์และขอบเขตการใช้อะไหล่รวมถึงความรับผิดชอบ ของผู้รับงาน ที่ใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการทำสัญญาจ้าง



          2. การระบุวิธีการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนการทำงาน (work instruction) นั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ต้องทำตามขั้นตอนนี้ เพื่อให้ได้คุณภาพงานที่มีประสิทธิภาพและเกิดความปลอดภัยในระหว่างการทำงาน



          3. เอกสารที่ระบุการใช้ทรัพยากร หมายถึงเอกสารที่บ่งบอกถึงประเภทงานในแต่ละงานที่จะทำการบำรุงรักษานั้น ต้องใช้อะไรบ้าง ได้แก่ ใช้คนทำงานนี้จำนวนกี่คน ใช้รถกี่คัน ใช้เครื่องมือและเครื่องวัดอะไรบ้าง ให้ครบถ้วน ตามจำนวนงานที่จำแนกจาก TOR หรือแผนการดำเนินการออกมาแล้ว



          4. เอกสารที่แสดงข้อกำหนดการปฏิบัติงานและแผนสำรองหรือแผนกอบกู้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน นั้น จะเป็นเอกสารที่บอกถึงวิธีการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงาน (work instruction)ให้สามารถนำมาใช้ได้ทันที



          5. เอกสารที่ระบุผู้ที่ต้องประสานงาน เป็นเอกสารที่ระบุว่าในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติงานต้องติดต่อประสานงานใครบ้างทั้งก่อนและหลังดำเนินการหรือเมื่อเกิดเหตุการณ์ผิดพลาด



          6. เอกสารบันทึกการตรวจสอบอุปกรณ์และค่าพารามิเตอร์ เป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นเพื่อกรอกข้อมูลที่ได้จากการตรวจสอบอุปกรณ์ ว่ามีสภาพการทำงานเป็นเช่นไร มีค่าพารามิเตอร์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเท่าไร หรืออาจรวมถึงภาพถ่ายที่จะต้องแนบเข้าไปด้วย



          7. ขอบเขตที่กำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการนั้น จะระบุไว้ว่าจะต้องดำเนินการให้ได้กี่ครั้งต่อปี หรือจะทำกระบวนการบำรุงรักษานี้ในช่วงใดของปี เช่น ดำเนินการปีละ 2 ครั้ง ก็จะต้องกำหนดช่วงเวลาดำเนินการให้เป็น/ช่วงเวลา ที่มีระยะห่างกันพอสมควร คือ 6 เดือน/ครั้ง เป็นต้น โดยจัดทำในรูปแบบตาราง หรือแผนผัง ในรูปเอกสาร และเอกสารอิเล็กทรอนิกส์



          8. เครื่องมือ อะไหล่ และอุปกรณ์ ที่ใช้ในงานบำรุงรักษานี้ให้เตรียมตามเอกสารการใช้ทรัพยากรที่ระบุไว้แล้ว ได้แก่ บันได ไขควง ประแจ เครื่องวัดสัญญาณ อะไหล่ของระบบเครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ สายอากาศ สายนำสัญญาณเป็นต้น



          9. การประสานงาน จะติดต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานตามที่ระบุไว้จากเอกสารที่ได้ทำไว้แล้ว



          10. ขั้นตอนปฏิบัติงาน เป็นกระบวนการทำการตรวจสอบและวัดค่าพารามิเตอร์ ในระหว่างอุปกรณ์ทำงานอยู่



          11. เอกสารแผนดำเนินการสำรองหรือแก้ไขปัญหากรณีฉุกเฉิน จะเป็นขั้นตอนวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าหากเกิดข้อผิดพลาดในระหว่างทำงาน ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วขึ้น



          12. ภาพก่อนดำเนินการติดตั้ง และหลังดำเนินการนั้นจะบันทึกด้วยกล้อง digital จับในส่วนที่สำคัญในขั้นตอนนั้นๆ เช่น สภาพพื้นที่ ภาพขณะทำการติดตั้งตัวอุปกรณ์ สายนำสัญญาณ สายอากาศ เป็นต้น



          13. ค่าพารามิเตอร์ ในแต่ละขั้นการติดตั้งจะบันทึก เป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word) เช่นค่า กำลังส่งสัญญาณของเครื่องส่ง ค่าความไวในการรับของเครื่องรับ ระดับสัญญาณต่อสัญญาณรบกวน เป็นต้น



          14. ผลลัพธ์ที่ได้จากการวัดค่าและทดสอบในแต่ละขั้นตอน จะบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแฟ้มข้อมูล spread sheet (excel file, word) เป็นต้น



          15. ค่าที่แสดงจากเครื่องมือวัดได้แก่ ภาพกราฟ , ตารางแสดงค่ากำลัง,ค่า Signal to noise ratio S/N ค่าการสะท้อนกำลังงานที่ขั้วของสายอากาศ เป็นต้น



          16. จัดรวบรวมข้อมูล จากข้อ 1-4 มาจัดทำเป็นรูปเล่มเอกสารส่งมอบงานต้องมีใบสรุปปริมาณงาน เพื่อการตรวจรับงานประกอบด้วย



 

16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้



          1. สมรรถนะย่อย 20206.01 พิจารณาข้อกำหนด TOR หรือแผนการดำเนินการและบริหารจัดการความเสี่ยงของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          2. สมรรถนะย่อย 20206.02 จัดลำดับขั้นตอนในการปฏิบัติงาน (Work instruction) แผนสำรองแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุฉุกเฉินและจัดทำเอกสารในการบำรุงรักษา(Checklist) ตามข้อกำหนดที่ให้มาใน TOR หรือแผนการดำเนินการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          3. สมรรถนะย่อย 20206.03 กำหนดช่วงเวลาในการบำรุงรักษาตามขอบเขตที่กำหนดใน TOR หรือแผนการดำเนินการของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          4. สมรรถนะย่อย 20206.04 ดำเนินการบำรุงรักษาของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ตามแผนการดำเนินการ (schedule plan) ที่กำหนดไว้ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          5. สมรรถนะย่อย 20206.05 บันทึกการทำงานและสรุปรายงานผล ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ