หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นต้น (Basic)

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-LQHI-120B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ขั้นต้น (Basic)

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2563

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

          อาชีพช่างสื่อสัญญาณโทรคมนาคมด้านระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Radio base station: RBS)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
          เป็นผู้ที่สามารถอ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ จัดเตรียมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ สายอากาศ สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้งได้ และติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
          ผู้ประกอบการวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
3521 ช่างเทคนิคด้านการแพร่ภาพกระจายเสียงและโสตทัศนูปกรณ์3522 ช่างเทคนิควิศวกรโทรคมนาคม7422 ช่างติดตั้งและผู้ให้บริการด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20202.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.1 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีสัญลักษณ์ ศัพท์ทางเทคนิค มาตราส่วนที่กำหนดให้ 20202.01.01 119782
20202.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1.2 สามารถติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีสัญลักษณ์ ศัพท์ทางเทคนิคมาตราส่วน ตามคู่มือที่กำหนด 20202.01.02 119783
20202.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.1 เลือกใช้เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้ 20202.02.01 119784
20202.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.2 เลือกใช้วัสดุที่ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้ 20202.02.02 119785
20202.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.3 เตรียมอุปกรณ์ (Equipment) ที่ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้ 20202.02.03 119786
20202.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้ง 2.4 เลือกใช้สายอากาศและสายนำสัญญาณที่ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้ 20202.02.04 119787
20202.03 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.1 ทำการติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศสายนำสัญญาณ และแหล่งจ่ายไฟฟ้า 20202.03.01 119788
20202.03 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.2 กำหนดพิกัดความเผื่อของสายนำสัญญาณและสายไฟฟ้า 20202.03.02 119789
20202.03 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.3 ติดตั้งระบบสายดิน (Grounding) 20202.03.03 119790
20202.03 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3.4 จัดทำป้ายสัญลักษณ์ (Labeling) โดยพิมพ์ข้อความ และกำหนดขนาดตามแบบที่กำหนด 20202.03.04 119791

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ความสามารถในการจัดทำเอกสารแสดงรายละเอียดการถอดแบบระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ที่กำหนดให้

  2. ทักษะการติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณ

  3. ทักษะการเข้าหัวต่อ(Connector)สายนำสัญญาณและสายไฟฟ้า

  4. ทักษะการติดตั้งระบบสายดิน (Grounding) ตามมาตรฐานวิศวกรรม

  5. ทักษะการจัดทำป้ายสัญลักษณ์(labeling)โดยพิมพ์ข้อความ และขนาด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่ลูกค้ากำหนด

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ทางไฟฟ้า, สัญลักษณ์ทางเรขาคณิต,สัญลักษณ์ทางเครื่องกล,สัญลักษณ์ทางวิศวกรรมสื่อสารโทรคมนาคม,สัญลักษณ์ทางโยธาที่มีใช้ในแบบ เป็นต้น

  2. ความรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-สื่อสาร , ศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล ,ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น

  3. ความรู้เกี่ยวกับมาตราส่วนในระบบเมตริก , มาตราส่วนในระบบ SI, ตัวเลขในระบบอารบิกและโรมัน ,ระบบเลขฐาน ต่าง ๆ ที่จำเป็น (เลขฐาน 2,8,10,16 ) เป็นต้น

  4. ความรู้เกี่ยวกับคุณลักษณะและวิธีการใช้เครื่องมือ ใช้ในการติดตั้งตามแบบที่กำหนดให้

  5. ความรู้เกี่ยวกับสายนำสัญญาณ& Wave guide

  6. ความรู้เกี่ยวกับประเภทของสายอากาศ

  7. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์รับ-ส่ง สัญญาณคลื่นวิทยุ

  8. ความรู้เกี่ยวการการเข้าหัว connector สายนำสัญญาณ

  9. ความรู้เกี่ยวกับสายอากาศและการปรับมุมทิศทาง

  10. ความรู้เกี่ยวกับระบบ Grounding

  11. ความรู้ด้านวงจรไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

          หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



          1. ผลจากการทดสอบ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



          ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด  ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง



(ง) วิธีการประเมิน



          1. การประเมินผลการปฏิบัติงานจากแบบทดสอบภาคปฏิบัติ



          2. ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้ผลจากแบบทดสอบภาคทฤษฎี


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



          ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด



          1. แบบที่ใช้ติดตั้งและคู่การติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่กำหนดให้นั้น ประกอบด้วย



                    1.1 สัญลักษณ์ ได้แก่ สัญลักษณ์ทางไฟฟ้า, สัญลักษณ์ทางเรขาคณิต,สัญลักษณ์ทางเครื่องกล,สัญลักษณ์ทางวิศวกรรมสื่อสารโทรคมนาคม,สัญลักษณ์ทางโยธา เป็นต้น



                    1.2 ศัพท์ทางเทคนิค ได้แก่  ศัพท์ทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า-สื่อสาร, ศัพท์ทางวิศวกรรมเครื่องกล,ศัพท์ทางวิศวกรรมโยธา เป็นต้น



                    1.3 มาตราส่วน ได้แก่ มาตราส่วนในระบบเมตริก , มาตราส่วนในระบบ SI, ตัวเลขในระบบ      อารบิกและโรมัน, ระบบเลขฐาน ต่าง ๆ ที่จำเป็น (เลขฐาน 2, 8, 10, 16 ) เป็นต้น



          2. คู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่หมายถึงคู่มือการติดตั้งอุปกรณ์ระบบเครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นต้น



          3. เครื่องมือที่ใช้ในการติดตั้ง ได้แก่ สว่าน, ค้อน ,ประแจ, ไขควง เป็นต้น



          4. วัสดุที่ใช้ในงานติดตั้ง ได้แก่ วัสดุที่ใช้ในการเจาะยึด ได้แก่ แคล้มจับยึด,พุกเป็นต้น, หัวต่อแบบต่าง ๆ (Connectors) และวัสดุที่ใช้งานภายในอาคาร (Indoor) เช่น Rack, Ladder, wire way เป็นต้นและวัสดุที่ใช้งานภายนอกอาคาร (Outdoor) เช่น ตัวยึดจับสายอากาศ,Ladder ,Bar ground เป็นต้น



          5. อุปกรณ์ที่ทำการติดตั้ง (Equipment) ได้แก่ เครื่องรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่,แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply) ตัวกรองสัญญาณ ตัวรวมสัญญาณ ตัวแยกสัญญาณ เป็นต้น



          6. สายอากาศ (antenna) ได้แก่ สายอากาศแถวลำดับ (Array antenna) และสายอากาศแผ่นระนาบ (Planar antenna) เป็นต้น



          7. สายนำสัญญาณ (transmission line) ได้แก่ Wave guide แบบต่าง เช่น รูปไข่, วงกลม เป็นต้น



          8. ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณตามขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยทำการยึดจับเข้ากับเสาและรางสายนำสัญญาณให้แข็งแรงคงทน



          9. ติดตั้งแหล่งจ่ายไฟฟ้าพร้อมเดินสายไฟฟ้าเข้าตัวอุปกรณ์ถูกต้องตามขั้นตอนที่กำหนดไว้



          10. กำหนดพิกัดความเผื่อของสายนำสัญญาณและสายไฟฟ้าได้ตามข้อกำหนด ตามสภาพแวดล้อมในสถานที่ปฏิบัติงานเช่น การเผื่อสายนำสัญญาณไว้ 1-1.5 เมตร ก่อนการปรับแต่งคุณภาพสัญญาณ เป็นต้น



          11. สามารถเข้าหัวต่อ (Connectors) สายนำสัญญาณตามขั้นตอนและคุณลักษณะทางกายภาพที่กำหนดจากบริษัทผู้ผลิต



          12. ติดตั้งอุปกรณ์ (เครื่องรับ-ส่ง) ตามแบบที่กำหนดและแข็งแรงคงทน



          13. ติดตั้งระบบสายดิน (Grounding) ที่สายอากาศ สายนำสัญญาณ และ อุปกรณ์ตามมาตรฐานวิศวกรรมโดยใช้สาย THW สีเขียวตามขนาดที่กำหนดในแบบทำการติดตั้งกับแผ่น Bar ground ที่มีเดิมอยู่แล้วหรือทำการติดตั้งขึ้นมาใหม่



          14. จัดทำ labeling โดยพิมพ์ข้อความ และขนาด ให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดให้ เช่น ใช้แผ่นสังกะสีตอกข้อความ TX, RX แล้วยึดติดกับสายนำสัญญาณเป็นต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้



          1. สมรรถนะย่อย 20202.01 อ่านแบบและคู่มือการติดตั้งระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          2. สมรรถนะย่อย 20202.02 จัดเตรียมเครื่องมือ, วัสดุและอุปกรณ์, สายอากาศ, สายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อติดตั้งตามแบบที่กำหนด ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



          3. สมรรถนะย่อย 20202.03 ติดตั้งวัสดุ อุปกรณ์ สายอากาศและสายนำสัญญาณของระบบรับ-ส่งคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ข้อสอบปฏิบัติ



ยินดีต้อนรับ