หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการด้านคุณภาพของโครงการ
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | ICT-SDCG-228B |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการด้านคุณภาพของโครงการ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / - |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
N/A
|
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
มีความสามารถในการพิเคราะห์เอกสารตามความต้องการที่เกี่ยวข้องกับโครงการ (Consider Requirements Documentation) พิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมขององค์กร (Consider Enterprise Environmental Factors) จัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพ (Create Quality Management Plan) การประเมินแผนบริหารคุณภาพโครงการ (Evaluate Quality Management Plan), ดำเนินการวัดและควบคุมคุณภาพการดำเนินโครงการ (Execute Quality Metrics and Control Measurements) ดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินโครงการ (Execute Quality Assurance) ควบคุมตัวชี้วัดคุณภาพ (Control Quality Metrics), ติดตามรายการการควบคุมคุณภาพ (Track Quality Checklists), ควบคุมการอนุมัติการขอเปลี่ยนแปลงตารางการทำงาน (Control Approved Change Requests), ควบคุมการส่งมอบงาน (Control Deliverables) และติดตามเอกสารการดำเนินโครงการ (Track Project Documents) |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
1120 กรรมการผู้จัดการและผู้บริหารระดับสูง1223 ผู้จัดการด้านวิจัยและพัฒนา |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
60303.01 วิเคราะห์แผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร (Analyze Project Management Plan, Enterprise Environmental Factors and Organization Working Process) | 1.1 รวบรวมแผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร | 60303.01.01 | 119677 |
60303.01 วิเคราะห์แผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร (Analyze Project Management Plan, Enterprise Environmental Factors and Organization Working Process) | 1.2 วิเคราะห์แผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร | 60303.01.02 | 119678 |
60303.02 จัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพ (Create Quality Management Plan) | 2.1 วิเคราะห์แผนการบริหารโครงการและออกแบบแผนบริหารคุณภาพโครงการ | 60303.02.01 | 119679 |
60303.02 จัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพ (Create Quality Management Plan) | 2.2 จัดทำแผนบริหารคุณภาพโครงการ | 60303.02.02 | 119680 |
60303.03 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพโครงการ (Collect Related Document for Project Quality Assurance) | 3.1 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพโครงการ | 60303.03.01 | 119681 |
60303.03 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพโครงการ (Collect Related Document for Project Quality Assurance) | 3.2 สรุปเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพโครงการ | 60303.03.02 | 119682 |
60303.04 ดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินโครงการ (Execute Quality Assurance) | 4.1 ดำเนินการวัดคุณภาพการดำเนินงานโครงการ | 60303.04.01 | 119683 |
60303.04 ดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินโครงการ (Execute Quality Assurance) | 4.2 สรุปผลการวัดคุณภาพการดำเนินงานโครงการ | 60303.04.02 | 119684 |
60303.05 ปรับปรุงเอกสารโครงการ (Project Document Update) | 5.1 ดำเนินการขอเปลี่ยนแปลง | 60303.05.01 | 119685 |
60303.05 ปรับปรุงเอกสารโครงการ (Project Document Update) | 5.2 ดำเนินการปรับปรุงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพโครงการ | 60303.05.02 | 119686 |
60303.06 ติดตามรายการควบคุมคุณภาพ | 6.1 ควบคุมตัวชี้วัดคุณภาพโครงการให้เป็นไปตามแผนควบคุมคุณภาพโครงการ | 60303.06.01 | 119687 |
60303.06 ติดตามรายการควบคุมคุณภาพ | 6.2 ติดตามรายการการควบคุมคุณภาพโครงการ | 60303.06.02 | 119688 |
60303.07 ควบคุมคุณภาพการส่งมอบงาน | 7.1 ตรวจสอบและจัดการการเปลี่ยนแปลง | 60303.07.01 | 119689 |
60303.07 ควบคุมคุณภาพการส่งมอบงาน | 7.2 ควบคุมการส่งมอบงาน | 60303.07.02 | 119690 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ไม่มี |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ความสามารถในการวิเคราะห์แผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร 2. ความสามารถในการใช้ตัวชี้วัดและรายการติดตามมาตรวจสอบและใช้วัดคุณภาพโครงการ 3. ความสามารถในการใช้เครื่องมือ เช่น Cost-Benefit Analysis, Cost of Quality (COQ), Seven Basic Quality Tools, Benchmarking, Design of Experiments หรือเครื่องมืออื่นที่เกี่ยวข้อง 4. ความสามารถในการจัดทำเอกสารการจัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพ 5. ความสามารถในการเก็บข้อมูลจากการดำเนินโครงการที่แท้จริง 6. ความสามารถในการเปรียบเทียบตัวชี้วัดค่าที่ได้กำหนดในแผนการควบคุมคุณภาพโครงการมาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการดำเนินโครงการ 7. ความสามารถในการขอเปลี่ยนแปลงตามผลของการเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด 8. ความสามารถในการปรับปรุงแผนการบริหารโครงการ เอกสารโครงการ ตามการขอเปลี่ยนแปลง สินทรัพย์กระบวนการโครงสร้างจากผลของการเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด 9. ความสามารถในการติดตามคุณภาพโครงการจากการจากค่าที่แท้จริงของการดำเนินงานเปรียบเทียบกับค่าที่ได้กำหนดในแผนการควบคุมคุณภาพโครงการ 10. ความสามารถในการควบคุมคุณภาพโครงการให้เป็นไปตามแผนควบคุมคุณภาพโครงการโดยใช้ตัวชี้วัดและพิจารณาถึงค่าที่ยอมให้สามารถคลาดเคลื่อนได้กำหนด 11. ความสามารถในการติดตามรายการการควบคุมคุณภาพ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. ความรู้การพัฒนาแผนการบริหารโครงการ การระบุถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความต้องการของโครงการ การระบุถึงความเสี่ยงและโครงสร้างองค์กร 2. ความรู้การใช้ตัวชี้วัดและรายการติดตามมาตรวจสอบและใช้วัดคุณภาพโครงการ 3. ความรู้การใช้เครื่องมือ เช่น Cost-Benefit Analysis, Cost of Quality (COQ), Seven Basic Quality Tools, Benchmarking, Design of Experiments หรือเครื่องมืออื่นที่เกี่ยวข้อง 4. ความรู้การจัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพ 5. ความรู้และความเข้าใจในการเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลจากการดำเนินโครงการที่แท้จริง 6. ความรู้และความเข้าใจในการเปรียบเทียบตัวชี้วัดค่าที่ได้กำหนดในแผนการควบคุมคุณภาพโครงการมาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการดำเนินโครงการที่แท้จริง 7. ความรู้และความเข้าใจในแผนการบริหารคุณภาพโครงการ แผนการพัฒนากระบวนการโครงการ การวัดคุณภาพโครงการ 8. ความรู้และความเข้าใจในการขอเปลี่ยนแปลง 9. ความรู้และความเข้าใจในการปรับปรุงแผนการบริหารโครงการ เอกสารโครงการ สินทรัพย์กระบวนการโครงสร้างจากผลของการเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด 10. ความรู้และความเข้าใจแผนการควบคุมคุณภาพโครงการ 11. ความรู้และความเข้าใจการเปรียบเทียบตัวชี้วัดคุณภาพโครงการ 12. ความรู้และความเข้าใจการติดตามรายการการควบคุมคุณภาพ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. ผลจากทดสอบข้อเขียน 2. ผลจากแบบสัมภาษณ์ (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมิน ที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะประเมินย่อย ขอบเขต ความรู้และทักษะที่กำหนด ในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ประเมินจะต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะที่ ไม่ผ่าน และให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง (ง) วิธีการประเมิน 1. ผู้ประเมินทำการประเมินการปฏิบัติงานที่ต้องการของผู้เข้าทดสอบโดยใช้ เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน แฟ้มสะสมงาน ได้แก่ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร 2. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ผู้เข้าทดสอบโดยใช้แบบแบบสัมภาษณ์ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ไม่มี (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. จัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพจากแผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร 2. กำหนดการใช้ตัวชี้วัดและรายการติดตามมาตรวจสอบและใช้วัดคุณภาพโครงการ 3. นำเครื่องมือเช่น Cost-Benefit Analysis, Cost of Quality(COQ), Seven Basic Quality Tools, Benchmarking, Design of Experiments หรือเครื่องมืออื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการจัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพโครงการ 4. ดำเนินการเก็บข้อมูลเก็บข้อมูลจากการดำเนินโครงการที่แท้จริง 5. ดำเนินการนำตัวชี้วัดจากแผนการควบคุมคุณภาพโครงการมาใช้เป็นมาตรฐาน 6. ดำเนินการเปรียบเทียบตัวชี้วัดค่าที่ได้กำหนดในแผนการควบคุมคุณภาพโครงการมาเปรียบเทียบกับค่าที่วัดได้จากการดำเนินโครงการที่แท้จริง 7. ดำเนินการขอเปลี่ยนแปลงตามผลของการเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด 8. ดำเนินการปรับปรุงแผนการบริหารโครงการ เอกสารโครงการ ตามการขอเปลี่ยนแปลง สินทรัพย์กระบวนการโครงสร้างจากผลของการเปรียบเทียบจากตัวชี้วัด 9. เปรียบเทียบตัวชี้วัดต้องใช้ค่าที่ได้กำหนดในแผนการควบคุมคุณภาพโครงการกับค่าที่วัดได้จากการดำเนินโครงการ 10. ควบคุมคุณภาพของการดำเนินโครงการต้องให้เป็นไปตามแผนควบคุมคุณภาพโครงการโดยนำค่าที่ยอมรับได้มาพิจารณาด้วย 11. สร้างรายการในเอกสารติดตามต้องอยู่บนพื้นฐานของความต้องการและการปฏิบัติงานในโครงการนั้น 12. ติดตามรายการการควบคุมคุณภาพต้องมีความชัดเจนและสม่ำเสมอในแต่ละขั้นตอน |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
ไม่มี |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้ 1. สมรรถนะย่อย 60303.01 วิเคราะห์แผนการบริหารโครงการ ปัจจัยแวดล้อมขององค์กรและกระบวนการทำงานขององค์กร ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 2. สมรรถนะย่อย 60303.02 จัดทำแผนบริหารจัดการคุณภาพ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 3. สมรรถนะย่อย 60303.03 รวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 4. สมรรถนะย่อย 60303.04 ดำเนินการประกันคุณภาพการดำเนินโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 5. สมรรถนะย่อย 60303.05 ปรับปรุงเอกสารโครงการ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 6. สมรรถนะย่อย 60303.06 ติดตามรายการควบคุมคุณภาพ ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 7. สมรรถนะย่อย 60303.07 ควบคุมการส่งมอบงาน ทดสอบโดยใช้ข้อสอบข้อเขียน ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ |