หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและป้องกัน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมดิจิทัล


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ICT-WFDT-201B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วิเคราะห์ แก้ไขปัญหาและป้องกัน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)
N/A

6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
   เป็นผู้ที่มีสมรรณนะในการเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับความต้องการ ออกแบบระบบให้สามารถทำงานร่วมกับบริการอื่น ๆ และเขียนแผนผังระบบงานด้านอุปกรณ์พกพาและเครือข่ายไร้สายตามมาตรฐานสากล

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
  ช่างเทคนิคด้านระบบเครือข่าย วิศวกรคอมพิวเตอร์ วิศวกรระบบเครือข่าย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
2131.50 ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของไอที

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ไม่มี

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
42301.01 จำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบ 1.1 ระบุประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบ 42301.01.01 119386
42301.01 จำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบ 1.2 ทบทวนประเภทของปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบ 42301.01.02 119387
42301.02 วินิจฉัยและปรับแก้ข้อบกพร่องของระบบ 2.1 ใช้เครื่องมือเพื่อวินิจฉัยปัญหา 42301.02.01 119384
42301.02 วินิจฉัยและปรับแก้ข้อบกพร่องของระบบ 2.2 แก้ไขข้อบกพร่องของระบบ 42301.02.02 119385
42301.03 วางแผนรองรับสถานการณ์ล่วงหน้า 3.1 เขียนแผนรองรับสถานการณ์ล่วงหน้า 42301.03.01 119382
42301.03 วางแผนรองรับสถานการณ์ล่วงหน้า 3.2 ให้คำแนะนำถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต 42301.03.02 119383

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ไม่มี


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. สามารถจำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบได้

2. สามารถใช้เครื่องมือเพื่อวินิจฉัยปัญหาได้

3. สามารถแก้ไขข้อบกพร่องของระบบได้

4. สามารถให้คำแนะนำถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดซ้ำในอนาคตได้

5. สามารถเขียนแผนรองรับสถานการณ์ล่วงหน้าได้


(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับการจำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบ

2. ความรู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกิดในระบบ

3. ความรู้เกี่ยวกับการแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ

4. ความรู้เกี่ยวกับการให้คำแนะนำถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดซ้ำในอนาคต



14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

   หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    1. เอกสารหลักฐานที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    1. ผลการทดสอบความรู้

    2. ผลการสัมภาษณ์

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติ โดยต้องแสดงถึง

    1. ความรู้และทักษะที่เกี่ยวข้อง

    2. กระบวนการในการทำงานและข้อกำหนดต่าง ๆ

    3. ขอบเขตด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ง) วิธีการประเมิน

    1. ทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียน

    2. ทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์ 



15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

    ในการปฏิบัติงานให้คำนึงถึงการจำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบ เครื่องมือเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกิดในระบบ  การแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ และการให้คำแนะนำถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดซ้ำในสำหรับงานด้านเทคโนโลยีอุปกรณ์เคลื่อนที่และพกพา

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

     1. การจำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับ throughput, connection, สัญญาณรบกวนเป็นต้น

     2. เครื่องมือเพื่อวินิจฉัยปัญหาที่เกิดในระบบ  ได้แก่ การอ่าน log ของระบบ ซอฟต์แวร์สำหรับตรวจสอบการทำงานของระบบ และอุปกรณ์ในการตรวจสอบสัญญาณรบกวน เป็นต้น

     3. การแก้ไขข้อบกพร่องของระบบ ได้แก่ ลำดับขั้นตอนในการตรวจสอบระบบ ตรวจสอบการตั้งค่าอุปกรณ์ของระบบ และตรวจสอบการถูกโจมตีของระบบภายนอก เป็นต้น

     4. การให้คำแนะนำถึงการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดซ้ำในอนาคต ได้แก่ การนำเสนอแนวทางหรืออุปกรณ์สำหรับป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน



16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
ไม่มี

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

วิธีการประเมินสามารถจำแนกได้ตามสมรรถนะย่อย ดังนี้

1. สมรรถนะย่อย 42301.01 จำแนกประเภทของปัญหาที่เกิดในระบบให้ทำการทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

2. สมรรถนะย่อย 42301.02 วินิจฉัยและปรับแก้ข้อบกพร่องของระบบให้ทำการทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์

3. สมรรถนะย่อย 42301.03 วางแผนรองรับสถานการณ์ล่วงหน้าให้ทำการทดสอบโดยใช้แบบข้อเขียนและทดสอบโดยใช้แบบสัมภาษณ์




ยินดีต้อนรับ